ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก


1,708 ผู้ชม


ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก

 
การศึกษาฤทธิ์และความเป็นพิษของสารสกัดมาตรฐานบัวบก


ในยุคหนึ่งรัฐบาลมีนโยบายว่า งานวิจัยควรจะมีลักษณะเป็นแบบบูรณาการ จากแนวคิดนี้นี่เองจึงทำให้มีการชักชวนในกลุ่มนักวิจัยในมหาวิทยาลัยจุฬาฯ และได้เกิดการร่วมมือกันตามศักยภาพของแต่ละคน กระทั่งมาตกลงกันได้ที่ “โครงการศึกษาฤทธิ์และความเป็นพิษของสารสกัดมาตรฐานบัวบก” โดยหนึ่งในนั้นมีรองศาสตราจารย์ ภญ.ดร. มยุรี  ตันติสิระ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ อยู่ในคณะผู้วิจัย เรามาดูกันว่าในส่วนหนึ่งของโครงการทั้งหมดนั้น อาจารย์มีวิถีทางและขั้นตอนอย่างไร


       ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก
  ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก


เริ่มต้นอาจารย์มยุรีได้เน้นกับข้าพเจ้าว่า ความสำคัญที่สุดของการทำเรื่องสมุนไพรนี่คือ เมื่อใดที่เราศึกษาคุณประโยชน์ คือมองทางด้านความมีฤทธิ์ของมันแล้ว สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือ การรอบคอบถึงอีกด้าน ซึ่งนั้นก็คือความเป็นพิษนั้นเอง ไม่ใช่ว่าได้ผลทีดีแล้วก็รีบออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะโดยที่ยังไม่รู้แน่ชัดว่างานวิจัยทางสมุนไพรที่ค้นพบนั้นมีข้อควรระวังหรือไม่  จึงทำให้งานวิจัยของอาจารย์เงียบเชียบมาตลอด โดยเพิ่งจะมาเป็นข่าวก็ไม่นานมานี้ในงานมหากรรมสมุนไพรที่เพิ่งจัดขึ้น เมื่องานวิจัยสามารถตอบข้อสงสัยทั้ง 2 ด้านนี้ได้แล้ว และอีกประเด็นที่หลายคนตั้งคำถามกับงานวิจัยนี้ว่า เหตุใดจึงต้องเสียเวลามากมายนัก ซึ่งอาจารย์มยุรีก็ได้ให้คำตอบกับข้าพเจ้าว่า  นั้นเพราะคณะวิจัยมีตั้งใจที่ทำเป็น สารสกัดมาตรฐาน ซึ่งต่างกับสารสกัดธรรมดาตรงที่ โดยปรกติสมุนไพรจะมีความแปรปรวนสูงมาก เช่นบัวบกที่ปลูกที่นครศรีธรรมราชกับที่เชียงราย เวลาสกัดออกมาด้วยวิธีเดียวกัน สารที่ออกมามันจะไม่เหมือนกัน แม้จะไม่ได้ต่างกันแบบหน้ามือหลังมือเลย แต่สารประกอบนั้นมีความต่างกัน  เพราะฉะนั้นการใช้งานสมุนไพร สิ่งที่เป็นปัญหามากคือความไม่แน่นอนของมัน  แม้แต่ต้นเดียวกันก็อาจจะแตกต่างกัน ดังนั้นยาสมุนไพรเลยกลายเป็นว่าบางทีได้ผลบางทีไม่ได้ผล ด้วยความที่ธรรมชาติมันมีความซับซ้อนในตัวของมันเอง และในสารทั้งหลายที่มันแปรปรวนนี้ ก็ไม่ได้มีตัวเดียว บางทีมีสารสำคัญออกมา 20 ชนิด ฉะนั้นการที่จะรู้ว่าตัวไหนเป็นตัวที่ออกฤทธิ์จึงไม่ใช่เรื่องง่ายเท่าใดนัก ในขณะที่ยาแผงปัจจุบันมีความแน่นอนมากกว่า ดังนั้นยาสมัยใหม่คนจึงนิยมมากกว่าสมุนไพร ด้วยเหตุผลนี้ทางคณะวิจัยจึงมุ่งสู่การทำสารสกัดมาตรฐานที่ต้องใช้เวลาในการค้นคว้าอยู่นานพอตัว 

ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก

สารสกัดมาตรฐาน คือ การสกัดที่ให้สารสำคัญแน่นอน และความยากก็อยู่ที่ต้องลองผิดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะรู้ว่าสารตัวไหนเป็นสารออกฤทธิ์ พอรู้เป็นสารออกฤทธิ์แล้ว อาจารย์กล่าวว่าก็จะไม่ตั้งหน้าตั้งตาทำจนเป็นสารบริสุทธิ์ เพราะการทำเป็นสารบริสุทธิ์จะเสียเวลานานมาก ราคาแพง มีความซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยี และใช้การลงทุนซึ่งทางคณะวิจัยไม่พร้อม

ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก 

กล่าวถึงลักษณะการใช้สมุนไพรนั้น อย่างง่ายที่สุดก็คือ แบบที่ชาวบ้านใช้ที่เรียกกันว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน  เช่นการรับประทานเข้าไปตรงๆ หรือสกัดกับแอลกอฮอล์  แต่ข้อเสียก็คือ การสกัดวันนี้กับวันหน้า จะไม่รู้ว่ามันได้เหมือนกันไหม  นี้ก็คือสุดขั้วของข้างหนึ่ง ส่วนอีกสุดขั้วของอีกด้านก็คือได้สารบริสุทธิ์อันเป็นเทคโนโลยีซับซ้อน แต่ทางเลือกของคณะวิจัยจะอยู่ตรงกลางระหว่างสองขั้วนี้  ที่เรียกว่ารูปแบบของสารสกัดมาตรฐาน นั้นก็คือ จะทำจนกระทั่งได้ สารสกัดที่มีปริมาณสารสำคัญตามที่กำหนดไว้อยู่เสมอไม่ว่าจะสกัดครั้งใด ใช้สารสกัดจากไหน และช่วงเวลาใด  สารที่ได้จะต้องมาลงสเปคนี้ ซึ่งจะเรียกว่ามาร์คเกอร์ มาร์คเกอร์คือตัวสารสำคัญที่อยู่ในนั้น โดยคณะวิจัยจะกำหนดว่ามาร์คเกอร์นี้ต้องเป็นไบโอแอคทีฟมาร์คเกอร์คือต้องเป็นสารที่ออกฤทธิ์  การทำมาร์คเกอร์มีหลายอย่าง เช่นเป็นมาร์คเกอร์จริงแต่ไม่ใช่มาร์คเกอร์ที่ออกฤทธิ์ แต่เป็นสารที่สังเคราะห์ได้ในสมุนไพรตัวนั้น แต่มาร์คเกอร์ที่ทางคณะวิจัยของอาจารย์ค้นพบนั้น กำหนดไว้ให้เป็นสารที่ออกฤทธิ์    
 
ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก 

สมุนไพรบัวบก

ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบกบัวบกเป็นสมุนไพรที่มีมานานแล้วน่าจะเกิน 2000 ปี  พบได้ในตำรายาแผนโบราณ เช่น ในเอเชียประเทศที่มีประวัติสาสตร์ยาวนานก็จะมีตำราอายุรเวทของอินเดียกับจีน ครั้งหนึ่งอาจารย์มยุรีได้คุยกับเพื่อนที่เป็นชาวอินเดียก็ได้ทราบว่าที่บ้านเขาขายเป็นยาสมุนไพรรักษาหลายโรค และพอดีว่าอาจารย์มยุรีทำงานวิจัยอยู่ทางด้านประสาท ก็รู้ว่าโมเดลนี้อาจารย์สามารถทำได้ อีกอย่างอายุคนบ้านเราสูงขึ้นเรื่อยๆ พออายุมากขึ้นก็เป็นธรรมดาของการหลงลืมถ้าหลงลืมจนถึงขั้นของโรคอัลไซเมอร์แล้วยาตรงนั้นก็มีราคาแพง และอีกฤทธิ์ที่อาจารย์สนใจคือฤทธิ์ในการสมานแผล สุดท้ายแล้วอาจารย์จึงสนใจที่จะจับเอา 2 ฤทธิ์ที่สำคัญนี้ มาศึกษา

บัวบกเป็นพืชในวงศ์ Umbellifer มีชื่อทาง Centella asiatica (L.) Urban และมีชื่อในภาษาอังกฤษหลายชื่อ เช่น  Centella,Indian pennywort หรือ Gotu kola ในบ้านเราเองก็เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ผักแว่น ผักหนอก มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเขตร้อนและกระจายพันธืไปหลายแห่ง จัดเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เลื้อยยาวไปตามพื้นดิน แตกรากและใบตามข้อ ใบเดี่ยวรูปไต หรือค่อนข้างกลม ขอบใบหยักมนหรือหยักแหลม ก้านใบยาว ดอกออกเป็นช่อเดี่ยวหรืออกรวม 2-5 ช่อ จากการศึกษาทางด้านพฤฏเคมีพบว่าประกอบด้วยสาระสำคัญ คือ asiaticoside,madecassoside,Asiatic acid, madecassic acid นอกจากนี้ยังประกอบด้วยกรดอมิโ อัลคาลอยด์ฟลาโวนอยด์ และสารอื่นๆอีกหลายชนิด

สรรพคุณบัวบก (Centella’s Properties)

- มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และมีสารต้านมะเร็ง
- มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น สมอง และปลายมือปลายเท้าซึ่งจะช่วยบรรเทาและรักษาอาการหลงลืมรวมทั้งแผลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  
- มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล รักษาโรคเรื้อน  ความผิดปกติของผิวหนัง

ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก
การศึกษาฤทธิ์

เริ่มจากฝ่ายเคมีที่มีมีหน้าที่สกัด จะสกัดสารจากใบบัวบกเอามาให้ทดสอบในสัตว์ทดลองเพื่อดูว่ามีฤทธิ์ไหม  หากมีฤทธิ์ก็ส่งไปให้ก็สกัดออกมาอีก สมมติว่าครั้งแรก เราก็จะตั้งชื่อเอาไว้ว่า F1 F2 F32 F4 จากนั้นก็เอามาศึกษาในสัตว์ทดลอง  ถ้า F1 ไม่มี F2 มี F3 มี F4 ไม่มี  ก็เอาอันที่มีส่งไปให้ทีมเคมีสกัดต่อ  เพื่อเอามาทดสอบอีก เป็นการสกัดแยกออกไปเรื่อยๆ  สมมุติว่าเป็น F2.2 ก็ต้องแยกไปอีกเป็น F2.2.1 ไปเรื่อยๆ นั้นคือ ก็ใช้วิธีนี้เพื่อค้นหาสาร แยกกลับไปกลับมาจนสุดท้ายสามารถบอกได้ว่ามีสารตัวใดที่ออกฤทธิ์ เพื่อให้ได้เป็นมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานอันนี้เป็นของใครของมัน  อย่างเกาหลีก็มีมาตรฐานของเกาหลี มีวิธีการของเขาที่ไม่ได้เปิดเผย ของอังกฤษก็มีแตกต่างกันไป  เพราะฉะนั้นเราถึงต้องทำของเรา เมื่อทำได้แล้วเราก็ตั้งชื่อของเราว่า ECa233 เพื่อให้รู้ว่าเป็นสารที่เกิดจาการที่เราได้คิดขึ้นมาและสามารถใช้อ้างอิงข้อมูลได้

ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก
ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก 
 
การหาพิษ

ต้องไม่ลืมว่าสารที่ได้มานั้นนอกจากมีฤทธิ์แล้วก็มีพิษด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นความรู้ในการกำหนดขนาดการใช้ เช่น ในการกินยาก็จะต้องกินให้มีปริมาณระดับหนึ่งในเลือดมันถึงจะได้ผล และตรงนี้เองที่จะต้องดูว่าช่วงห่าง คือช่วงที่มีฤทธิ์กับช่วงที่เกิดพิษนี้กว้างแค่ไหน ถ้ากว้างมากตัวยาก็ปลอดภัยมาก เพราะสมุนไพรนี้ไม่ได้แปลว่าความปลอดภัย  อันนี้คือสิ่งที่อยากจะให้คนทั่วไปเข้าใจ มันไม่ได้หนีคำที่ว่าสิ่งใดที่มีฤทธิ์นี้มันมักจะมีพิษเสมอ  อยู่ที่ว่ามากหรือน้อยเท่านั้นเอง  แต่ถ้าฤทธิ์กับพิษห่างกันมากๆเราก็สามารถเอามาใช้ได้  ในยาแผนปัจจุบัน ก็ดูช่วงปลอดภัยอย่างนี้เช่นกัน 
ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก 

การศึกษาพิษนั้น ทางคณะวิจัยได้รับความร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์ ในการทดลองทางพิษวิทยากับสัตว์ทดลองซึ่งมีความพร้อมสูง โดยได้ทำการทดลองให้ยาในปริมาณต่างๆกับหนูทดลองนานถึง 3 เดือน  ในระหว่างที่เลี้ยงก็จะมีการตรวจเป็นระยะ ดูทั้งผลของการตรวจเลือดและน้ำหนัก เมื่อครบกำหนดก็ต้องฆ่าสัตว์ทดลอง แล้วเก็บตัวอย่างเลือด ตรวจค่าต่างๆ เช่น การทำงานของตับของไต ตรวจเม็ดเลือดทุกชนิด ดูอวัยวะทั้งหลาย ชั่งน้ำหนัก ซึ่งอันนี้จำเป็นต้องอาศัยคนชำนาญมาก ต้องมีทุนต้องมีคนที่ชำนาญการในแต่ละส่วน ผลมันถึงจะออกมาน่าเชื่อถือ และผลที่ออกมาก็พบว่า

ผลการทดสอบพิษกึ่งเรื้อรัง (3 เดือน, 10,100, 1000 มก/กก)

