ใบงานอาเซียนศึกษา แบบทดสอบอาเซียนศึกษา สรุปเนื้ออาเซียนศึกษา


6,776 ผู้ชม


ใบงานอาเซียนศึกษา แบบทดสอบอาเซียนศึกษา สรุปเนื้ออาเซียนศึกษา

 

อาเซียนศึกษา1


การก่อตั้ง 
อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
(Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN) 
ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) 
เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ
ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง
 5 ประเทศ ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศ
อินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย)
 นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์)
 นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์ และ
พันเอก(พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย) ในเวลา
ต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่
บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค. 2527) เวียดนาม
(วันที่ 28 ก.ค. 2538) ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา
(วันที่ 30 เม.ย. 2542) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิก
ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10 ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
วัตถุประสงค์หลักของการก่อตั้งอาเซียน
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจสังคม
วัฒนธรรม เทคโนโลยี และการบริหาร ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคง
ของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและ
องค์กรระหว่างประเทศ 
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบ
ด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ำเงิน รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก
10 ประเทศ สีเหลืองหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง สีแดง หมายถึง
ความกล้าหาญและการมีพลวัติ สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
และสีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
โครงสร้างและกลไกการดำเนินงาน
นโยบายการดำเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือ
ในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน
การประชุมสุดยอดเป็นการประชุมในระดับสูงสุดเพื่อกำหนดแนว
นโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกัน
ประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาว โดยการจัด
ทำเอกสารในรูปแบบของแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม
(Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement)
หรืออนุสัญญา (Convention) เช่น Hanoi Declaration, Hanoi Plan of
Action และ ASEAN Convention on Counter Terrorism เป็นต้น
ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะเป็นการประชุม
เพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวม และนโยบายเฉพาะด้าน โดยหารือ
ในรายละเอียดมากขึ้น
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานของอาเซียน
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน หรือ ASEAN Secretariat ที่กรุงจาการ์ตา
ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก
โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretary-General) เป็นหัวหน้า
สำนักงาน ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบันคนไทย คือ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี (ค.ศ. 2008-2012)
2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ หรือ ASEAN National Secretariat
เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก
อาเซียน มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผล
การดำเนินงาน สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ
กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political
     and Security Community–APSC)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural 
    Community–ASCC)
คำขวัญที่ใช้คือ
"One Vision,One Identity, One Community"
หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม 
อาเซียน +3 
อาเซียน +3 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
และ 3 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้
อาเซียน +6 
อาเซียน +6 คือ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ
และ 6 ประเทศนอกอาเซียน ได้แก่ จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้,
ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, อินเดีย
7 วิชาชีพที่สามารถย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี 
ในประชาคมอาเซียน ได้แก่ แพทย์, ทันตแพทย์, นักบัญชี, 
วิศวกร, พยาบาล, สถาปนิก, นักสำรวจ
สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ https://www.bic.moe.go.th/  
ขอขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้ครับ


แหล่งที่มา : ksn-watbangpatunnok.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด