วิธีเรียนเก่ง เคล็ดลับเรียนเก่ง ทําอย่างไรให้เรียนเก่ง เทคนิคการเรียนเก่งของเด็กประถมศึกษา


1,069 ผู้ชม


วิธีเรียนเก่ง เคล็ดลับเรียนเก่ง ทําอย่างไรให้เรียนเก่ง เทคนิคการเรียนเก่งของเด็กประถมศึกษา
เคล็ดไม่ลับคนเก่งเรียน
หลังจากที่ได้ไปสอนฟิสิกส์ที่นครศรีธรรมราชอยู่ ห้าวัน เมื่อไปถึง เด็กๆพูดเป็นเสียงเดียวกัน ว่าฟิสิกส์ยากกก ก็จึงถือโอกาสนี้ถามน้องๆว่า ยากยังไง เด็กๆก็บอกว่า เรียนแล้วไม่เข้าใจ ทำข้อสอบไม่ได้ อ่านหนังสือแล้วก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดี สังเกตได้ว่าารเรียนของน้องๆ นั้น ยังเน้น อยู่ที่การท่องจำสูตรอยู่นั่นเองปัญหานี้ไม่เกิดขึ้นเฉพาะที่นครศรีธรรมราชม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ไหนก็ตามที่ผู้เขียนมีโอกาสได้ไปสอน ก็จะได้รับคำตอบที่ไม่ต่างจากนี้เลย เมื่อเป็นแบบนี้ ก็ลองมานั่งคิดดูว่าแล้วสาเหตุที่แท้จริงนั้นเกิดจากอะไรได้บ้าง การที่ผู้เรียนมี เจตคติไม่ดี ต่อวิชาฟิสิกส์ อาจเป็นไปได้ว่า เพราะ การที่ต้องเป็นผู้รับข้อมูลแต่ฝ่ายเดียว การที่ ครูจะเป็น ผู้ป้อนความรู้ต่างๆให้แก่เด็ก ทำให้เด็กไม่มีส่วนร่วม พอเป็นแบบนี้แล้ว ไม่เฉพาะแต่วิชา ฟิสิกส์ หรอกนะคะ เรียนยั้งไง้ เด็กก็ต้องว่า น่าเบื่ออออ การเรียนฟิสิกส์นั้น เพื่อให้เด็ก เกิดความเข้าใจไม่ว่าจะโดยการทดลอง เมื่อเรียนแล้วต้องมีการปฎิบัติจริง แต่ส่วนใหญ่ ที่ได้ พบมาก็คือ เรียนโดยขาดการปฎิบัติการทดลองรือการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน แถมครูยังเน้นที่การสอบเป็นหลักซะด้วย เป็นเป็นฉะนี้ นักเรียนทั้งหลายก็คงจะนั่งนอน อมทุกข์ อมโศก เรียนยังไงก็ไร้ความสุข เกิดความเครียด แถมพาลเบื่อหน่ายการเรียน ซะอีก ผลสุดท้าย แทนที่จะได้ เกรดสี่ ก็ มีตั้งแต่ ไข่ต้ม ไม้เสียบ 
เอาล่ะค่ะไหนๆ ก็ไหนๆ ขอถือโอกาสนี้ ยกข้อความในหนังสือสรุปผลโครงการ เกี่ยวกับ วิธีการเรียนการสอนวิชาฟิสิกส์ ว่าสอนอะไรไปบ้าง มาลงก่อนนะคะ
ชุมนุมการทดลอง
จุดประสงค์
เพื่อพัฒนาทักษะในการนำความรู้ที่มีนั้นมาประยุกต์ใช้อธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจำวัน การเรียนการสอน 
การเรียนการสอน
การทดลองที่นำมาใช้ในกิจกรรมชมรมนั้นเป็นการทดลองง่ายๆ ที่สามารถใช้อุปกรณ์ ในตู้ของห้องครัว ไม่ว่าจะเป็นขวดแก้ว กระป๋องจากปลากระป๋อง แก้วพลาสติก ลูกปิงปอง เส้นด้าย ฯลฯ ขณะเดียวกันก็เน้นให้ นักเรียนรู้จักที่จะนำอุปกรณ์ต่างๆ รอบตัวมาใช้ทดลอง ในเรื่องต่างๆ อุปกรณ์ง่ายๆ เหล่านี้เองที่สามารถนำมา ทดลองเพื่อช่วยให้เข้าใจวิทยาศาสตร์ ได้โดยง่าย ไม่ว่านักเรียนระดับ ม.ต้น หรือ ม.