โรคหัวใจเกิดจากอะไร อาการโรคหัวใจเบื้องต้น ภาพลวงตาขั้นเทพ โรคหัวใจห้าม
ข้อสังเกตอาการของโรคหัวใจพิการ
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital heart disease) ฟังดูเป็นโรคที่น่ากลัว แต่จากข้อมูลของโรคนี้จะพบว่ามีผู้ป่วยประมาณ 8 คน ต่อทารกแรกคลอด 1,000 คนที่เกิดใหม่ในแต่ละปี ลักษณะของโรคจะมี 2 ชนิด คือ ชนิดเขียว (Cyanotic Congenital heart disease) และชนิดไม่เขียว (Non- Cyanotic Congenital heart disease) ความรุนแรงของโรคนั้นก็จะแตกต่างกัน เพื่อไม่ให้ครอบครัวต้องทนทุกข์เพราะบุตรหลานป่วยด้วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด การรักษาที่ทันท่วงทีจะสามารถทำให้ทารกมีชีวิตและเติบโตได้ตามปกติ ซึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้การรักษาของแพทย์ก็คือ ครอบครัวพาบุตรหลานมาเข้ารับการรักษาได้ทันเวลา การสังเกตให้รู้ว่าลูกป่วยเป็นโรคหัวใจหรือไม่นั้น มีวิธีการแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจที่เป็น ส่วนใหญ่สามารถใช้หลักการสังเกตรวมๆ ได้ดังนี้ -
เขียว (Cyanosis) คือ ลูกมีสีของผิวหนังแดงคล้ำทั่วร่างกายเห็นได้ชัด ริมฝีปาก ลิ้น ปลายนิ้วมือ นิ้วเท้าโดยเฉพาะเวลาลูกดูดนมหรือร้องไห้จะยิ่งเขียว ถ้าเป็นมานานก็จะทำให้ปลายนิ้วมือนิ้วเท้าโต เป็นปุ่มขึ้นคล้ายกับไม้ตีกลองได้ (Clubbing) การที่เกิดอาการเขียวขึ้นนั้นเนื่องจากมีความผิดปกติภายในหัวใจและ/หรือหลอดเลือดที่ออกจากหัวใจ มีการอุดตันของทางออกของเลือดที่ไปปอดหรือมีเลือดดำมาปนกับเลือดแดงที่จะส่งออกมาเลี้ยงร่างกาย เลือดจึงมีสีเข้มคล้ำขึ้นเห็นเป็นสีเขียว
- ดูดนมแล้วเหนื่อยง่าย ดูดนมช้า ลูกดูดนมได้ทีละน้อยๆ ต้องหยุดพักบ่อยเพราะมีการคั่งของเลือดที่ปอด ทำให้มีการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนกับเลือดได้ไม่ดีเท่าที่ควรและมีความยืดหยุ่นของปอดน้อยลง
- ลูกหายใจเร็วกว่าปกติตลอดเวลาเพราะมีการคั่งของเลือดในปอด เช่นเดียวกับลูกดูดนมแล้วเหนื่อย บางครั้งอาจมีอาการหอบร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังเล่นหรือออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย
- หัวใจเต้นเร็วและแรงกว่าปกติ เห็นการกระเพื่อมของหน้าอกซ้ายด้านล่างหรือเต้นแรงคล้ายกลองที่ถูกตีเพราะหัวใจพยายามบีบเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายให้พอเพียงกับความต้องการของเด็กซึ่งมากกว่าเด็กปกติ
- เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ เด็กจะดูดนมไม่ค่อยเก่ง รับประทานอาหารได้น้อย การดูดซึมอาหารของลำไส้ไม่ดีเท่าปกติเพราะมีการคั่งของเลือดทำให้ได้อาหารไม่พอเพียงกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งเด็กต้องการมากกว่าปกติอยู่แล้ว จึงมีผลทำให้ผอมและเจริญเติบโตช้า น้ำหนักไม่ค่อยขึ้น แต่การเจริญเติบโตทางด้านสติปัญญาเท่ากับเด็กปกติ ยกเว้นในรายที่เป็นชนิดเขียวมาก (Severe cyanosis) อาจมีพัฒนาทางด้านสติปัญญาด้อยลงได้
- เหงื่อออกมากผิดปกติ เหงื่อออกมากไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว โดยเฉพาะหน้าผาก ด้านหลังศีรษะและหลังเพราะการทำงานของหัวใจและร่างกาย (Metabolism) ตลอดจนระบบประสาทซิมพาเธติกมากกว่าปกติ โดยเฉพาะภาวะที่มีหัวใจวายร่วม
- เป็นปอดอักเสบบ่อยๆ มีการคั่งของเลือดที่เยื่อบุผิวของหลอดลมและที่ปอดมีการติดเชื้อง่ายกว่าปกติ และเมื่อเป็นแล้วมักมีอาการรุนแรงหรือหายช้ากว่าปกติ
เมื่อทราบข้อสังเกตแล้ว หากคุณพบว่าลูกมีอาการดังกล่าวข้างต้น ถ้าเข้าข่ายหรือสงสัยก็ให้รีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อรับการดูแลรักษาต่อไป และที่สำคัญคุณพ่อคุณแม่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด | | |
| |
แหล่งที่มา : pcsf.org