อาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดของโรคเบาหวาน การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน


796 ผู้ชม


อาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดของโรคเบาหวาน การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน

     ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานานหลายปี  มักพบโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง  เช่น ปัญหาด้านสายตา ไตวาย  โรคหัวใจ อัมพาต ขาชา แผลเน่าโดยเฉพาะบริเวณเท้า  ความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย  ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติมากเท่าไร ช่วยชะลอและลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนเรื้อรังลงได้มากเท่านั้น  และที่สำคัญคือ  โรคแทรกซ้อนเรื้อรังดังกล่าวอาจกลับคืนสู่สภาพปกติได้  ถ้าผู้ป่วยได้รับการตรวจพบความเปลี่ยนแปลงที่เริ่มเกิดขึ้น  และได้รับการรักษาแต่เริ่มแรก


ทำไมจึงเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน
                    ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง เป็นระยะเวลานาน จะเป็นพิษต่อร่างกาย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบหลอดเลือดซึ่งเป็นเสมือนท่อส่งน้ำเลี้ยงของร่างกาย  ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีจะมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดด้วย โดยจะมีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ และมีความดันเลือดสูงกว่าปกติ  ทั้งระดับน้ำตาลที่สูง ไขมันในเลือดที่สูง และความดันโลหิตที่สูงจะมีผลต่อผนังหลอดเลือด เกิดการเสื่อมสภาพ มีการอักเสบ และมีการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดทำให้ตีบ แคบลง หรืออาจตันไปในที่สุด เลือดผ่านไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่ได้ เกิดภาวะขาดเลือด ขาดสารอาหาร ขาดออกซิเจน ทำให้อวัยวะนั้นๆ เสียหาย  เช่นถ้าเกิดกับหลอดเลือดหัวใจเกิดเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ถ้าเกิดกับเส้นเลือดสมอง ก็จะเกิดอาหารอัมพาต ถ้าเกิดกับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเสื่อม  โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า  ถ้าเกิดกับจอประสาทตาทำให้จอประสาทตาเสื่อม มีเลือดออก จอประสาทตาหลุดลอก ทำให้ตาบอด  ถ้าเกิดกับเส้นเลือดที่ไต  ทำให้ไตขาดเลือด  ไตเสื่อม เป็นโรคไตวายในที่สุด  


 


อาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดของโรคเบาหวาน การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน


โรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน


ไตเสื่อม ไตวาย จากเบาหวาน

                   ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองสารต่างๆที่อยู่ในกระแสเลือด  มีเส้นเลือดขนาดเล็กมากมายบริเวณไต  เมื่อผนังเส้นเลือดถูกทำลายโดยน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เป็นเวลานาน  การทำหน้าที่ในการกรองของไตจะเริ่มเสื่อมลง  ทำให้โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานานกว่า  10  ปี มักเกิดปัญหาไตเสื่อม  แต่ความรุนแรงและระยะการเกิดจะมากหรือน้อยขึ้นกับการควบคุมน้ำตาลในเลือด  และที่สำคัญที่สุดคือ  การตรวจหาปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ ตั้งแต่เริ่มแรกที่ยังไม่มีอาการด้วยวิธีตรวจหาปริมาณ  ไข่ขาวในปัสสาวะที่เก็บภายใน  24  ชั่วโมง  ซึ่งเมื่อตรวจพบได้ในระยะเริ่มต้นนี้  จะมีการดูแลรักษาเพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไตได้มาก  สามารถยืดระยะเวลาการดำเนินของโรค เข้าสู่ภาวะไตวายเรื้อรังได้อีกหลายปี
                   สำหรับผู้ป่วยที่มีปริมาณไข่ขาวออกมาในปัสสาวะปริมาณมาก จนสามารถตรวจพบได้โดยใช้แถบตรวจ  แสดงว่าไตเสื่อมมากแล้ว  ระยะนี้การควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่สามารถชะลอความเสื่อมของไตลงได้  แต่การรับประทานอาหารโปรตีนต่ำและการได้รับยาลดปริมาณไข่ขาวที่รั่วออกมาในปัสสาวะ ช่วยทำให้ไตไม่ต้องทำหน้าที่หนักเกินไป 
                    เมื่ออาการเข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้าย  ผู้ป่วยจะมีอาการบวม  ความดันเลือดสูงมาก  คลื่นไส้  อาเจียน ซีด  อ่อนเพลีย  อาหารโปรตีนต่ำจะช่วยลดอาการไม่สบายจากของเสียคั่งค้างในกระแสเลือดได้ 
ในระยะนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ได้รับการบำบัดรักษาด้วยวิธีฟอกเลือก  ล้างไตทางช่องท้อง  หรือเปลี่ยนไต 
ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย
 
เมื่อเริ่มมีภาวะไตเสื่อม    การปฏิบัติตัวที่ถูกวิธีสามารถลดความรุนแรงและชะลอความเสื่อมของไต
ได้ดังนี้

1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติมากที่สุด
2.  เริ่มรับประทานอาหารที่มีโปรตีนน้อยลง  และเลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพสูง ซึ่งได้แก่  ไข่เนื้อที่ไม่ติดหนัง  หลีกเลี่ยงส่วนของเอ็น  พังผืด  เครื่องในสัตว์  เพราะเนื้อสัตว์เหล่านี้จะเพิ่มภาระหนักให้กับไตที่ต้องขับของเสียออก  ควรรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อปลา เนื้อไก่
3. ลดอาหารที่มีรสเค็ม  และอาหารที่มีผงชูรส  สารกันบูดต่างๆ  เพราะมีส่วนผสมของเกลือ
โซเดียมที่ทำให้ความดันเลือดสูงและเกิดอาการบวม
4. ควบคุมความดันเลือดอย่างเคร่งครัด  ไม่ให้เกิน  130/80  มม.ปรอท