ปลาย ก็สามารถเข้าร่วม ชมรมได้ การเรียน เริ่มต้นด้วยการนำคำถามง่ายๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน มาให้นักเรียนได้ขบคิด และช่วย กันหาเหตุผล เช่น ทำไมเวลารถเลี้ยวซ้ายตัวต้องเอียงขวา มีการแบ่งนักเรียน ออกเป็น กลุ่มๆ จากนั้นภายในกลุ่มจะมีการปรึกษา เพื่อค้นหาคำตอบ และส่งตัวแทนออกมาให้คำตอบ เมื่อทุกกลุ่มแสดงความคิดเห็นแล้ว ก็จะให้นักเรียน ลงความเห็นว่าความคิดเห็น ของกลุ่มใด มีความเป็นไปได้สูง จากนั้นจึงนำนักเรียนเข้าสู่การทดลองโดยที่ไม่อธิบายทฤษฎีอ้างอิง โดย การนำกระป๋องพลาสติกใส ลูกปิงปองและติดเส้นด้ายที่ผิว จากนั้นนำปลายอีกข้างหนึ่ง ไปติด ที่ก้นกระป๋อง จากนั้นให้นักเรียน ทำการเคลื่อนกระป๋อง ไปในทิศทางต่างๆกัน และดูว่า ทิศทางการเคลื่อนที่ของลูกปิงปองนั้นไปทางไหน เมื่อได้ผลการทดลอง ก็ให้นักเรียนนำเสนอ ผลที่ได้ จากนั้น เติมน้ำไปใน กระป๋อง และให้นักเรียนทำการทดลองซ้ำอีกครั้งว่า เมื่อเคลื่อน กระป๋องลูกปิงปอง เคลื่อนที่ไปทิศทางใด จากนั้น ก็ให้นักเรียน เปรียบเทียบผลการทดลอง และอธิบายว่ากรณีใดที่เหมือนกับกรณีที่รถเลี้ยวซ้ายแล้วตัวเอียงขวา เมื่อแต่ละกลุ่มออกมา อภิปรายผลการทดลองแล้ว ก็จะนำนักเรียนเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ คือ คิดว่า กลุ่มใด อภิปรายได้สมเหตุสมผลมากที่สุด นักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ม.ต้น ซึ่งยังไม่เคยเรียน ทฤษฎีของนิวตัน มาก่อน แต่ให้ความคิดเห็นได้เหมือนกับ ที่นิวตันได้กล่าวเอาไว้ ในเรื่อง ความเฉื่อย ขั้นตอนสุดท้ายคือนำทฤษฎีที่มีผู้คิดไว้แล้ว มาสอน และอธิบายว่าทำไมเหตุการณ์ ดังกล่าวจึงเกิดขึ้น 
ประเมินผล 
นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนเป็นอย่างมาก่างพยายามคิดและแสดง ความคิดเห็น นักเรียนจำนวนมากยังไม่เคยเรียนทฤษฎีที่ใช้อธิบายเหตุการณ์ต่างๆที่นำมาสอนแต่ก็สามารถ จะอธิบายออกมาได้ใกล้เคียงกับ ที่เจ้าของทฤษฎีได้กล่าวไว้ ทำให้นักเรียนเกิดความภูมิใจ ที่ตนเองสามารถคิดได้เหมือนกับนักวิทยาศาสตร์ชื่อดัง และเพิ่มความสนใจ ให้กับการทำ การทดลองมากขึ้น และทำให้เราเชื่อได้ว่าการเรียนรู้โดยให้นักเรียนเป็นผู้คิด และลงมือทำ ด้วยตนเอง จะยังประโยชน์ให้นักเรียนมากกว่าการสอนแบบป้อนข้อมูล โดยนักเรียน เป็นผู้รับ ฝ่ายเดียว 
การสอนเสริมวิชาฟิสิกส์กับความเข้าใจ
จุดประสงค์
เพื่อให้นักเรียนเรียนฟิสิกส์โดยความเข้าใจมากกว่าการท่องจำสูตร และสามารถนำ ทฤษฎีบทที่เรียนมา อธิบายเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ 
การเรียนการสอน 
อธิบายถึงฟิสิกส์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันารตั้งคำถามี่ทำให้นักเรียนเกิดวามกระตือรือร้น ในการค้นหา คำตอบ เช่น การเรียนกลศาสตร์ จะมีการอธิบายถึงการทำงานของจักรยาน เพราะเหตุใดเมื่อเราปั่นจักรยาน มันจึงตั้งตรง แต่เมื่อใดก็ตามที่เราหยุดรถจะล้ม อุบัติเหตุ ทางรถยนต์เกิดขึ้นเพราะเหตุใดมีองค์ประกอบใดบ้าง นำตัวอย่างมาประกอบการเรียน การสอนในทุกบทเรียน เมื่อเรียนเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้าก็มีการนำคำถามเช่น ทำไมหม้อหุงข้าว ที่ใช้กันทุกวันถึงดีด และมันรู้ได้อย่างไรว่าควรจะดีดปุ่มขึ้น และขณะเดียวกันก็มีการนำเรื่อง ที่นอกเหนือจากบทเรียน มาให้นักเรียนได้คิดเกี่ยวกับ ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอสไตน์ เช่น โดเรมอน เดินทางข้ามเวลาได้จริงหรือ แล้วเครืองย้อนเวลานั้นมีอยู่จริงหรือไม่ และเรื่องของ Twin Paradox เช่นว่า ถ้าหากว่ามีฝาแฝด คู่หนึ่ง คนนึงเดินทางออกไปนอกจักรวาล เมื่อ กลับมาพบว่าู่แฝดของตัวเองนั้นแก่ขึ้นมากกว่าลายสิบปี และนำนักเรียนเข้าสู่ กระบวนการคิด อย่างเป็นระบบ โดยให้ใช้หลักทางฟิสิกส์อธิบายเหตุการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นและนำคำถาม เอนทรานซ์ และ A-level มาให้นักเรียนคิดและทำด้วยกัน โดยการทำจะมีการอภิปราย และอธิบายผลหลังจากการทำโจทย์ แต่ละครั้ง เพื่อจะดูว่านักเรียนคิดว่าคำตอบ ควรจะเป็น อย่างไร และใช้หลักหรือกฎทางฟิสิกส์ของใครมาสนับสนุน การตัดสินใจดังกล่าว
ประเมินผล 
นักเรียนจำนวนมากยังเกิดความกลัวและวิตกกังวลในวิชาฟิสิกส์ด้วย เกิดทัศนคติที่ว่าวิชา ฟิสิกส์ นั้นเป็นวิชาที่ยากต่อการเข้าใจหรือยากต่อการจำ หากแต่ว่ามีความกระตือรือร้น ในการเรียนรู้ให้ความสนใจในสิ่งที่ตัวเองได้ รับฟัง ทำให้บรรยากาศในการเรียน เป็นไปอย่าง สนุกสนาน เมื่อมีการตั้งคำถามก็มีการคิดตามในทันทีและ เนื่องจากได้คิดด้วยตัวเอง ทำให้ เกิดความคิดที่แปลกใหม่ เมื่อถึงช่วงการอภิปรายนั้นนักเรียนได้แสดงความคิดเห็นกันโดย พยายามจะใช้ทฤษฎีนั้นทฤษฎีนี้เข้ามาช่วยบางคนก็มีทฤษฎีของตัวเองขึ้นมาซึ่งก็น่าแปลกใจ ถึงเพราะเมื่อลองคิดตามดูแล้วก็หาข้อหักล้างยังไม่ได้ทำให้บทเรียนน่าสนใจมากขึ้นเพราะว่า เกิดการเรียนรู้ทั้ง นักเรียนและผู้สอน 
อาจจะเป็นเพราะด้วยวัยที่ไม่ต่างกันมากนัก(เอิ้กๆๆ ) ทำให้น้องๆ เกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชา ฟิสิกส์ ขึ้นมาได้ 
ตอนนี้มาถึงตอนสำคัญค่ะ แล้วทำอย่างไร น้องๆ ถึงจะมีความสุขในการเรียนได้ล่ะคะ ถ้าเจอวิชาที่ไม่ชอบเจอวิชาที่เกลียด โดดเรียนซะดีมั้ย ไม่ดีแน่ๆจ้ะเพราะมันไม่ได้ช่วยอะไร เรามาดูกันดีกว่าว่า เข้าห้องเรียนให้อะไร แก่เราบ้าง


ความพร้อมเป็นปัจจัยที่สามารถช่วยให้เราทำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นและสำหรับการเข้าห้องเรียน เราควรเตรียมความพร้อมในสองด้านต่อไปนี้ 
1. รู้จักผู้สอน 
2. อ่านหนังสือล่วงหน้า
รู้จักผู้สอน
คำว่ารู้จักผู้สอนในที่นี้หมายถึงรู้นิสัยใจคอ สไตล์การสอน ของคุณครูประจำแต่ละวิชา เพื่อที่ เราจะได้ปรับวิธีการฟัง การตอบ การถาม หรือแม้แต่การจดโน้ตได้อย่างเหมาะสม เพราะ คุณครูทุกคน ล้วนมีลักษณะเฉพาะของตนเองเช่น
ตอบคำถามของนักเรียนทันทีที่ได้รับคำถามและยินดีให้ถามได้ทุกเมื่อ 
ชอบให้ถามในท้ายชั่วโมงเรียนเท่านั้น 
ต้องการให้กิจกรรมทุกอย่างภายในห้องเรียนเป็นไปตามแผนการสอนของตน แบบ เป๊ะๆ เวลาที่ นักเรียนต้องทำสิ่งนี้ หมดเวลาแล้วก็ต้องหยุด เลิก ไม่มีการยืดหยุ่น 
ชอบให้นักเรียนจัดกลุ่มอภิปรายในห้อง ถ้าเจอผู้สอนแบบนี้อาจต้องพยายามทำตัวเป็น คนช่างคิด รู้จักนำเอาประเด็นความรู้สำคัญๆ ที่ได้เรียนมาใช้กับเรื่องที่ไม่มีในตำรา 
ชอบนำเอาข้อมูล ตัวอย่าง ที่ให้แนวคิดนอกเหนือจากในตำรามาบรรยาย ซึ่งการจะเข้าเรียน กับผู้สอนแบบนี้ให้ได้ผลดี เราก็ต้องเปิดหูเปิดตาตัวเอง ติดตามเหตุการณ์ข่าวสารต่างๆ เสมอ 
การสังเกตเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้เราวิเคราะห์ลักษณะนิสัย สไตล์การสอนของอาจารย์ ทั้งหลายได้ และ บางครั้งการถามคนที่เคยเรียนกับอาจารย์คนนี้ คนนั้นมาก่อน ก็สามารถช่วย ให้เรารู้จักผู้สอนได้ในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้เราต้องนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาเปรียบเทียบ กับสิ่ง ที่เราสังเกตเห็นด้วย เพราะถ้าเชื่อตามคำบอกเล่าหมด เราอาจเกิดทัศนคติที่ไม่ดี กับผู้สอน และพลอยทำให้ไม่ชอบวิชานั้นๆ ไปเลย
อ่านหนังสือล่วงหน้า
โดยปกติแล้วทุกวิชาจะมีตำราเรียน 1 เล่ม ตามที่หลักสูตรกำหนด นอกเหนือจากตำราก็อาจมี สมุดแบบฝึกหัด หนังสืออ่านประกอบ และถึงแม้จะมีบ่อยครั้งที่ผู้สอนไม่ได้สอนตามหนังสือ แต่ กระนั้นตำราก็ยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญของวิชาที่เราต้องอ่าน และควรอ่านล่วงหน้า แม้จะรู้ว่า อาจารย์จะไม่สอนตามที่เราอ่านมา เพราะว่า 
:o เพื่อให้ง่ายต่อการจดโน้ต เพราะเราจะรู้ว่า การสอนไหนของคุณครูที่มีอยู่ในตำราแล้ว ซึ่งเรา สามารถกลับไปขีดเส้นใต้หรือทำเครื่องหมายดอกจันได้ภายหลัง และมีการสอนที่นอกตำรา ที่เราควรจะจด 
:o เพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับตอบคำถามของคุณครูที่อาจมาแบบไม่รู้ตัว 
o เพื่อเตรียมคำถามในส่วนที่เราอ่าน (แบบผ่านๆ ) แล้วไม่เข้าใจเอาไว้ถามเมื่อจบการเรียน การสอน แล้ว และยังมีเนื้อหาบางส่วนที่คุณครูไม่ได้บรรยายให้เข้าใจ และยังเป็นปัญหา สำหรับเรา


ถ้ามีนักเรียนสองคนเข้าเรียนวิชาเดียวกัน คนหนึ่งจดตามคำพูดคุณครูชนิดที่ไม่ให้ ตกหล่น ซักคำ แต่ไม่ได้สนใจฟังเนื้อหาของคำบรรยายเลย อีกคนหนึ่งตั้งใจฟังเต็มที่ แต่ไม่จดอะไรเลย เชื่อแน่ว่าเมื่อถึงตอนสอบ คนที่สองจะทำได้ดีกว่าคนแรก แต่เขาจะทำได้ดียิ่งขึ้นหารู้จัก วิธีการจดโน้ตอย่างมีประสิทธิภาพด้วย


วิธีการฟังในห้องเรียน

1. สังเกตฟังคำบอกใบ้ 
ผู้สอนส่วนใหญ๋จะมีคำพูดที่ติดปากบางคำที่บอกให้เรารู้ว่า สิ่งที่ท่าน พูดหรือพูดไปแล้วมีความสำคัญ เช่น


    • พูดข้อความหรือประเด็นนั้นซ้ำหรือไม่ก็บอกว่าสิ่งที่พูดไปอยู่ในตำราหน้าไหน หัวข้ออะไร

    • พูดช้าลงกว่าปกติ

    • พูดเสียงดังกว่าปกติ

    • บอกตรงๆเลยว่าสิ่งที่พูดนั้นสำคัญ เช่น " ที่น่าสนใจก็คือ ..." "ครูคิดว่านี่เป็นประเด็นสำคัญของ.."

นอกจากคำบอกใบ้จะทำให้เรารู้ว่าตรงไหนสำคัญควรจดโน้ตแล้วมันยังสามารถบอกให้เรารู้ ด้วยว่าควรลำดับข้อมูลที่จดอย่างไรด้วย เช่น


    • จดเป็นขั้นตอน มีการใส่ตัวเลข คำพูดที่บอกในลักษณะนี้คือ "อันดับแรก " "สิ่งที่สำคัญที่ สุดคือ " " สาเหตะประการสำคญต่อไปได้แก่ "

    • จดแบบเชื่อมโยงความสัมพันธ์ " เพราะฉะนั้น " "ผลที่ตามมาคือ " "ในทางตรงกันข้าม"

2. สังเกตภาษากาย 
ท่าทางขณะสอนของคุณครู สามารถบอกเราได้หลายอย่างเช่น


    • ถ้าผู้สอนเริ่มมองออกไปนอกหน้าต่าง แสดงว่าท่านกำลังบอกเป็นนัยๆ ให้เรา "วางปากกาลงได้ เรื่องนี้ไม่มีในข้อสอบหรอก" ( เอิ้กๆๆ ขอให้จริงเถอะ เพี้ยง)

    • ถ้าผู้พูดยืนตัวตรงหันมาสบตากับนักเรียนทั่วห้อง แสดงว่าท่านเห็นว่าเรื่องที่ กำลัง พูดเป็นเรื่องสำคัญ

3.ถามเพื่อความเข้าใจยิ่งขึ้น 
ด้วยการถามตัวเองเป็นอันดับแรกเลยว่า " เราเข้าใจ ทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณครุสอนมาตั้งแต่ต้นหรือไม่ " ถ้าคำตอบคือ ไม่ เราก็ต้องถามตัวเองว่า ไม่เข้าใจตรงไหน แล้วถามผู้สอนเกี่ยวกับประเด็นนั้นในเวลาทีเหมาะสม หรือไม่ก็จดคำถาม ไว้ก่อน รอให้คุณครูสอนเสร็จแล้วค่อยถาม เพราะบางที การสอนของคุณครูที่ตามมา อาจจะ ตอบคำถามของเราในตอนต้นได้ คำถามเกี่ยวกับเนื้อหาจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราคิดตาม ไปด้วย คิดเชื่อมโยงสิ่งที่เพิ่งได้ยินกับความรู้ ข้อมูลที่เรามีอยู่ คิดหาเหตุและผล




นอกจากเตรียมตัวและฟังแล้ว สิ่งอื่นที่ควรทำคือ
  • เข้าห้องเรียนก่อนเวลาเล็กน้อย จะได้มีเวลาหยิบตำรา ข้าวของประกอบการเรียน ออกมาวาง ให้เรียบร้อย

  • นั่งแถวหน้า ให้ใกล้ชิดกับผู้สอนเข้าไว้ สิ่งนี้จะบังคับให้เราตื่นตัว จดจ่อกับการสอน ตลอดเวลา แอบคุยจุกจิก หรือ เผลอหลับได้ยาก นอกจากนี้เป็นการสร้างความประทับใจ ให้กับผู้สอน ให้หลีก เลี่ยงที่นั่งบริเวณริมหน้าต่าง เพราะมันมีทัศนียภาพ และสิ่งรบกวนมากมายที่ทำให้เราเสีย สมาธิ ได้ง่ายๆ

  • นั่งตัวตรง หลีกเลี่ยงการนั่งเอามือเท้าคาง เพราะเราพร้อมที่จะจะหลับหรือคิดถึงเรื่องอื่นได้ทุกเมือ ในท่านี้

  • ทิ้งปัญหาและเรื่องรบกวนใจต่างๆ ไว้นอกห้อง จงตระหนักไว้เสมอว่าเวลาอยู่ในห้องเรียน เราไม่มี ทางจัดการกับปัญหาส่วนตัวเหล่านั้นได้ รอให้หมดชั่วโมงก่อนค่อยเก็บมาคิดก็ยังทัน

  • ตอบคำถามผู้สอนหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่กำลังเรียนกับผู้สอนเป็น ระยะๆ การได้พูดหรือ ขยับตัวเล็กน้อยจะช่วยขับไล่ ความเฉื่อยชา สลึมสลือ ไปได้

  • ให้ความร่วมมือกับผู้สอนและเพื่อนๆในกิจกรรมการเรียนการสอน

  • แสดงออกถึงความตั้งใจฟังด้วยการสบตาผู้สอน พยักหน้ารับเพราะมันสามารถส่งผลถึง คะแนน ของเราได้ ( เอิ้กๆ จริงๆ น้าาาา ) ถ้านักเรียนคนไหนกระตือรือร้นตั้งใจเรียน ท่านก็พอใจ ยินดี ให้ความช่วยเหลือ แต่ถ้าคนไหนซึมกระทือใจลอย ไม่สนใจว่าท่านพูดอะไร ท่านก็คงไม่ค่อยชอบ ใจซักเท่าไหร่

  • ใช้เวลา 2-3 นาที ก่อนออก จากห้องเรียนย้ำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งที่เพิ่งเรียนมา ด้วยการ คิด ทบทวน หรือดู โน๊ตแบบผ่านๆ เพราะถ้าไม่ทำเช่นนี้ ทันทีที่ออกไปเจอสิ่งเร้าต่างๆ ภายนอก เรา ก็จะลืมความรู้ใหม่นั้นง่ายๆ


สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะมันทำให้เราใช้ประโยชน์จากห้องเรียนไม่เต็มที่
กินอาหารมากเกินไป หรือ อดอาหารก่อนเข้าเรียน การกินมากเกินไปจะทำให้เราง่วงนอน เข้าทำนอง หนังท้องตึง หนังตาหย่อน แต่การเข้าเรียนทั้งๆ ที่ท้องว่างก็ทำให้เราเพลีย ไม่มี แรง สมองไม่แล่น หูอื้อ ตาลาย คิดอะไรไม่ออกได้เหมือนกัน 
นั่งคุยในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาวิชานั้นๆกับเพื่อน ถ้าเพื่อนชวนคุยก็บอกไปเล้ยยย เอาไว้ คุยกัน ทีหลัง 
หลบไปนั่งตามมุมมืดของห้อง นั่งก้มหน้าตลอดเวลา ไม่ยอมสบตาผู้สอนเหมือนผีกระสือ การกระทำแบบนี้เหมือนบอกผู้สอนเป็นนัยๆ ว่า " เราไม่ต้องการเกรดดีๆ ในวิชานี้ " 
เอางานวิชาอื่นมาทำในขณะที่เรียนอีกวิชาหนึ่ง

