โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีน โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ข่าวเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม


1,083 ผู้ชม


โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของยีน โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ข่าวเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรม

 

 

 

การตรวจยีนเพื่อค้นหาโรคทางพันธุกรรม
 


ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยในการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม โดยตรวจจากยีนที่เรียกว่า GENETIC TESTS ปัจจุบันวงการวิทยาศาสตร์มีความก้าวหน้าอย่างมากมาย ส่งผลให้มนุษย์ได้เรียนรู้ และรู้จักสิ่งต่างๆที่อยู่ภายในตัวเองได้ดียิ่งขึ้นการตรวจพันธุกรรมสามารถตรวจได้หลากหลายวิธี แต่วิธีที่ง่าย และสะดวกที่สุด คือ การตรวจจากน้ำลาย ซึ่งสามารถตรวจหาความเสี่ยงของโรคต่างๆ เพื่อการวางแผนและป้องกัน ช่วยลดโอกาสการเกิดโรคร้ายต่างๆในอนาคตของคุณ รหัสพันธุกรรมของคุณ มีส่วนทำให้เกิดโรคที่เกิดจากหลายปัจจัยได้มากถึง 30% และอีก 70% มาจากสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมในการดำรงชีวิต ดังนั้น “การตรวจรหัสพันธุกรรมจึงเปรียบเสมือนคัมภีร์ชีวิตที่บอกถึงอนาคตของเราได้
การตรวจสอบภาวะการเป็นพาหะของโรค (Carrier Status)
เป็นการตรวจหาโรคทางพันธุกรรม มากกว่า 76 ชนิด อาทิ โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย โรคหูหนวกตั้งแต่กำเนิด ความผิดปกติในการสร้างเม็ดเลือดแต่กำเนิด และโรคเบาหวานในวัยเด็ก เป็นต้น เพราะโรคทางพันธุกรรมถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ 1 ใน 10 ของเด็กที่เสียชีวิต มีสาเหตุมากจากโรคทางพันธุกรรม และ 80% ของเด็กที่เสียชีวิตจากโรคทางพันธุกรรมที่ไม่มีประวัติของโรคในครอบครัวมาก่อน การมองข้ามและไม่เห็นถึงความสำคัญของการตรวจรหัสพันธุกรรม อาจจะทำให้เด็กที่เกิดมาในอนาคตมีความเสี่ยง ที่จะเป็นโรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนครอบครัว และเตรียมพร้อมกับการมีบุตร เพื่อที่จะทราบและลดความเสี่ยงที่อาจจะถ่ายถอดทางพันธุกรรมมายังบุตรหลานที่คุณรัก
การตรวจสอบการตอบสนองต่อยา (Drug Response)
หรือ ภาวะแทรกซ้อนจากการรับยา สามารถตรวจได้มากกว่า 11 ชนิด อาทิ คาเฟอีน ยากันชัก ยาคุมกำเนิด ยารักษาโรคหัวใจ และ ยาลดไขมัน เป็นต้น เพื่อทราบว่าคุณมีการตอบสนองต่อยาชนิดต่างๆ ได้ดีหรือไม่ เพราะยาบางชนิดอาจจะไม่ออกฤทธิ์ในการรักษาโรค สำหรับคุณ ซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัย เพื่อการเปลี่ยนหรือลดปริมาณยาที่เหมาะสม และเพิ่มโอกาสในการใช้ยาเพื่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้คุณสามารถลดความเสี่ยงของการแพ้ยาและการรับยาเกินขนาดที่อาจทำให้คุณเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเป็นอันตรายในอนาคต
การตรวจสอบความเสี่ยงของการเกิดโรคซับซ้อน (Health Condition)
มากกว่า 24 ชนิด อาทิ โรคหัวใจ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคระบบทางเดินอาหาร และโรคในกลุ่มภูมิคุ้มกันไวเกินเป็นต้น เป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคร้ายต่างๆ เพื่อให้คุณวางแผนการดูแลและใช้ชีวิตในเชิงป้องกันมากกว่าการรักษา หลังจากการตรวจยีนแล้วพบว่าคุณมียีนที่จะเป็นโรคมะเร็งอยู่ภายในร่างกาย นั่นแสดงให้เห็นว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งมากกว่าบุคคลที่ตรวจแล้วไม่มีความผิดปกติ ดังนั้นหากคุณทำการตรวจสอบก่อนที่จะเกิดโรค คุณสามารถป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคดังกล่าวได้ แต่หากคุณไม่ทราบและมองข้ามสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆเหล่านี้ อีกทั้งยังใช้ชีวิตในรูปแบบเดิมๆ ชีวิตหลังความเจ็บปวดคงหนีไม่พ้นสำหรับคุณ

 

โรคที่สามารถตรวจได้จากรหัสพันธุกรรม
Carrier Status

  • ธาลัสซีเมีย
  • เบาหวานในวัยเด็ก
  • ความผิดปกติในการสร้างเม็ดเลือดแต่กำเนิด
  • โรคฮีโมฟิเลีย
  • ภาวะหูพิการตั้งแต่กำเนิด
  • ภาวะการดูดซึมและสะสมเหล็กมากผิดปกติ
  • สามารถตรวจหาภาวะการเป็นพาหะของโรค มากกว่า 76 ชนิด
Drug Response
  • คาเฟอีน
  • ยากดภูมิคุ้มกัน
  • ยาลดไขมัน
  • ยาคุมกำเนิด
  • ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
  • ยาต้านการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด
  • สามารถตรวจหาการตอบสนองต่อยามากกว่า 11 ชนิด
Health Condition
  • โรคเบาหวาน ชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2
  • โรคอัลไซเมอร์
  • โรคมะเร็ง อาทิ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นต้น
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  • ข้อกระดูกเสื่อม
  • ภาวะหัวใจเต็นผิดจังหวะ
  • โรคพาร์กินสัน
  • โรคปลอกประสาทอักเสบ
  • โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  • โรคอ้วน
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน (SLE)
  • โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • สามารถตรวจหาความเสี่ยงของการเกิดโรคซับซ้อน มากกว่า 24 ชนิด
ใครที่เหมาะกับการตรวจพันธุกรรม
การตรวจพันธุกรรมเหมาะสำหรับบุคคลทุกเพศทุกวัย ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดูแลสุขภาพทางด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิต การรับประทานอาหาร หรือการออกกำลังกาย คุณจะทราบข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวคุณ ที่สามารถตรวจเพียงครั้งเดียวแล้วเป็นคัมภีร์ของคุณไปตลอดชีวิต สอบถามข้อมูลและปรึกษาได้ที่นี่ค่ะ

 

แหล่งที่มา : absolute-health.org

อัพเดทล่าสุด