การป้องกันโรคติดต่อทางพันธุกรรม ความดันเป็นโรคติดต่อทางพันธุกรรมไหม โรคติดต่อทางพันธุกรรมพร้อมภาพประกอบ
โรคทางพันธุกรรม
สาเหตุการป่วย
สาเหตุของการป่วยคือ สภาวะที่ร่างกายไม่สามารถขับของเสียสารเคมีต่างๆ ขาดภูมิคุ้มกัน ต้านทานโรค กำจัดเชื้อโรค สิ่งเหล่าที่ถ้าไปอาศัยอยู่ในร่างกาย ก็จะเข้าไปทำลายอวัยวะภายใน และโลหิต น้ำเหลือง จนกระทั้งสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้มีมากจนร่างกายต้องเสียสมดุล เกิดอาการเจ็บป่วย ต่างๆนานา การเจ็บป่วยที่มีอาการต่างกัน เพราะว่าอวัยวะ หรือของเหลวต่างๆในร่างกายผิดปกติ ที่ใดที่หนึ่งป่วยใช้การไม่ได้ การรักษาร่างกาย การเจ็บไข้ได้ป่วยของคนเรามักจะเชื่อว่า ถ้าที่ไหนมีเครื่องมือราคาแพง ทันสมัยจะช่วยให้รักษาโรคหาย แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น คนไข้บางรายต้องเสียใจที่ตนเลือกการรักษาเพียงด้านเดียว กลับไม่ได้มองถึงการรักษาแนวทางธรรมชาติร่วมด้วย เช่นการใช้ยาสมุนไพร การนั่งสมาธิ การออกกำลังกาย เป็นต้น
ความหมายของโรคติดต่อ
โรคติดต่อหมายถึงโรคที่สามารถถ่ายทอด หรือติดต่อจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปยังอีกสิ่งมีชีวิตหนึ่งได้ โดยไม่จำกัดว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นมนุษย์หรือไม่ก็ตาม โรคติดต่ออาจสามารถแพร่ไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นได้โดยการสัมผัสโดยตรง การสูดดมหายใจเอาเชื้อโรคที่แพร่จากผู้ป่วย การรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อปนอยู่ หรือแม้แต่ผ่านตัวกลางที่เรียกว่าพาหะ หากโรคติดต่อนั้นๆมีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว สู่ชุมชนที่มีประชากรจำนวนมาก โรคดังกล่าวก็กลายเป็นโรคระบาด
โรคตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ โรคติดต่อตามความหมายในพระราชบัญญัติโรคติดต่อพุทธศักราช 2523 แบ่งออกได้ดังนี้
1. โรคติดต่อ หมายความว่า
1.1 โรคซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เป็นโรคติดต่อและ
1.2 โรคซึ่งรัฐมนตรว่าการกระทรวงสาธารณสุหรือผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเฉพาะใน เขตของตนโดยประกาศให้เป็นโรคติดต่อในกรณีที่ตรวจพบหรือมีเหตุสงสัยว่าโรคใด โรคหนึ่งนอกเหนือจากข้อ 1 เป็นโรคซึ่งอาจตืดต่อแพร่กระจายเป็นอันตรายแก่ประชาชนได้ รวใรายชื่อโรคติดต่อรวม 45 โรค คือ
อหิวาตกโรค กาฬดรค ไข้ทรพิษ ไข้เหลือง ไข้กาฬหลังแอ่น คอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ ไข้หัด ไข้หัดเยอรมัน 1 คางทูม ไข้อีสุกอีใส ไข้หวัดใหญ่ ไข้สมองอักเสบ ไข้เลือดออก พิษสุนัขบ้า ตับอักเสบ ตาแดงจากไวรัส อาหารเป็นพิษ บิดแบบซิลลารี่ บิดอมีบา ไข้รากสาดน้อย ไข้รากสาดเทียม ไข้รากสาดใหญ่ สครัปไทฟัส มูรินไทฟัส วัณโรค เรื้อน ไข้จับสั่น แอนแทรก ทริโคโนซีส คุดทะราด เลปโตสไปโรซีส ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง แผลริมอ่อน แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ ไข้กลับซ้ำ อุจจาระร่วง แผลเรื้อรัง ( แผลปากหมู ) เท้าช้าง เอดส์
โรคติดต่อ,โรคติดต่อทางเดินหายใจ
โรคคางทูม (Mumps)
โรคคางทูม เป็นการติดเชื้อและมีการอักเสบของต่อมน้ำลาย (Parotid gland) ที่อยู่บริเวณกกหูทำให้ที่บริเวณคางบวม จึงได้ชื่อว่าคางทูม พบในเด็กเป็นส่วนใหญ่
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus
ระบาดวิทยา เป็นโรคติดต่อติดต่อได้ทางทางเดินหายใจ (Droplet spread) และสัมผัสกับน้ำลายของผู้ป่วย เช่น การกินน้ำและอาหารโดยใช้ภาชนะร่วมกัน เป็นกับเด็กได้ทุกอายุ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรง และมีโรคแทรกซ้อนได้บ่อยกว่าในเด็ก หลังจากมีวัคซีนป้องกันในประเทศที่พัฒนาแล้วอุบัติการณ์ของโรคนี้ได้ลดลงมาก ระยะที่ติดต่อกันได้ง่าย คือจาก 1-2 วัน (หรือถึง 7 วัน) ก่อนมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ไปจนถึง 5-9 วันหลังจากมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย
ระยะฟักตัวของโรคคือ 16-18 วัน แต่อาจสั้นเพียง 12 วัน และนานถึง 25 วันหลังสัมผัสโรค
อาการ ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ที่ติดเชื้อจะไม่มีอาการ ในผู้มีอาการจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำ เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมา 1-2 วัน จะมีอาการปวดหู เจ็บบริเวณขากรรไกร จากนั้นต่อมน้ำลายหน้าหูจะโตขึ้นจนคลำได้ โดยค่อยๆ โตขึ้นจนถึงบริเวณหน้าหูและขากรรไกร บางรายโตขึ้นจนถึงระดับตา ประมาณ 1 สัปดาห์ จะค่อยๆ ลดขนาดลง
โรคแทรกซ้อน
1) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซึ่งส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง
2) โรคแทรกซ้อนที่นับว่ารุนแรงคือ สมองอักเสบ พบได้ประมาณ 1 ใน 6,000 ราย ซึ่งอาจทำให้ถึงเสียชีวิตได้ 3) ถ้าเป็นในเด็กชายวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่อาจมีการอักเสบของอัณฑะ ซึ่งในบางรายอาจทำให้เป็นหมันได้
4) โรคแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจพบได้น้อยมาก คือ ข้ออักเสบ ตับอ่อนอักเสบ และหูหนวก
การวินิจฉัยโรค จาก การแยกเชื้อไวรัสจาก throat washing จากปัสสาวะและน้ำไขสันหลัง และหรือตรวจหาระดับ antibody โดยวิธี Hemagglutination Inhibition (HAI) หรือ Neutralization test (NT)
การรักษา ตามอาการ ให้ยาแก้ปวดเป็นครั้งคราว
การแยกผู้ป่วย
แยกเกี่ยวกับระบบการหายใจ โดยแยกผู้ป่วยจนถึง 9 วัน หลังเริ่มมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย
การป้องกัน
หลีก เลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย วิธีที่ดีที่สุดคือ ให้วัคซีนป้องกันด้วยการให้วัคซีนป้องกันคางทูม ซึ่งมาในรูปแบบของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR) ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนรวมป้องกันหัด คางทูม และหัดเยอรมัน 1 ครั้ง ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
รู้จักกันไหมเอ่ย ว่า " โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ " คืออะไร และมีโรคอะไรที่เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ บ้าง วันนี้เราจะไปทำความรู้จัก "โรค" ที่สามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์กัน
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์ (ตามที่บัญญัติในราชบัณฑิตยสถาน) (Sexually transmitted disease; STD) อาจเรียกว่า "กามโรค" (Venereal disease) หรือ "วีดี" เกิดขึ้นจากการติดต่อกันผ่านทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทวารหนัก กับผู้ที่กำลังมีเชื้อ ปัจจุบันใช้คำว่า "การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์"
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็น โรคที่สามารถเป็นได้ทุกเพศ ทุกวัย แต่พบมากในหมู่วัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นในปัจจุบัน นิยมมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตัวเอง รวมทั้ง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ต่างๆ นอกจากนี้ในปัจจุบัน คู่แต่งงานมีอัตราการหย่าร้างสูงขึ้น ทำให้คนมีสามี หรือภรรยาหลายคน จึงเกิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มากขึ้น
สิ่งที่อันตรายของ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ เมื่อเป็นแล้ว มักจะไม่เกิดอาการ บางคนจึงติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แล้วโดยไม่รู้ตัว และเป็นปัญหาในการจัดการทางระบบสาธารณสุข และที่สำคัญ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นี้ สามารถติดต่อไปยังทารกในครรภ์ได้
สาเหตุของการเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
สาเหตุของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1.เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งบางชนิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ บางชนิดไม่มียารักษา และบางชนิดยังสามารถฝังตัวอยู่ และกลับมาเป็นซ้ำได้อีก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้แก่ เริมที่อวัยวะเพศ หูดหงอนไก่ ไวรัสตับอักเสบบี ฯลฯ
2.เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ซิฟิลิส หนองใน หนองในเทียม ท่อปัสสาวะอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ ฯลฯ
3.เกิดจากเชื้ออื่นๆ เช่น พยาธิ สามารถรักษาให้หายขาดได้ ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ
กลุ่มเสี่ยงต่อการเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
คนที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย หรือหญิงบริการ ใน 3 เดือนก่อนหน้า
คนที่มีคู่นอนมากกว่า 1 คน ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
คนที่มีเพศสัมพันธ์กับคู่คนใหม่ ในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า
ผู้ที่มีประวัติป่วยเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใน 1 ปีที่ผ่านมา
ผู้ที่มีคู่ครองอยู่คนละที่
อาการแบบใด สงสัยเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
หากมีอาการเหล่านี้ สามารถสงสัยได้ว่าเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ในผู้ชาย จะมีอาการปัสสาวะแสบขัด ขาหนีบบวม หรือเป็นฝี เจ็บปวดอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผล บริเวณอวัยวะเพศ มีเมือกใส หรือหนองไหลออกมา
ในผู้หญิง จะรู้สึกเจ็บ เสียวท้องน้อย ขาหนีบบวม หรือเป็นฝี เจ็บปวด คันอวัยวะเพศ มีผื่น ตุ่ม แผลบริเวณอวัยวะเพศ มีตกขาวสีเหลือง มีกลิ่นเหม็น
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่สำคัญ ได้แก่
1.โรคเอดส์ (AIDS)
หรือกลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม เกิดจากการรับเชื้อ Human immunodeficiency virus หรือ HIV เข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง จึงทำให้เชื้อโรคฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่น มะเร็ง วัณโรค และสาเหตุการเสียชีวิตก็มักเกิดขึ้นจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่างๆ เหล่านี้ ที่จะทำให้อาการรุนแรง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
2.หนองใน (Gonorrhoea)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Neisseria gonorrhoeae ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในท่อปัสสาวะ แสบขัดเวลาปัสสาวะ และมีหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ อาจจะทำให้เกิดการอักเสบในช่องท้อง หรือเป็นหมันหากไม่ได้รับการรักษา
3.หนองในเทียม (Non-gonococcal Urethritis/Non gonococcal Cervicitis)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่ทำให้มีอาการแสบปลายท่อปัสสาวะ ปัสสาวะขัดและมีหนองไหล และมีมูกออกเล็กน้อยโดยเฉพาะในช่วงเช้า ส่วนผู้หญิงอาจมีอาการตกขาวผิดปกติ
4.แผลริมอ่อน (Chancroid)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากเชื้อ Haemophilus Ducreyi ทำให้เกิดแผลที่อวัยวะเพศ บวมและเจ็บ บางคนมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบหรือที่ชาวบ้านเรียกไข่ดันบวม หากไม่รักษาหนองจะแตกออกจากต่อมน้ำเหลือง มักมีหลายแผล ขอบแผลนุ่มและไม่เรียบ ก้นแผลสกปรกมีหนอง มีเลือดออกง่าย เวลาสัมผัสเจ็บปวดมาก บางรายต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบจะบวม และเป็นฝี เมื่อฝีแตกจะเป็นแผล
5.เริมที่อวัยวะเพศ (Genita Herpes Simplex Virus Infection)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เกิดเชื้อไวรัส herpes simplex virus ทำให้เกิดอาการปวดแสบบริเวณขา ก้นหรืออวัยวะเพศ และตามด้วยผื่นเป็นตุ่มน้ำใส แผลหายได้เองใน 2-3 สัปดาห์ แต่เชื้อยังอยู่ในร่างกาย เมื่อร่างกายอ่อนแอ เชื้อก็จะกลับเป็นใหม่
