ศูนย์อาเซียนศึกษา วิชา อาเซียนศึกษา เนื้อหาอาเซียนศึกษา


1,069 ผู้ชม


ศูนย์อาเซียนศึกษา วิชา อาเซียนศึกษา เนื้อหาอาเซียนศึกษา

การสอน ASEAN

 

สัญลักษณ์อาเซียน คือ ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันไว้ หมายถึงประเทศสมาชิกรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์ และ สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

 การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ)

 

หลักการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน

๑.     การเมือง

๒.     เศรษฐกิจ  Market/free 

(สินค้า ปริมาณมากขึ้น ราคาจะถูก) เช่น พืชพรรณการเกษตร(แต่ผลิตผลทางการเกษตรต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น เกษตรกรอาจเดือดร้อน)

๓.     สังคมและวัฒนธรรม

เป้าหมาย AEC ปี ๒๕๕๘

๑.     เป็นตลาดและฐานการผลิตร่วม

-        เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี

-        เคลื่อนย้ายบริการเสรี

-        เคลื่อยย้ายการลงทุนเสรี

-        เคลื่อนย่ายแรงงานฝีมือเสรี

-        เคลื่อนย้ายเงินทุนเสรีมากขึ้น

 

 

๒.     เสริมสร้างขีดความสามารถแข่งขัน

-        นโยบายภาษี

-        นโยบายการแข่งขัน

-        สิทธิทรัพย์สินทางปัญญา

-        การคุ้มครองผู้บริโภค

-        พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

๓.     การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค

-        ลดช่องว่างการกระจายรายได้ระหว่างประเทศ (สมาชิกเก่า กับ ใหม่)

-        สนับสนุนการพัฒฯ SME

๔.     การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

-     ปรับประสานนโยบายเสราฐกิจ

-     สร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย

-     จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค

๒. โอกาสและปัจจัยเสี่ยง

          ๒.๑ โอกาส

·      โอกาสจากการเปิดเสรีภาคการค้า โดยเฉพาะสินค้าที่ไทยมีศักยภาพได้เปรียบในการเข้าสู่ตลาด อาเซียน ขณะเดียวกันก็มีสินค้าที่ไทยจะต้องปรับตัวเพื่อรักษาตลาดไว้เช่นกัน

·      โอกาสจากการเปิดเสรีภาคการลงทุน โดยเฉพาะการไปลงทุนใน CLMV  เช่น  CP  สหฟาร์ม  การเกษตร การแปรรูป รับเหมาก่อสร้าง เหมืองแร่ (ดีบุก ,โปรแตสเซียม) ภาคการผลิตอื่น ๆ

·      โอกาสจากกาเปิดเสรีภาคการบริการ โดยเฉพาะสาขาที่ไทยมีศักยภาพ ได้แก่ การท่องเที่ยว สุขภาพ การขนส่ง การแพทย์ การบริการ การบิน เป็นต้น

·      โอกาสการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอาเซียน

o  สร้างภาพลักษณ์ของไทยในเวทีโลก

o  ยกระดับความเป็นอยู่สู่ประชาคมอาเซียน

o  การเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนอาเซียน ส่งเสริมเป้าหมายการลงทุน ทั้งด้านการค้า และการลงทุน

o  เสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการ ภายในประเทศจากการใช้ทรัพยากรการผลิตร่วมกัน

๒.๒ ปัจจัยเสี่ยง

·      ผู้ประกอบการไทยยังขาดสักยภาพในการลงทุนในต่างประเทศรวมทั้การลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน

·      แรงงานไทยยังขาดการยอมรับในมาตรฐานฝีมือแรงงานและข้อจำกัดด้านภาษาต่างประเทศ

·      ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องขาดความรับรู้อย่งพอเพียยงในการใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ และการคมนาคมขนส่งภายใต้แผนแม่บทความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน ( เช่น รางรถไฟ ไม่เท่ากัน การขับรถ พวงมาลัยขวา และ พวงมาลัยซ้าย , การขนส่งทางทะเล

·      บทบาทต่อการตั้งรับต่อประเด็นความเคลื่อนไหวในด้านการสร้างข้อกีดกันทางการค้าใหม่ ๆ อันเนื่องจากกระแสความเปลี่ยนแปลงในโลก

·      ข้อจำกัดที่ทำให้การขับเคลื่อนการอำนวยความสะดวก ในการขนส่งสินค้าข้ามแดน (ชายแดน) ล่าช้า

·      ความไม่แน่นอนทางการเมืองและความมั่นคงในประเทศเพื่อนบ้าน

 

แนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน

แนวทางในการจัดกระบวนการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน 5 แบบ ได้แก่

          1. การบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

          2. การบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเป็นแกน

          3. การจัดทำเป็นสาระเพิ่มเติม

          4. จัดให้อยู่ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                    ลูกเสือ เนตรนารี

                    ชมรม

                    - กิจกรรมแนะแนว

                    - ชุมนุม

          5. กิจกรรมเสริม

                    มุมอาเซียน

                    ค่ายอาเซียน

                    โครงงาน

                    นิทรรศการ

                    ทัศนศึกษา

                    สัปดาห์อาเซียน

                    ประกวดแข่งขัน

                    วารสารข่าวอาเซียน

ป้ายนิเทศเคลื่อนที่

กิจกรรมประชาสัมพันธ์

ศูนย์การเรียนรู้อาเซียน

รูปแบบที่ 1 การบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

วิธีการ   วิเคราะห์หลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมทุกระดับชั้น โดยวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลางและสาระเพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน      

รูปแบบที่  การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมฯ เป็นแกน

วิธีการ  วิเคราะห์หลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนในกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ ทุกระดับชั้น โดย วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลางและสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน

รูปแบบที่  3  การจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม

            รายวิชาเพิ่มเติม  เป็นรายวิชาที่สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถเปิดสอนเพิ่มเติมจากสิ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลาง เพื่อให้สอดคล้องกับจุดเน้น  ความต้องการและความถนัดของผู้เรียน  หรือความต้องการของท้องถิ่น  โดยมีการกำหนด  ผลการเรียนรู้  เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียน  สถานศึกษาสามารถพิจารณาเปิดสอนรายวิชาเพิ่มเติมได้ตามความพร้อม  จุดเน้นของสถานศึกษาและเกณฑ์การจบหลักสูตร  โดยอยู่ภายใต้โครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนด  สำหรับรายชื่อวิชาเพิ่มเติมนั้นสามารถตั้งได้

ตามความเหมาะสม

          การจัดรายวิชาเพิ่มเติม สถานศึกษาสามารถกำหนดรายวิชาเพิ่มเติมตามความต้องการ  โดยจัดเป็นรายปี / รายภาค  ตามโครงสร้างเวลาเรียนที่กำหนด  และมีการกำหนดผลการเรียนรู้ของรายวิชานั้น ๆ

          การจัดทำรายวิชาเพิ่มเติม  รายวิชาอาเซียนศึกษา  มีแนวทางการจัดทำ  ดังนี้

          1.  กำหนดโครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษาและกำหนดรายวิชาเพิ่มเติม

          2.  วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551  สาระประวัติศาสตร์

ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน

          3.  ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษา  สาระประวัติศาสตร์ วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชาและสาระ

การเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน  เพื่อกำหนดสาระเพิ่มเติมจากสาระเดิม

          4.  กำหนดรายละเอียดของสาระที่จะเพิ่มจากรายวิชาพื้นฐานและกำหนด ผลการเรียนรู้ 

เพิ่มเติมจากรายวิชาพื้นฐาน

          5.  นำรายละเอียดของสาระที่เพิ่มเติม  มาจัดองค์ประกอบของรายวิชาเพิ่มเติม  ตามรูปแบบ

การจัดทำรายวิชาพื้นฐาน

          6.  จัดทำคำอธิบายรายวิชา  ประกอบด้วยรหัสวิชา  ชื่อรายวิชา  กลุ่มสาระการเรียนรู้  ระดับชั้น  เวลาเรียน/หน่วยกิต  พร้อมทั้งคำอธิบายให้ทราบว่า  เมื่อเรียนรายวิชาเพิ่มเติมแล้ว  ผู้เรียนจะมีความรู้  ทักษะ  คุณลักษณะหรือเจตคติอะไร  ส่วนท้ายของคำอธิบายรายวิชาใส่ ผลการเรียนรู้  ที่กำหนดขึ้น 

กำกับไว้

          7.  จัดทำโครงสร้างรายวิชา  เพื่อให้ทราบว่ารายวิชาเพิ่มเติมประกอบไปด้วยหน่วยการเรียนรู้

จำนวนเท่าใด  เรื่องใดบ้าง  แต่ละหน่วยพัฒนาให้ผู้เรียนบรรลุผลการเรียนใด  ใช้เวลาในการจัดการเรียนการสอนเท่าใด  สัดส่วนการเก็บคะแนนของรายวิชานั้นเป็นอย่างไร

          8.  จัดทำหน่วยการเรียนรู้  ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ สามารถเลือกแบบได้หลายวิธี 

แต่ควรครอบคลุมขั้นตอนการออกแบบ  3  ขั้นตอน  ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้  หลักฐานการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้  สำหรับแนวคิดหนึ่งที่สามารถนำไปเป็นแนวทางการออกแบบหน่วยการเรียนรู้  คือ  การออกแบบย้อนกลับ (Backward Design)  ซึ่งมีขั้นตอนเช่นเดียวกัน 

แต่ในการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้  ควรมีการกำหนดความเข้าใจคงทน (Enduring  Understanding

ซึ่งเป็นความรู้  ความเข้าใจที่ติดตัวกับผู้เรียน  อันเกิดจากการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม  ตามหน่วยการเรียนรู้

นั้น ๆ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

          9.  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  เพื่อให้การจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับหน่วยการเรียนรู้  ครูผู้สอนควรวางแผนการจัดแบ่งเนื้อหาสาระ  เวลา  ให้ครอบคลุมหน่วยการเรียนรู้  จากนั้นจึงนำมาจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับเวลาและการพัฒนาผู้เรียน 

            ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  จะต้องกำหนดเป้าหมายสำหรับผู้เรียน  โดยกำหนดเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ของแผนการเรียนรู้นั้น ๆ ซึ่งจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ต้องนำพาผู้เรียนไปสู่ผลการเรียนรู้  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้ และกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย  ควรใช้เทคนิค/วิธีการสอนที่หลากหลาย  โดยพิจารณาเลือกนำกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามต้องการ   ในการจัดการเรียนรู้ครูผู้สอนควรเลือกใช้สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

มาใช้ในการจัดกิจกรรม  เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้  สื่อที่นำมาใช้ต้องกระตุ้น  ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ยึดสื่อใดสื่อหนึ่งเป็นหลักในการจัดการเรียนรู้ 

กิจกรรมในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้  ต้องส่งเสริมและพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถที่จะทำชิ้นงาน / ภาระงาน  เมื่อจบหน่วยการเรียนรู้ผู้เรียนต้องสร้างชิ้นงาน/ภาระงานได้  ในการจัดการเรียนรู้

ต้องกำหนดเครื่องมือในการวัดผลประเมินผลผู้เรียนตามเป้าหมายที่กำหนด  ดังนั้นในการวัดและประเมินผล  ครูผู้สอนควรเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับลักษณะกิจกรรมและสิ่งที่ต้องการวัด  นอกเหนือจากการประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน


แหล่งที่มา : sites.google.com

อัพเดทล่าสุด