จอประสาทตาเสื่อมและต้อกระจกจากเบาหวาน


                   บริเวณจอตา  เป็นบริเวณที่มีเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงมาก  เมื่อเส้นเลือดฝอยถูกทำลายทำให้ผนังเส้นเลือดฝอยโป่งพองจนแตก มีเลือดไหลออกมาในบริเวณวุ้นตา  เมื่อรอยรั่วหายดีแล้วเกิดแผลเป็นซึ่งจะขัดขวางการไหลของเลือดภายในตา  จึงเกิดการงอกใหม่ของเส้นเลือดฝอย เพื่อช่วยในการไหลเวียนของเลือด  แต่เส้นเลือดฝอยที่งอกใหม่จะเปราะบาง  แตกง่าย  ทำให้มีเลือดออกมาอยู่ในวุ้นตาและจอตา  ระยะนี้จะพบว่าผู้ป่วยมีอาการตามัว  เมื่อแผลเป็นเกิดมากขึ้นจะสร้างเส้นใยเป็นร่างแหในลูกตา  เมื่อรอยแผลเป็นหดรัดตัว  เกิดการดึงรังและฉีกขาดของเนื้อเยื่อบริเวณส่วนหลังของลูกตา  จะมีอาการเหมือนมีม่านดำขึงผ่านขวางตาหรือเหมือนมีแสงสีดำพาดผ่านตา  ซึ่งเมื่อมีอาการเช่นนี้ให้พบจักษุแพทย์ทันทีเพราะอาจทำให้ตาบอดได้
 การตรวจพบความผิดปกติของผนังเส้นเลือดในตา ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ยังไม่มีอาการตามัวโดยการพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตา  จะช่วยป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้  เมื่อตรวจพบความผิดปกติของหลอดเลือดฝอยในลูกตา  การรักษาด้วยเลเซอร์ให้ผลดีโดยจะช่วยป้องกัน  หรือชะลอการสร้างเส้นเลือดฝอยใหม่  และสามารถทำลายเส้นเลือดฝอยที่สร้างใหม่แต่เปราะนั้นได้ด้วย


มีสาเหตุจากการสะสมรวมตัวกันของน้ำตาลบริเวณเลนส์ตา  ทำให้เลนส์ตาบวมและมัวลงไม่เกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดภายในลูกตา  ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยการควบคุมน้ำตาลในเลือด และรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์


ปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวาน


เป็นโรคแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน  โดยไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ทำให้รู้สึกรำคาญและทุกข์ทรมาน  เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลาย   ไม่สามารถส่งออกซิเจนมาตามกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเส้นประสาทได้  รวมถึงการมีน้ำตาลสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณเส้นประสาทเองด้วย จึงทำให้การทำงานของเส้นประสาทเสื่อมลง   การรับรู้ความรู้สึกต่างๆลดลง  โดยเฉพาะบริเวณปลายมือปลายเท้า จะเกิดอาการชา  เมื่อกระทบถูกความร้อนหรือเจ็บปวดจะไม่ค่อยรู้สึก  จึงเป็นอันตรายกับผู้ป่วยเบาหวาน  เพราะอาจทำให้เกิดแผลได้ง่ายโดยไม่รู้สึกตัว  เมื่อเป็นมากอาจทำให้กล้ามเนื้อลีบเล็กลง  ทำกิจวัตรประจำวันได้น้อยลง  นอกจากนั้นยังส่งผลต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงบริเวณระบบทางเดินอาหารด้วย จึงทำให้เกิดอาการท้องผูกโดยไม่ทราบสาเหตุ สำหรับผู้ชายที่เป็นเบาหวานมานามมักพบปัญหาเสื่อมสมรรถภาพทางเพศร่วมด้วย
การรักษาอาการปลายประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ทำได้เพียงบำบัดตามอาการเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้คืนกลับสู่สภาพเดิมได้  แต่การควบคุมน้ำตาลในเลือดจะช่วยลดความรุนแรงได้


โรคหลอดเลือดหัวใจ
                   นับเป็นโรคแทรกซ้อนที่คุกคามต่อชีวิตได้  ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก จากเส้นเลือดหัวใจตีบ  กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จนกระทั่งกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด
ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ  ได้แก่
ควบคุมเบาหวานไม่ดี  ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง ไม่ออกกำลังกาย อ้วน สูบบุหรี่ประวัติโรคหัวใจในครอบครัว  และเป็นผู้ที่เครียดเป็นประจำ
ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงปัจจัยดังกล่าวข้างต้น  และตรวจร่างกายเป็นประจำจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจลงได้มาก


โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน


เป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากหลอดเลือดที่มาเลี้ยงบริเวณสมองตีบตัน  ทำให้เกิดการพิการหรืออาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้  โอกาสเกิดหลอดเลือดสมองตีบตันจะสูงมากขึ้น ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันเลือดสูงร่วมด้วย  ทำให้อวัยวะที่สมองส่วนนั้นควบคุมอยู่ อ่อนแรงลงไปเกิดอัมพฤกษ์  หรืออัมพาต   ซึ่งเมื่อได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด  ผ่านพ้นภาวะอันตรายแล้ว  การทำกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูสภาพการทำงานของขาที่อ่อนแรงนั้นได้ดียิ่งขึ้น



แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด