ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์ เข็มขัดนิรภัยรถยนต์สำหรับเด็ก เรื่องน่ารู้ สำหรับครอบครัว


736 ผู้ชม


ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์ เข็มขัดนิรภัยรถยนต์สำหรับเด็ก เรื่องน่ารู้ สำหรับครอบครัว
ที่นั่งนิรภัย
ที่นั่งนิรภัย (car seat) หรือ ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก (child seat) เป็น นวัตกรรมที่ส่งผลลดการเสียชีวิตของเด็กจากการเดินทางด้วยรถยนต์อย่างมาก ในประเทศพัฒนา ไม่ว่าประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และในยุโรปตะวันตก ได้มีกฎหมายบังคับและคำแนะนำการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กมานานหลายปีแล้ว ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง รวมทั้งการให้คำแนะนำและแนวทางการลดการบาดเจ็บโดยใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับ เด็กตั้งแต่ปี ค.ศ. 1983 มีการศึกษาที่พบว่า ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กจะลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในทารกถึงร้อยละ 69 และเด็กอายุ 1-4 ปี ร้อยละ 47 ขณะเดียวกันจะลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของเด็กอายุมากกว่า 5 ปีได้ร้อยละ 45 และลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงร้อยละ 50
   การศึกษาผลจากอุบัติเหตุรถยนต์ชนรุนแรงในเด็กอายุ น้อยกว่า 11 ปี จำนวนถึง 5,972 คน พบว่าเด็กที่ไม่ได้รับการยึดเหนี่ยวไว้จากที่นั่งนิรภัยหรือเข็มขัดนิรภัย อย่างถูกวิธีจะเสียชีวิตในอุบัติเหตุที่รุนแรงเป็น 2 เท่าของเด็กที่ถูกยึดเหนี่ยวไว้อย่างถูกวิธี
   มีการศึกษาที่ประเทศกรีกในเด็กอายุ 0-4 ปีที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์ และถูกนำส่งห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล พบว่าความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บของเด็กที่ไม่ได้ใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก เท่ากับ 3.3 เท่า เทียบกับเด็กที่อยู่ในที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กจากการวิเคราะห์ของผู้วิจัย ประมาณว่า 2 ใน3 ของการบาดเจ็บในเด็กจะถูกป้องกันได้ ถ้ามีการบังคับใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กในรถอย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการ ลดการบาดเจ็บก็ขึ้นกับวิธีการใช้ที่ถูกต้องด้วย หากใช้ผิดวิธีจะเกิดผลเสียได้
ข้อแนะนำการใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก
1. เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีหรึอน้ำหนักน้อยกว่า 10 กิโลกรัม ต้องใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับทารก (infant seat) (รูปที่ 1) หรือ ที่นั่งนิรภัยทารกและเด็กเล็ก (convertibleseat) (รูปที่ 2) ที่สามารถใช้กับเด็กอายุ 1-5 ปีได้ด้วย แต่ต้องใช้บนที่นั่งด้านหลังและหันหน้าไปทางด้านหลัง

ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์ เข็มขัดนิรภัยรถยนต์สำหรับเด็ก เรื่องน่ารู้ สำหรับครอบครัว ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์ เข็มขัดนิรภัยรถยนต์สำหรับเด็ก เรื่องน่ารู้ สำหรับครอบครัว  ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์ เข็มขัดนิรภัยรถยนต์สำหรับเด็ก เรื่องน่ารู้ สำหรับครอบครัว

รูปที่ 1 ที่นั่งนิรภัยสำหรับทารก infant seat
2. เด็กอายุ 1-5 ปี หรึอน้ำหนัก10-18 กิโลกรัม ใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก (convertible seat) (รูปที่ 2)โดยให้นั่งเบาะหลังและหันหน้าไปทางด้านหน้าตามปกติ

ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์ เข็มขัดนิรภัยรถยนต์สำหรับเด็ก เรื่องน่ารู้ สำหรับครอบครัว  ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์ เข็มขัดนิรภัยรถยนต์สำหรับเด็ก เรื่องน่ารู้ สำหรับครอบครัว  ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์ เข็มขัดนิรภัยรถยนต์สำหรับเด็ก เรื่องน่ารู้ สำหรับครอบครัว  ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์ เข็มขัดนิรภัยรถยนต์สำหรับเด็ก เรื่องน่ารู้ สำหรับครอบครัว

รูปที่ 2 ที่นั่งนิรภัยทารกและเด็กเล็ก convertible seat
3. เด็กอายุ 5-10 ปีหรึอน้ำหนัก 18-28 กิโลกรัม ควรใช้ที่นั่งนิรภัยเสริม (booster seat) เพื่อยกตัวให้สูงพอที่จะใช้เข็มขัดนิรภัยได้(รูปที่ 3)

ที่นั่งนิรภัยในรถยนต์ เข็มขัดนิรภัยรถยนต์สำหรับเด็ก เรื่องน่ารู้ สำหรับครอบครัว

รูปที่ 3 ที่นั่งนิรภัยเสริม booster seat
4. เด็กอายุมากกว่า 10 ปี หรือน้ำหนักมากกว่า 28 กิโลกรัม สามารถใช้เข็มขัดนิรภัยปกติที่มีในรถยนต์ได้
การติดตั้งที่นั่งนิรภัยทารก
..ต้องติดตั้งโดยหันหน้าไปด้านหลังรถเท่านั้น
ที่นั่งนิรภัยนี้มีหลายแบบ ต้องใช้ให้เหมาะสมกับอายุและขนาดของเด็ก เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปีหรือน้ำหนักน้อยกว่า 10 กิโลกรัม ต้องใช้ที่นั่งนิรภัยทารก (infant seat) หรือ ที่นั่งนิรภัยทารกและเด็กเล็ก (convertible seat) ที่ใช้กับเด็กอายุ 1-5 ปีได้ด้วย แต่ต้องใช้บนที่นั่งด้านหลังและหันหน้าไปทางด้านหลังเท่านั้น การนั่งหันหน้าไปทางด้านหลังรถนี้จะช่วยลดการบาดเจ็บจากการหยุดกระทันหันและชนสิ่งกีดขวางด้านหน้า กลไกการชนดังกล่าวจะทำให้ศีรษะเด็กทารกที่มีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับลำตัว สะบัดไปทางด้านหน้าเท่ากับความเร็วของรถในขณะรถหยุด และสะบัดไปทางด้านหลังเมื่อรถมีการชนกระแทก การสะบัดนี้จะทำให้เกิดการหักของกระดูกต้นคอและกดทับไขสันหลังได้ #
ห้ามใช้ที่นั่งนิรภัยในเบาะหน้าร่วมกับถุงลมนิรภัย
การใช้ถุงลมนิรภัยอาจก่ออันตรายแก่เด็กที่นั่งด้านหน้าข้างคนขับ มีรายงานของศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา (Center for Disease Control) ถึงการเสียชีวิตของเด็กอายุ 3 สัปดาห์ - 9ปีที่เกิดจากถุงลมนิรภัยจำนวน 26 รายในเวลา 4 ปี ดังนั้นเด็กที่อายุน้อยกว่า 10ปีจึงไม่ควรให้นั่งด้านหน้าข้างคนขับและทารกที่ใช้ที่นั่งนิรภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีถุงลมนิรภัย
    ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาอุบัติเหตุรถยนต์ที่มีเด็กอายุน้อยกว่า 11 ปีอย่างน้อย 1 คนในรถและเป็นอุบัติเหตุที่มีความรุนแรงอย่างน้อยมีผู้บาดเจ็บ 1 คนถูกนำส่งโรงพยาบาล พบว่า 13 ใน 120 รายมีเด็กนั่งอยู่ด้านหน้าข้างคนขับ และพบว่าเด็ก 9 ใน 13 รายนี้ได้รับบาดเจ็บรุนแรง และ5 ใน 9 รายนี้ เป็นอุบัติเหตุที่มีความเร็วต่ำ (delta V <20mph) และการบาดเจ็บน่าจะเกิดจากมีถุงลม 3 ใน 5รายนี้เสียชีวิต อีก 2 รายบาดเจ็บรุนแรง
นั่งเบาะหลังมีปลอดภัย ลดความเสี่ยง 5 เท่า

    มีการศึกษาที่ประเทศกรีกในเด็ก 129 ราย อายุ 0-11 ปีที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถยนต์ และถูกนำส่งห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล พบว่าความเสี่ยงต่อการได้รับบาดเจ็บของเด็กที่นั่งด้านหน้าและไม่ได้ใช้ที่ นั่งนิรภัยเด็กเท่ากับ 5 เท่า เมื่อเทียบกับเด็กที่นั่งด้านหลังและไม่ได้ใช้ที่นั่งนิรภัยเด็ก การศึกษาฐานข้อมูล FARS ในปี ค.ศ. 1988-95 เปรียบเทียบความเสี่ยงของเด็กอายุน้อยกว่า12 ปีที่นั่งด้านหน้าและด้านหลัง พบว่าผู้นั่งด้านหลังมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตลดลงร้อยละ 35 ในรถที่ไม่มีถุงลมนิรภัย และลดลงร้อยละ 46 ในรถที่มีถุงลมนิรภัยสำหรับสำหรับผู้นั่งข้างคนขับ หากยังไม่มีที่นั่งนิรภัย เด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี ทุกรายต้องนั่งด้านหลังเท่านั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงลง ประมาณ 5 เท่า
อ้างอิงจาก ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

แหล่งที่มา : csip.org

อัพเดทล่าสุด