การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบ สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง ระบาดวิทยากับโรคหลอดเลือดสมอง
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบ
แพทย์มักจะรับตัวผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาลและให้การรักษาตามสาตุ เช่น
1. ถ้าพบว่าเกิดจากสมองขาดเลือดจากลิ่มเลือดอุดกั้น แพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด ฉีดเข้าไป หลอดเลือดดำ เพื่อเปิดทางให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมอง ทำให้เซลล์สมองไม่ตาย ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นคืนสู่ปกติได้เร็ว ยานี้จะได้ผลดีต้องให้ภายใน 3 ชั่วโมง หลังมีอาการ
หลังอาการคงที่แล้ว แพทย์จะให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (นิยมให้แอสไพริน ขนาด 75-325 มก. กินทุกวัน) ให้ยาควบคุมโรคที่เป็นสาเหตุ เช่น ยาลดความดันเลือด ยาเบาหวาน ยาลดไขมันในเลือด เป็นต้น ทำการฟื้นฟูร่างกาย ด้วยการทำกายภาพบำบัด
ในรายที่ตรวจพบมีหลอดเลือดแดงที่คอตีบอาจให้การรักษาด้วยการผ่าตัดหลอดเลือด หรือใช้บอลลูนขยายหลดเลือด
2. ถ้าพบว่าเกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ก็ให้การรักษาแบบประคับประคอง เช่น ให้น้ำเกลือใส่ท่อหายใจ และเครื่องช่วยหายใจ ควบคุมความดันเลือด ( ถ้าสูงรุนแรง ) ในรายที่มีก้อนเลือดในสมอง อาจจำเป็นต้องทำการผ่าตัดสมองแบบเร่งด่วน ส่วนในรายที่มีเลือดออกเพียงเล็กน้อย และไม่กดถูกสมองส่วนที่สำคัญ ก็อาจไม่ต้องผ่าตัด เมื่อรักษาจนผู้ป่วยปลอดภัย แล้วก็จะทำการฟื้นผู้ร่างกาย ด้วยการทำกายภาพบำบัด
ภาวะแทรกซ้อน
อาจกลายเป็นโรคอัมพาตเรื้อรัง ซึ่งมีความรุนแรงมาน้อยต่างกันไป ขึ้นกับความรุนแรง และสภาพร่างกายของผู้ป่วย ในรายที่ลุกนั่งไม่ได้ หรือ นอนแบ๊บอยู่บนเตียงนอน อาจเกิดแผลกดทับที่ก้น หลัง หรือ ข้อต่อต่างๆ บางรายอาจสำลักอาหารเกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจหรือ ปอดอักเสบได้ อาจเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบได้ง่าย หรือเป็นแผลถลอกที่กระจกตาดำ นอกจากนี้อาจมีความเครียดทางจิตใจ หรือ โรคซึมเศร้าในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
การดำเนินโรค
ในรายที่เกิดจากสมองขาดเลือดจากลิ่มเลือดอุดตัน ถ้ามีอาการเล็กน้อย และได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก ก็อาจหายเป็นปกติ หรือฟื้นคืนสภาพได้จนเกือบเป็นปกติ จนช่วยตนเองได้ พูดได้ เดินได้ แต่อาจใช้มือได้ไม่ถนัด
- ในรายที่เป็นรุนแรงหรือได้รับการรักษาไม่ทันท่วงทีก็มักจะมีความพิการหรือบกพร่องทางร่างกาย ซึ่งต้องการการดูแลจากผู้อื่น นั่งรถเข็น หรือใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ส่วนน้อยที่จะพิการรุนแรง จนต้องนอนแบ๊บอยู่บนเตียง และ ต้องการผู้ดูแลตลอดเวลา หรือ รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ขณะพักรักษาอยู่ในโรงพยาบาล โดยทั่วไป การฟื้นตัวของร่างกายมักจะต้องใช้เวลา ถ้าจะดีขึ้นก็จะเริ่มมีอาการดีขึ้นในเห็นภายใน 2-3 สัปดาห์ และจะค่อยๆฟื้นตัวขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถช่วยตนเองได้ หรือหายจนเกือบเป็นปกติ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหลัง 6 เดือนไปแล้ว ก็มักจะพิการอย่างถาวร ซึ่งมากน้อยขึ้นกับความรุนแรงของโรคและสภาพร่างกายของผู้ป่วย
- ในรายที่เกิดจากหลอดเลือดสมองแตก ผลการรักษาขึ้นกับตำแหน่ง และ ปริมาณของเลือดที่ออกสภาพของผู้ป่วย (อายุ โรคประจำตัว) และการเกิดภาวะ แทรกซ้อนต่างๆ
- ถ้าเลือดออกในก้านสมอง จะมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 90 – 95 ถ้าก้อนเลือดขนาดใหญ่ และ แตกเข้าโพรงสมอง จะมีอัตราการตายถึงร้อยละ 50
- ถ้าเลือดออกที่บริเวณผิวสมองหรือก้อนเลือดขนาดเล็ก และ ไม่แตกเข้าโพรงสมองจะมีอัตราการตายต่ำ ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง หากรอดชีวิตก็มักจะมีความพิการอย่างถาวร บางรายอาจจะกลายสภาพเป็นผัก หรือ คนนิทรา อยู่นานหลายปี ในที่สุดมักจะเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ โรคติดเชื้อ ต่างๆ ส่วนผู้ป่วยที่อายุน้อย ซึ่งมักเกิดจากการแตกของหลอดเลือดผิดปกติมาแต่กำเนิด ถ้าแตกตรงตำแหน่งที่ไม่สำคัญ และได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง มาตั้งแต่แรก มักจะสามารถฟื้นหายได้เป็นปกติ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมอง แม้ว่าร่างกายจะฟื้นตัวได้ดี แต่ก็คงมีโรคลมชักจากแผลเป็นในสมองแทรกซ้อนตามมาได้ ซึ่งต้องกินยากันชักควบคุมอาการตลอดไป
- ถ้าเลือดออกในก้านสมอง จะมีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 90 – 95 ถ้าก้อนเลือดขนาดใหญ่ และ แตกเข้าโพรงสมอง จะมีอัตราการตายถึงร้อยละ 50
แหล่งที่มา : vcharkarn.com