หน้าที่ 6 - ปัญหาในห้องเรียน

เจ้าของงานเขียน แก้ไขหน้านี้ ได้ที่นี่ 


ปัญหาทั่วไปในห้องเรียน ที่นักเรียนคนไหนๆก็เจอได้มีดังนี้
ปัญหาเกี่ยวกับผู้สอน
ทั้งที่เกิดจากตัวผู้สอนเองและที่เกิดจากอคติของเราซึ่งหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหา คือ เราต้องมองให้ออกว่าอะไรเป็นปัญหากันแน่แล้วค่อยจัดการกับปัญหานั้น ยกตัวอย่างเช่น เราไม่ชอบหน้า หมั่นไส้ ผู้สอนคนหนึ่งมาก จนไม่สามารถจดจ่อกับเนื้อหาสาระ ในการสอน ได้ เพราะในใจคอยแต่จะคิดโต้แย้งคำของคุณครู ซึ่งเราก็ต้องหาสาเหตุว่า ที่ไม่ชอบ เพราะ อะไร ถ้าพบว่าเป็นเพราะผู้สอนนั้นมีท่าทางลักษณะการพูดบางอย่างที่ขัดหูขัดตาเรา เช่น ชอบพูดภาษาไทยคำอังกฤษคำ ชอบใช้ศัพท์เทคนิคยากๆ คำหรูๆ หรือ ชอบพูดจากแบบน้ำ ท่วมทุ่ง เราก็ต้องยอมรับว่านี่เป็นธรรมชาติของคนที่ย่อมมีหลากหลาย จะให้ผู้สอนทุกคนมี ลักษณะแลลที่เราชอบทั้งหมด คงเป็นไปไม่ได้ และพยายามมองในแง่บวกว่า การที่ผุ้สอน พูด ไทยคำอังกฤษคำนั้น อาจเพราะจบจากต่างประเทศไม่ใช่ต้องการอวดความรู้ หรือไม่ก็ ต้อง การให้พวกเราสงสัยและไปค้นคว้าเพิ่มเติม
ถ้าเราไม่สามารถแก้ไขความรู้สึกที่ไม่ดีต่อผู้สอนท่านนั้นได้จริงๆ และเรายังสามารถถอน วิชา หรือย้ายไปเรียนกับอาจารย์ท่านอื่นได้ ก็จงทำซะ เพราะมันจะเป็นผลดีกว่าการนั่งเรียน ด้วยความรู้สึกแบบนั้น 
ปัญหาเรื่องความอคติเกี่ยวกับผู้สอนนี้เป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะอคติที่เกิดจากคำบอกเล่า ของรุ่นพี่หรือเพื่อนๆ จงอย่าด่วนตัดสินผู้สอนคนไหนก่อนจะได้รู้จักตัวจริงของท่าน จงให้โอกาส ตัวเองและผู้สอนท่านนั้น ได้พิสูจน์ความจริงซักระยะหนึ่ง อย่างน้อยก็ภายใน ช่วงเวลาที่เรายังสามารถถอนหรือย้ายวิชาเรียนได้
ตัววิชาน่าเบื่อมาก
นีเป็นเรื่องปกตินะคะ ที่เราสามารถลดความน่าเบื่อนั้นและทำให้ตัวเองเกิดความตั้งใจเรียน ได้ด้วยวิธีต่างๆ ข้างต้น คือ มีการเตรียมตัว รู้จักฟัง และทำในสิ่งที่ควร ไม่ควร
ชั่วโมงเรียนไม่เหมาะสม
ช่วงเวลาหลังอาหารกลางวัน ตั้งแต่บ่ายโมง ถึง บ่ายสองนั้น จัดว่าเป็นเวลาที่เราต้องใช้ ความ ตั้งใจในการเรียนมากเป็นพิเศษ ยิ่งถ้าเอาวิชาที่น่าเบื่อมาไว้ในช่วงนี้ ยิ่งไปกันใหญ่ ดังนั้น พยายามเลือกวิชาที่ตัวเองชอบในช่วงเวลานี้
ความขัดแย้งภายในห้อง
มักเกิดขึ้นเมื่อมีการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาวิชา แล้วความคิดของเราไม่ตรง กับเพื่อนคนอื่นๆ หรือแม้แต่ไม่ตรงกับความคิดของผู้สอนด้วย และวิธีที่จะช่วยแก้ไข ปัญหา ความขัดแย้ง คือ เราต้องฟังความคิดเห็นของอีกฝ่าย โดยปราศจากอคติ พิจารณาว่า ทำไม ความคิดเห็นของเขาถึงต่างจากเรา มันมีเหตุผลอะไรสนับสนุน แล้วเหตุผลประกอบความคิด ของเราคืออะไร จากนั้นจึงค่อยโต้แย้งกัน ด้วยเหตุผล ให้เกียรติอีกฝ่าย อย่าใช้อารมณ์
เพียงเท่านี้ก็เชื่อว่าการเรียนของน้องๆ ก็น่าจะเป็นสุขขึ้นมาบ้างล่ะค่ะ
แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด