โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินขับถ่าย โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ วิกิ


928 ผู้ชม


โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินขับถ่าย โรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ วิกิ

 

 โรคของระบบทางเดินหายใจ

    โรคปอดทะลุ
                ปอดทะลุ หมายถึง ภาวะที่มีลมรั่วออกจากถุงลม (alveoli) เข้าไปขังอยู่ในช่องหุ้มปอด(pleural cavity) ลมที่รั่วจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และดันให้เนื้อปอดแฟบลงทำให้มีอาการหายใจลำบาก และอาจเกิดภาวะช็อกถึงตายได้เป็นภาวะที่พบได้ไม่บ่อยนัก
สาเหตุ
             อาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บเรียกว่า ปอดทะลุจากการบาดเจ็บ (traumatic pneumothorax) เช่น ถูกยิง ถูกแทง รถชน เป็นต้น  หรืออยู่ดี ๆอาจเกิดขึ้นเองก็ได้ เรียกว่า ปอดทะลุที่เกิดขึ้นเอง (spontaneous pneumothorax) เกิดขึ้นเพราะมีการแตกของถุงลมที่ผิดปกติ มักพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคถุงลมพอง  นอกจากนี้ยังอาจพบในคนที่เป็นโรคหืด ปอดอักเสบ ภาวะมีหนองในช่องปอด วัณโรคปอด  เป็นต้น บางรายอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้มักพบในคนที่สูบบุหรี่  ถ้ารูรั่วไม่มากอาจไม่มีอาการรุนแรง และหายได้เองภายในไม่กี่วัน  แต่ถ้ามีลมรั่วออกมามากมักจะทำให้เกิดอาการหอบรุนแรง หากช่วยเหลือไม่ทันอาจตายได้
อาการ
             มีอาการแสดงได้หลายอย่างขึ้นกับขนาดของรูที่รั่วและสภาพของผู้ป่วยบางคนอาจรู้สึกเจ็บหน้าอกแปล๊บขึ้นมาทันทีทันใดและอาจเจ็บร้าวไปที่ไหล่ หรือแขนข้างเดียวกัน แล้วต่อมารู้สึกหายใจหอบบางคนอาจมีอาการไอแห้ง ๆ ร่วมด้วยบางคนอาจเพียงแต่รู้สึกแน่นอึดอัดในหน้าอกหรือเจ็บหน้าอกเป็นครั้งคราว คล้ายกับอาการของเยื่อหุ้มปอดอักเสบ  เมื่อปล่อยไว้หลายวัน ถ้าลมยังรั่วออกมาเรื่อย ๆ จนทำให้ปอดข้างหนึ่งแฟบก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบมาก ชีพจรเต้นเร็ว และความดันต่ำ
สิ่งตรวจพบ
              หน้าอกข้างที่เจ็บเคาะโปร่งกว่าอีกข้างหนึ่งใช้เครื่องฟังที่ปอด จะไม่ได้ยินเสียงหายใจ หรือได้ยินค่อยมากหลอดลมใหญ่อาจเบี้ยวไปด้านตรงข้าม
อาการแทรกซ้อน
              ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (acute pulmonary failure) หรือเกิดภาวะช็อกได้
การรักษา
1. หากสงสัยให้รีบส่งโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์ดูให้แน่ใจหรือใช้เข็มต่อกับกระบอกฉีดยาเจาะที่ช่องใต้ซี่โครงซี่ที่ 2 (โดยฉีดยาชาก่อน) ถ้าพบมีลมดันเข้าไปในกระบอกฉีดยา แสดงว่ามีลมในช่องหุ้มปอดจริงก็จะ       ทำการเจาะระบายเอาลมออก  หากพบมีสาเหตุชัดเจนก็จะให้การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุร่วมด้วย
2. ในรายที่มีอาการหอบมากและพบว่าหลอดลมใหญ่ถูกดันให้เบี้ยวไปด้านตรงข้าม แต่ไม่สามารถส่ง
    โรงพยาบาลได้ ให้ทำการช่วยเหลือเบื้องต้น โดยใช้เข็มต่อเข้ากับสายน้ำเกลือให้แน่นปล่อยปลาย  สายน้ำเกลืออีกปลายหนึ่งจุ่มไว้ในขวดหรืออ่างใส่น้ำ มีระดับน้ำสูง 15-20 ซม. แล้วแทงเข็มเข้าที่ช่องใต้ซี่โครงที่ พอห้ทะลุผนังหน้าอก  จะพบมีฟองอากาศผุดให้เห็น แล้วให้รีบนำส่งโรงพยาบาล   คอยระวังอย่าให้ปลายสายน้ำเกลือโผล่พ้นระดับน้ำเป็นอันขาดเมื่อเห็นว่าฟองอากาศออกน้อย และอาการดีขึ้นแล้ว อาจเอาเข็มออกได้
ข้อแนะนำ
              ผู้ป่วยที่มีภาวะปอดทะลุเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อรักษาหายแล้ว ประมาณ 50% อาจมีอาการกำเริบซ้ำได้อีก และถ้ามีประวัติสูบบุหรี่ ควรงดสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันมิให้มีการกำเริบซ้ำ
 