*  ไม่มีหนูตายเลยตลอดการทดสอบ 3 เดือน
*  การเจริญเติบโตเป็นไปตามปกติ  ไม่มีน้ำหนักของอวัยวะใดๆในหนูทั้งสองเพศที่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
*  ไม่พบว่ามีความแตกต่างด้านโลหิตวิทยาจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
* ไม่พบว่ามีความแตกต่างของค่าเคมีคลินิก (เช่น น้ำตาล ไขมัน หรือเกลือแร่ในเลือด) จากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
*  ผลจากการตรวจทางเนื้อเยื่อ  ไม่พบลักษณะของความผิดปกติที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากกลุ่มควบคุม

 ใบบัวบก สรรพคุณใบบัวบก ประโยชน์ของใบบัวบก สรรพคุณน้ําใบบัวบก

นั้นคือ สารสกัดมาตรฐานบัวบกมีความเป็นพิษต่ำ

การวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ (Potential Applications)

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary Supplement) :
            *  เม็ดหรือแคปซูลเสริมอาหารสำหรับผู้สูงอายุซึ่งมีความจำบกพร่อง
เวชสำอาง (Cosmeceuticals) :
             *  สารออกฤทธิ์ (Active Ingredient) หรือวัตถุดิบที่ใช้ผสมในเครื่องสำอางรูปแบบต่างๆ เช่น ครีมบำรุงผิว  ครีมสมานแผล  ครีมรักษาท้องลายจากการตั้งครรภ์  เป็นต้น
ยา (Pharmaceutical Products) : 
             * วัตถุดิบสำหรับการผลิตยารักษาโรคของหลอดเลือดดำ แผ่นแปะสำหรับแผลในช่องปาก ยาสำหรับริดสีดวงทวาร

มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจตั้งคำถามขึ้นว่า อย่างนั้นแล้วการใช้สมุนไพรตามที่ปู่ย่าตายายสั่งสอนมานั้น ปลอดภัยควรที่จะใช้สืบต่อไปดีหรือไม่ ในประเด็นอาจารย์มยุรีได้แนะนำว่า สมุนไพรนั้นมีถ่ายทอดมารุ่นต่อรุ่น ถ้าหากคุณใช้ตามลักษณะที่โบราณบอกเล่ามาก็สามารถใช้ได้เลย เพราะได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้วหลายชั่วคน แต่หากเมื่อใดที่คุณเอามาดัดแปลง นี่คือสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องเอามาพิสูจน์เสียก่อนว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร

การที่อยากให้มีการใช้สมุนไพรเพราะมันเป็นพืชในท้องถิ่นหาง่ายราคาถูก  แต่การที่เร่งรัดเกินไปคิดแต่ด้านดี ก็เคยเกิดเรื่องมาแล้ว เช่น เมื่อครั้งมะเกลือ ที่โบราณใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ที่นี้ต้องการส่งเสริม ก็มีการดัดแปลงกระบวนการเล็กน้อยเพื่อนำมาใช้งาน และเป็นเรื่องเล็กๆน้อยที่คิดไม่ถึง สุดท้ายมีคนตาบอดจากการใช้มะเกลือ พอกลับมาศึกษาถึงได้พบว่า เดิมทีคนโบราณเมื่อจะใช้งานก็รับประทานไปเลย แต่พอเอามาส่งเสริม ในกระบวนการผลิตก็มีการทำเก็บไว้เพื่อจ่ายแจก ช่วงเวลาจากเช้าถึงเย็นสารก็เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นเอง  ตอนนั้นคนก็กลัว แต่พอคนลืมก็กลับมาอีก เมื่อไม่นานนี้ก็มีในขี้เหล็ก อย่างที่รู้กันว่าในขี้เหล็กกินแล้วจะช่วยให้ถ่ายสะดวกนอนหลับสบาย จึงมีการนำมาบดแล้วอัดเป็นแคปซูล ใช้กันไปโดยที่ไม่ได้สนใจเรื่องพิษ แต่พอดีว่า มีอาจารย์หมอท่านหนึ่งที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ สงสัยว่าทำไมผู้ป่วยโรคตับมีเยอะขึ้น พอซักประวัติไปก็พบว่าเคยใช้ใบขี้เหล็กนี่เอง

และนี่คือมุมมองอีกด้านของสมุนไพรที่อาจารย์ได้ย้ำนักย้ำหนากับข้าพเจ้า ไม่ใช่เป็นการขู่ให้กลัวหรือดุหมิ่นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ แต่หากเป็นการเตือนใจว่าหากรักที่จะใช้สมุนไพรเราก็ควรที่จะใช้มันได้อย่างเกิดคุณค่าอย่างรู้เท่าทันนั้นเอง
สัมภาษณ์ : รศ.ภญ.ดร. มยุรี  ตันติสิระภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
เรียบเรียง:บัวอื่น

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด