https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เมนูอาหารสําหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ สาเหตุเเละอาการของโรคหัวใจ MUSLIMTHAIPOST

 

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เมนูอาหารสําหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ สาเหตุเเละอาการของโรคหัวใจ


864 ผู้ชม


โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เมนูอาหารสําหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ สาเหตุเเละอาการของโรคหัวใจ

 

 

 หัวใจพิการแต่กำเนิด

นิทานห่านกับนกกระสา

เป็นหวัด  ไอ  เป็นปอดบวมบ่อย  หัวใจเต้นเร็ว  แรง  ไม่ว่าจะร้อนหรือหนาว  ก็มีเหงื่อออกมากผิดปกติ


     ทั้งหมดนี้คือสัญญาณของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ซึ่งเป็นความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด  ปัจจุบันโรคนี้พบได้ประมาณ 8-10 คน
ต่อทารกแรกเกิด 1,000 คน  สามารถพบได้ตั้งแต่สัปดาห์แรก ถ้าได้รับการตรวจ  แต่ประมาณร้อยละ 50  ก็ไม่แสดงอาการ
บางรายอาจเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุว่าเป็นโรคหัวใจ  การตรวจร่างกายลูกตั้งแต่แรกเกิดถึงขวบปีแรกจึงมีความสำคัญมาก 
เพราะหากพบภาวะหัวใจพิการจะช่วยให้ลูกได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆได้  เราจึงนำข้อมูลของโรค การรักษา และการป้องกันมาฝากค่ะ



     ชนิดของโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
1.ชนิดที่ 1 โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรง  มีอันตรายถึงชีวิต เช่น เส้นเลือดใหญ่ของหัวใจสลับที่  เส้นเลือดใหญ่ที่ไปเลี้ยงร่างกายตีบ หัวใจไม่ครบห้อง
2.ชนิดที่ 2 โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดที่อาจทำให้มีอาการหัวใจวายในภายหลัง  เช่น  ผนังกั้นหัวใจรั่วขนาดใหญ่  ภาวะหัวใจชนิดเขียวบางชนิด
3.ชนิดที่ 3 โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดที่ไม่ทำให้มีอาการ  แต่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษหรือต้องเข้ารับการรักษาตอนโต  เช่น ผนังกั้นหัวใจรั่วขนาดเล็ก



     สาเหตุของการเกิดโรค   มาจากหลายสาเหตุดังนี้
1.ลูกมีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) หรือคลอดก่อนกำหนด
2.แม่ติดเชื้อไวรัสระหว่างตั้งครรภ์  เช่น  เชื้อหัดเยอรมัน  ในระหว่างการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก
3.แม่ได้รับยาหรือสารบางชนิด  เช่น  ยาแก้แพ้ท้อง  ยารักษาโรคจิตเภท  ยารักษาโรคซึมเศร้า
4.แม่ติดสิ่งเสพติด  เช่น  บุหรี่  เหล้า  สิ่งเสพติด
5.การได้รับรังสีเอ็กซ์หรือสารกัมมันตรังสีอื่นๆ ระหว่างการตั้งครรภ์
6.ตั้งครรภ์เมื่อสูงอายุหรือมีโรคประจำตัวและไม่ได้รับการควบคุม  เช่น เบาหวาน  โรคทางอิมมูน  ความดันโลหิตสูง  โรคทางพันธุกรรม
7.มีประวัติโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในครอบครัว



     การรักษาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
การรักษามีหลายวิธีขึ้นอยู่กับลักษณะอาการที่เกิดขึ้นดังนี้
1.รักษาด้วยยา  ในรายที่หัวใจมีความผิดปกติไม่มากและหายเองได้  เช่น  ผนังหัวใจห้องล่างรั่ว  หรือในรายที่ยังไม่เหมาะสมต่อการผ่าตัด
อาจจะรักษาด้วยยาไปก่อน  รวมถึงการรักษาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ปอดบวม
2.การใช้เครื่องมือพิเศษ  เช่น  การใช้สายสวนที่มีปลายบอลลูนเข้าไปขยายลิ้นหัวใจที่ดี  ขยายช่องทางติดต่อระหว่างห้องหัวใจด้วยบอลลูน
หรือการใส่เครื่องมือพิเศษเข้าไปอุดรอยรั่ว ซึ่งวิธีนี้จะใช้ได้เฉพาะกรณีผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่มีผนังกั้นห้องบนรั่วหรือในรายที่
หลอดเลือด หรือลิ้นหัวใจตีบคุณหมอจะใส่บอลลูนเข้าไปขยายได้
3.การผ่าตัด  เป็นวิธีที่ดีที่สุด  แต่การผ่าตัดในรายที่เป็นมาก  รักษาด้วยยาไม่ได้ผลหรือทำการผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของหัวใจ  เช่น  
การผ่าตัดแก้ไขความพิการ เพื่อปิดรูรั่ว  ในปัจจุบันมีการผ่าตัดโดยการสลับเส้นเลือดดำกับแดงให้กลับสู่ปกติ  ส่วนผลของการผ่าตัดจะได้
ผลดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับระดับความผิดปกติของหัวใจ  ขนาดของร่างกายผู้ป่วย ถ้าน้ำหนักตัวน้อยก็จะมีความเสี่ยงสูง



     คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนจะมีลูก  หรือกำลังตั้งครรภ์ควรหันมาใส่ใจและศึกษาในเรื่องนี้ให้มากขึ้น  เพื่อป้องกันลูกน้อยจากภาวะ
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดค่ะ
1.วางแผนครอบครัวที่ดี  รักษาสุขภาพกายและสุขภาพใจของแม่  ตรวจสุขภาพ  รับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆ ก่อนมีลูกควรได้รับการฉัควัคซีน
ป้องกันหัดเยอรมันก่อนการมีครรภ์
2.ดูแลภาวะโภชนาการให้ดีและหลีกเลี่ยงการใช้ยาที่อาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์
3.หลีกเลี่ยงการใช้รังสีเอ็กซ์หรือสารกัมมันตรังสีอื่นๆ โดยเฉพาะในช่วง 3-4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
4.หลีกเลี่ยงการเข้าที่ชุมนุมชน  ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคทั้งไวรัสและแบคทีเรีย
5.หลีกเลี่ยงการมีบุตรเมื่ออายุมาก



     เมื่อสงสัยว่าลูกน้อยเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหรือไม่  สามารถตรวจร่างกายวัดระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือด
และตรวจวินิจฉัยยืนยันโดยการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง



     การตรวจหาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง  หรือนิยมเรียกสั้นๆว่า เอ็คโค่  มักทำในทารกแรกเกิดจนถึงอายุประมาณ 
6 สัปดาห์ เป็นการตรวจโดยอาศัยหลักการสะท้อนกลับของคลื่นความถี่สูง  ซึ่งสามารถผ่านผนังทรวงอกไปถึงหัวใจ  โดยใช้หัวตรวจชนิด
พิเศษ  เมื่อคลื่นเสียงความถี่สูงผ่านอวัยวะต่างๆ จะเกิดสัญญาณสะท้อนกลับมาเป็นภาพ  ซึ่งช่วยให้คุณหมอสามารถวินิจฉัยชนิดของความ
ผิดปกติของหัวใจได้ซึ้งทำได้ง่าย  ปลอดภัย  ไม่เจ็บปวดและสามารถทราบผลการตรวจได้ทันที


 

รูปภาพจาก : internet

แหล่งที่มา : iammomsociety.com , Motherandcare

อัพเดทล่าสุด