โรคถุงลมโป่งพอง


โรคถุงลมโป่งพอง(Emphysema หรือ Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) หมายถึง ภาวะที่ถุงลมในปอดพิการอย่างถาวร
                 ถุงลมในปอด คือ ถุงลมขนาดเล็กๆ ที่มีหลอดเลือดหุ้มโดยรอบ เป็นที่ซึ่งเกิดการแลกเปลี่ยนก๊าซ โดยก๊าซออกซิเจนในถุงลมจะซึมผ่านผนังถุงลม และหลอดเลือดเข้าไปในกระแสเลือด ในขณะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระแสเลือดก็จะซึมกลับออกมาในถุงลม  ปกติถุงลมในปอดจะอยู่ปลายสุดของปอด ซึ่งมีจำนวนหลายล้านถุง โดยที่ถุงลมที่ปกติจะมีผนังที่ยืดหยุ่นซึ่งทำให้หดและขยายตัวได้คล้ายฟองน้ำ ช่วยให้การแลกเปลี่ยนอากาศเป็นไปอย่างเต็มที่ ในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองจะมีผนังถุงลมที่เสียความยืดหยุ่นและเปราะง่าย ซึ่งผนังของถุงลมที่เปราะก็ยังมีการแตกทะลุร่วมด้วย เมื่อภาวะนี้เกิดขึ้นกับถุงลมเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดโรคถุงลมโป่งพองนั่นเอง ทั้งนี้ โรคถุงลมโป่งพองมักพบว่าเป็นโรคแทรกซ้อนของโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรืออาจเกิดจากภาวะโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ เช่น หืด วัณโรค หรือ หลอดลมพอง เป็นต้น
อาการแทรกซ้อนของโรคถุงลมโป่งพอง
- อาจมีอาการหายใจหอบแบบเดียวกับหอบหืด แต่ต่างกันที่ผู้ป่วยถุงลมโป่งพองจะมีอาการเหนื่อยง่ายอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะหายหอบแล้วก็ตาม ส่วนผู้ป่วยโรคหืดเวลาไม่มีอาการหอบจะเป็นปกติสุขทุกอย่าง


- ผู้ป่วยอาจมีอาการไอ มีเสลดเรื้อรังแบบหลอดลมอักเสบเรื้อรังร่วมด้วย ในรายที่เป็นมากๆ อาจมีอาการหายใจหอบคล้ายผู้ป่วยโรคหืด
- ในรายที่เป็นมากๆ อาจเกิดภาวะหัวใจวายได้
- ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองบางรายมักพบว่ามีอาการแทรกซ้อนของโรคปอดอักเสบ ซึ่งอาจทำให้เกิดปอดทะลุจากการที่ถุงลมแตกเมื่อเป็นมากๆ จนในที่สุดจะเกิดภาวะหัวใจวายหรือภาวการณ์หายใจล้มเหลวได้
การรักษาและการปฏิบัติตัวในผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพอง
- ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองต้องเลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
- หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ๆ มีมลภาวะทางอากาศ
- ควรดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยขับเสมหะ
- แพทย์อาจให้รับประทานยาขับเสมหะ หรือให้ยาขยายหลอดลมในกรณีที่มีอาการหอบ
- หากพบว่าอาการไม่ดีขึ้นหรือสงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน อาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเสมหะ หรือใช้เครื่องตรวจส่องหลอดลม (Bronchoscope
)


- หากมีภาวะหายใจล้มเหลวหรือปอดทำงานไม่ได้ อาจต้องเจาะคอและใช้เครื่องช่วยหายใจ
- เนื่องจากโรคถุงลมโป่งพองเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพราะถุงลมส่วนที่เสียไปแล้วนั้น ไม่มีทางที่จะกลับคืนมาดีได้อย่างปกติ ดังนั้น การรักษาเพียงแต่บรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนเท่านั้น
- ในผู้ป่วยที่มีไข้หรือสงสัยว่าจะเกิดภาวะติดเชื้อควรรีบไปพบแพทย์ทันที

แหล่งที่มา :  my.dek-d.com

อัพเดทล่าสุด