6.หูดข้าวสุก (Molluscum contagiosum)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากเชื้อไวรัส Molluscum contagiosum virus (MCV) ทำให้เกิดเป็นตุ่มนูนบนผิวหนัง ผิวเรียบขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 2-5 มิลลิเมตร จะพบมากขึ้นในรายที่มีการติดเชื้อ HIV จำนวนตุ่มที่เกิดขึ้นอาจมีมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพร่างกายของผู้ป่วยขณะนั้น ว่าร่างกายมีความแข็งแรงเพียงใด ถ้าใช้เข็มสะกิดตรงกลางแล้วบีบดูจะได้เนื้อหูดสีขาวๆ คล้ายข้าวสุก มักเป็นที่บริเวณหัวหน่าว อวัยวะเพศภายนอกและโคนขาด้านใน
7.หูดหงอนไก่ (Condyloma Acuminata)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากไวรัส Human papilloma virus ลักษณะเป็นติ่งเนื้ออ่อนๆ สีชมพูคล้ายหงอนไก่ ชอบขึ้นที่อุ่นและอับชื้น ในผู้ชายมักพบที่อวัยวะเพศบริเวณใต้หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ตลอดทั้งบริเวณรอบรอยเปิดขอบ,ท่อปัสสาวะ และอัณฑะ ส่วนผู้หญิงจะพบที่ปากช่องคลอด ผนังช่องคลอด ปากมดลูก ปากทวารหนักและฝีเย็บ หูดมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ การตั้งครรภ์จะทำให้หูดโตเร็วกว่าปกติ ถ้าไม่รีบรักษาจะเป็นมากขึ้นและยากต่อการรักษา และทารกอาจติดเชื้อได้ขณะคลอด
8.หิด (Scabies)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากตัวไร Sarcoptes scabei ลักษณะจะมีตุ่มน้ำใสและตุ่มหนองคันขึ้นกระจายทั้ง 2 ข้างของร่างกาย มักพบตามง่ามนิ้วมือ ข้อศอก รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ อวัยวะสืบพันธุ์ ข้อเท้า หลังเท้า ก้น ผู้ป่วยมักมีอาการคันมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืน สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสใกล้ชิด สัมผัสทางเพศหรือ อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย
9.ซิฟิลิส (Syphilis)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากการติดเชื้อ Treponema pallidum เป็นโรคที่มีอันตราย และมีอาการเรื้อรัง สามารถติดต่อยาวนานกว่า 2 ปี ลักษณะการติดเชื้อเริ่มแรกจะเป็นก้อนแข็ง แต่ไม่เจ็บที่บริเวณอวัยวะเพศ หากไม่รักษาจะกลายเป็นระยะที่สองที่เรียกว่า เข้าข้อหรือออกดอก ถ้าทิ้งไว้นานจะทำให้เกิดโรคแก่ระบบต่างๆ ของร่างกายหลายระบบ ทั้งซิฟิลิสระบบหัวใจและหลอดเลือด ซิฟิลิสระบบประสาท เป็นต้น นอกจากนี้ มารดาที่เป็นโรคซิฟิลิสจะถ่ายทอดโรคสู่ทารกในครรภ์ได้เรียกว่า ซิฟิลิสแต่กำเนิด (congenital syphilis)จึงถือซิฟิลิสเป็นโรคที่มีอันตราย และมีอาการเรื้อรัง สามารถติดต่อยาวนานกว่า 2 ปี
10.โลน (Pediculosis Pubis)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากแมลงตัวเล็กที่เรียกว่า pediculosis pubis อาศัยอยู่ที่ขนหัวเหน่า ชอบไชตามรากขนอ่อน และดูดเลือดคนเป็นอาหาร ผู้ที่เป็นโรคนี้ จะมีอาการคัน เมื่อเกาจะทำให้เจ้าตัวเชื้อแพร่ไปยังบริเวณอื่นได้ การวินิจฉัยสามารถทำได้ด้วยตาเปล่า จะพบไข่สีขาวเกาะตรงโคนขนไข่จะมีลักษณะวงรี ส่วนตัวแมลงเมื่อกินเลือดเต็มที่จะออกสีน้ำตาล ติดต่อได้จากการสัมผัสทางเพศกับผู้ป่วย หรือใช้กางเกงในร่วมกัน การรักษาสามารถซื้อยาทาได้ตามร้านขายยา แต่คนท้องหรือเด็กควรจะปรึกษาแพทย์
11.พยาธิช่องคลอด (Vaginal Trichomoniasis)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากเชื้อโปรโตซัว Trichomonas vaginalis ผู้ป่วยจะมีอาการตกขาวผิดปกติ มีสีเขียวขุ่นหรือเหลืองเข้ม มีฟองอากาศและมีกลิ่นเหม็น เกิดการระคายเคืองบริเวณอวัยวะเพศ เจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ คันและแสบปากช่องคลอด
12.เชื้อราในช่องคลอด (Vaginal Candidiasis)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากเชื้อรากลุ่ม Candida ซึ่งร้อยละ 80 - 90 เกิดจาก Candida albicans ทำให้มีอาการระคายเคืองบริเวณช่องคลอด มีการตกขาวขุ่นจับเป็นก้อน อาจมีอาการปัสสาวะแสบขัด เจ็บขณะร่วมเพศ
13.อุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflammatory Diseases, PID)
หรือโรคปีกมดลูกอักเสบ เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากการติดเชื้อของมดลูก รังไข่ หรือท่อรังไข่ อาจเสียชีวิตได้หากติดเชื้อรุนแรง และหากไม่รักษา อาจเกิดโรคแทรกซ้อนจนเป็นหมันหรือเสียชีวิตได้
14.แผลกามโรคเรื้อรังที่ขาหนีบ (Granuloma inguinale)
เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เกิด จากเชื้อแบคทีเรีย Donovania granulomatis โดยจะมีแผลที่บริเวณอวัยวะเพศ ขาหนีบ ซอกขา หรือบริเวณหน้า และไม่พบในประเทศไทย มักพบในคนผิวดำ
การป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
วิธีป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คือ
1. ใส่ถุงยางอนามัย หากจะมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ไม่แน่ใจว่ามีเชื้อหรือไม่
2. รักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะเพศอย่างสม่ำเสมอ
3. ไม่เปลี่ยนคู่นอน ให้มีสามี หรือภรรยาคนเดียว
4. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่ยังอายุน้อย เนื่องจากมีสถิติว่า ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยจะมีโอกาสติด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สูง
5. ตรวจโรคเป็นประจำทุกปี เพื่อหาเชื้อโรค แม้จะไม่มีอาการใดๆ โดยเฉพาะคู่ที่กำลังจะแต่งงาน
6. เรียนรู้ ศึกษาอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
7. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ขณะมีประจำเดือน เพราะจะทำให้เกิด โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ง่าย
8. ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หากจำเป็นให้สวมถุงยางอนามัย
9. ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด เพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ได้ง่าย
วิธีปฏิบัติตัวของผู้ที่เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
1. ต้องรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรค
2. แจ้งคู่นอนให้ทราบว่า เป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อจะได้ป้องกัน ไม่ให้เชื้อแพร่ไปสู่คนอื่น
3. รักษาอาการ และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
4. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือการสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันไม่ให้อาการอักเสบลุกลาม
5. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของมึนเมาทุกชนิด
6. ไม่ควรซื้อยามารักษาเอง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อให้มีความหมายกว้างขึ้น
โรคติดต่อ ทางเดินหายใจ
ไข้หวัดใหญ่ (Influenza FLU)
เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี แต่จะเป็นมากในช่วงฤดูฝน (ช่วงเดือนกรกฏาคม ถึง ธันวาคม) บางปีอาจพบการระบาดทั่วโลก พบสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยผู้ใหญ่ที่มีอาการตัว ร้อนมา 2-3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า อินฟลูเอนซาไวรัส(Influenza virus) เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหาของผู้ป่วยติดต่อโดยการไอหรือ จาม หรือหายใจรดกัน
ระยะฟักตัว1-4 วัน เชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิดใหญ่ เรียกว่า ชนิด เอ บี และ ซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ออกไปอีกมากมาย ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดพันธุ์ย่อยเพียงพันธุ์เดียว เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อพันธุ์นั้น แต่ไม่สามารถต้านทางพันธุ์อื่น ๆ ได้จึงอาจติดเชื้อ จากพันธุ์ใหม่ได้ เชื้อไข้หวัดใหญ่บางพันธุ์ อาจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดการระบาดใหญ่ และมีการเรียกชื่อโรคที่ระบาดแต่ละครั้งตามชื่อ ของประเทศที่เป็นแหลงต้นกำหนด เช่น ไข้หวัดใหญ่ ฮ่องกง (เรียก สั้น ๆ ว่าไข้หวัด ฮ่องกง หรือหวัดฮ่องกง),ไข้หวัดรัสเซีย, ไข้หวัดสิงคโปร์เป็นต้น
อาการ
มักจะเกิดขึ้นทันที่ทันใดด้วยอาการไข้สูงหนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก(โดย เฉพาะที่กระเบนเหน็บ ต้นขา ต้นแขน) ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีอาการเจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้ง ๆ จุกแน่นท้อง แต่บางราย ก็อาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้ มีข้อสังเกตุว่าไข้หวัดใหญ่มักเป็นหวัดน้อย แต่ไข้หวัดน้อยมักเป็นหวัดมาก ไข้มักเป็นอยู่ 2-3 วัน แล้วค่อย ๆ ลดลง อาการไอ และอ่อนเพลียอาจจะเป็นอยู่ อาจเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่น ๆ จะทุเลาแล้วก็ตาม บางคนเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้ว อาจมีอาการวิงเวียนเหมือนเมารถเมาเรือ เนื่องจากมีการอักเสบของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งมักจะหายเองภายใน 3-5 วัน
สิ่งที่ตรวจพบ
ไข้ 38.5-40ฐC เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใส คอแดงเล็กน้อย หรือไม่แดงเลย(ทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึก เจ็บคอ) ส่วนมากมักตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่น ๆ
อาการแทรกซ้อน
1. ให้การดูแลปฏิบัติตัวเหมือนเป็ฯไข้หวัด คือนอนพัก มาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้อมอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน(ข้าวต้ำ โจ๊ก) ดื่มน้ำ และน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ มาก ๆ
การรักษา
1. ให้การดูแลฃ และปฏิบัติตัวเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ตดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน (ข้าวต้มโจ๊ก) ดื่มน้ำลแน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้มาก ๆ
2. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้บรรเทาปวด ยาแก้ไอ ยาดแก้หวัด เป็นต้น (ในกรณีเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน)
3. ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้ทุกราย เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อ แบคทีเรีย เช่น มีน้ำมูกหรือเสลด สีเหลืองหรือเขียว ,ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น ยาปฏิชีวนะ ที่มีให้เลือกใช้ ได้แก่ เพนวี แอมพิซิลลิน หรือ อีโรโทรมัยซิน
4. ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ โดยเฉพาะถ้าพบในคนสูงอายุ หรือเด็กเล็ก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าพบว่าปอดอักเสบ ควรให้ยา ปฏิชีวนะชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ
ข้อแนะนำ
1. โรคนี้ถือว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง
2. อาการไข้สูง ปวดเมื่อย และไม่มีอาการอื่น ๆ ชัดเจน อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ในระยะเริ่มแรก ก็ได้ เช่น ไข้รากสาดน้อย ตับอักเสบ จากไวรัส ไข้เลือดออก หัด เป็นต้น จึงควรสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการอื่น ๆ ปรากฎให้เห็นก็ควรให้การรักษา ตามโรคที่สงสัย
ถ้าหากมีอาการไข้นานเกิน 7 วัน มักจะไม่ใช่ไข้หวัดแต่อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น เช่น ไข้รากสาดน้อย มาลาเรีย เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ มักจะมีไข้ไม่เกิน 7 วัน
3. ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายกันมาก แต่ไข้หวัดใหญ๋มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ จะแยกกันไม่ออก แต่ก็ให้การดูแลรักษาเหมือน ๆ กัน
4. การป้องกัน ให้ยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับไข้หวัด ส่วนวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มักจะฉีดในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ซึ่งจะป้องกัน ได้นานประมาณ 12 เดือน ถ้ามีการระบาดในปีต่อ ๆ ไป ก็ต้องฉีดใหม่อีก โดยทั่วไป ถ้าไม่มีการระบาด จะไม่ฉีดวัคซีนให้แก่คนทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ มีอยู่หลายพันธุ์ เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าในการระบาดครั้งต่อไป จะเกิดจากเชื้อชนิดใด
แหล่งที่มา : chromozomewan.blogspot.com