วันมหิดล ความสำคัญของวันมหิดล รายงาน เรื่อง วันมหิดล วันมหิดลวันที่เท่าไร


1,176 ผู้ชม


วันมหิดล ความสำคัญของวันมหิดล รายงาน เรื่อง วันมหิดล วันมหิดลวันที่เท่าไร

24 กันยายน วันมหิดล

ประวัติ และ กิจกรรม

พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย

                   องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เป็นผู้ที่มีหน้าที่ส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานด้านวัฒนธรรมของประเทศ สมาชิกต่าง ๆ ทั่วโลก ด้วยการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคล เพื่อเผยแพร่เกียรติคุณ และผลงานของผู้มีผลงานดีเด่น ทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั่วโลก รวมถึงให้ประเทศสมาชิก ได้มีส่วนร่วมเฉลิมฉลองร่วมกับ ประเทศที่มีผู้ได้รับการยกย่อมเชิดชูเกียรติ

รัฐบาลไทย โดยคณะกรรมการแห่งชาติ  ได้ยกย่องสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก เพื่อให้ยูเนสโกประกาศเชิดชูเกียรติ บรรพบุรุษไทยผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ในวาระครบรอบ 100 ปี วันพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2535
                                       วันมหิดล ความสำคัญของวันมหิดล รายงาน เรื่อง วันมหิดล วันมหิดลวันที่เท่าไร
 
                                                             ภาพจาก www.mat.or.th

เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2494 ได้มีประกาศอย่างเป็นทางการ ให้วันที่ 24 กันยายน เป็น "วันมหิดล" อันเป็น วันคล้ายวันทิวงคต ของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (กรมหลวงสงขลานครินทร์) พระผู้ได้รับการถวายพระสมัญญาภิไธยจากแพทย์และประชาชนทั่วไปว่า"พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย" เพื่อเป็นการถวายสักการะ และแสดงกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์

ตลอดระยะเวลา 12 ปีนั้น ทรงอุทิศพระองค์ในแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขของประเทศไทยอย่างล้นเหลือ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆอันได้แก่ ทรงพระราชทานทุนการศึกษาส่วนพระองค์ "ทุนวิทยาศาสตร์แห่งแพทย์" เพื่อให้บุคคลไปศึกษาวิชาต่างประเทศ  อีกทั้งยังทรงพระราชทานทุนเพื่อค้นคว้า และการสอนในโรงพยาบาลศิราราช อันเป็นทุนแรกของทุนประเภทนี้ในประเทศไทย และเพื่อปรับปรุงการศึกษาแพทย์และพยาบาลให้ได้มาตรฐานสากล จึงทรงเป็นผู้แทนของรัฐบาลทำการติดต่อมูลนิธิร๊อกกี้เฟลเลอร์ให้ทำการช่วยเหลือการแพทย์และพยาบาลของไทย ซึ่งทางมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ก็ได้ให้ความช่วยเหลือโดยการส่งอาจารย์แพทย์ มามาถึง 6 ท่านรวมทั้งทรงพระราชทานทุนทรัพย์รวมทั้งที่ดินและอาคารส่วนพระองค์ เพื่อขยายกิจการของโรงพยาบาลศิริราช เพื่อใช้เป็นสถานที่เรียน หอผู้ป่วย และหอพักนักศึกษาแพทย์และพยาบาล รวมทั้งทรงปรับปรุงวชิรพยาบาลเมื่อทรงเข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการวชิรพยาบาล ทรงริเริ่มโครงการเพื่อปรับปรุงโรงพยาบาลแห่งนี้ ให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นยังทรงพระราชทานเงินให้กับโรงพยาบาลแมคคอมิค สำหรับจ้างแพทย์ชาวต่างประเทศ รพ.แมคคอร์มิค และรพ.สงขลา
                                        วันมหิดล ความสำคัญของวันมหิดล รายงาน เรื่อง วันมหิดล วันมหิดลวันที่เท่าไร  
                                                               ภาพจาก kanchanapisek.or.th

ส่วนพระองค์ และมรดกอีกจำนวนหนึ่งที่พระราชทานเพื่อประโยชน์ของการแพทย์ตลอดระยะเวลากว่าสิบปี รวมทั้งที่มอบไว้เป็นหนึ่งเพื่อใช้ในการให้ทุนแพทย์ไปศึกษาต่างประเทศนั้น รวมแล้วเป็นจำนวนเงินประมาณหนึ่งล้านสี่แสนบาท 

ประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก 

                                                              วันมหิดล ความสำคัญของวันมหิดล รายงาน เรื่อง วันมหิดล วันมหิดลวันที่เท่าไร
                                             สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
                                             His Royal Highness Prince Mahidol of Songkla
                                                 “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”
                                              “The Father of Modern Medicine in Thailand”

                   สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2434  (ก่อนปี 2484 วันขึ้นปีใหม่ของไทยตรงกับวันที่ 1 เม.ย. ดังนั้นเดือน ม.ค. 2534 ซึ่งเป็นเดือนพระราชสมภพยังคงนับตามปฏิทินเก่า เมื่อเทียบกับปฏิทินสากลที่ใช้ในปัจจุบันจึงตรงกับ ม.ค.2435)
                                                วันมหิดล ความสำคัญของวันมหิดล รายงาน เรื่อง วันมหิดล วันมหิดลวันที่เท่าไร
ทรงศึกษาในโรงเรียนราชกุมารตั้งแต่ก่อนโสกันต์จนถึงพระชนมายุได้ 13 ปี 4 เดือน 
เป็นที่น่าอัศจรรย์ด้วยว่าพระชนมายุยังน้อย ทว่าทรงมีความรู้กว้างขวางในภาษาไทยยิ่งนัก และทรงศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก แต่เป็นเพียงเพื่อทรงรับการฝึกหัดท่ามือเปล่าให้ได้ทรงรู้จักกิริยาท่าทางของทหารบ้างเท่านั้น มิได้ทรงเข้าศึกษาวิชชาในชั้นต่างๆ

                   เมื่อพฤษภาคม พ.ศ.2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ ในส่วนสมเด็จเจ้าฟ้าราชโอรสนั้น ได้เสด็จไปทรงเริ่มเล่าเรียนที่ประเทศอังกฤษก่อนทุกพระองค์ จึงได้เสด็จพร้อมด้วยสมเด็จเจ้าฟ้าราชโอรสอีก ๓ พระองค์ ทรงเล่าเรียนที่โรงเรียนแฮโรว์ ต่อมาพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯโปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้าราชโอรสได้แยกย้ายกันไปศึกษาวิชชาการทหาร ณ ประเทศเยอรมัน และด้วยความรู้ภาษาอังกฤษที่ได้ศึกษามานั้น นับเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการศึกษาวิชชาในกองทัพเรือ

ทูลกระหม่อมได้ทรงศึกษาตั้งแต่เป็นคะเด็ตทหารเรือ จนเลื่อนยศเป็นเรือตรีรวมเวลาทั้งสิ้น 3 ปีครึ่ง จึงจะนับว่ามีความรู้ความชำนาญ เป็นเรือตรีแห่งราชนาวีเยอรมันได้ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตามที่ทรงปรารถนาที่จะลงประจำเรือรบแห่งราชนาวีเยอรมัน เพื่อดูการปฏิบัติการจริง จึงได้ทรงเสด็จกลับประเทศ

                    จากนั้นเสด็จกลับเข้ามารับราชการในกองทัพเรือ ต่อมาทรงมีอาการประชวรเรื้อรัง ไม่ทรงสามารถรับราชการหนัก เช่นการทหารเรือได้ ประกอบกับทรงพระดำริว่า ยังมีกิจการอย่างอื่นที่ทรงเห็นว่าสำคัญ และจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า คือ การสาธารณสุข และการแพทย์ ดังนั้นพระองค์ท่านจึงได้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ลาออกจากราชการทหารเรือแล้วเสด็จออกไปยังต่างประเทศ เพื่อศึกษาวิชาการสาธารณสุขและวิชาแพทย์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยมีพระราชดำรัสก่อนที่จะเสด็จไปศึกษาวิชาการแพทย์ต่อที่ต่างประเทศว่า" ฉันจะไปเรียนหมอหละ เพราะเป็นวิชาที่สนุกดี เรามีโอกาสรักษาคนได้ทั้งคนจนคนมั่งมี และเจ้านายต่าง ๆ ได้เต็มที่ หมอทำการกุศล ในการรักษาพยาบาลได้ดี เมืองไทยเราถ้าเจ้านายทรงทำหน้าที่อย่างสามัญชนเข้าบ้างเขาว่าเสียพระเกียรติ ฉันรู้สึกว่ามัวแต่รักษาพระเกียรติอยู่ก็ไม่ต้องทำอะไรกัน" ทรงสอบได้ประกาศนียบัตรการสาธารณสุข และปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต เกียรตินิยม จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกสวรรคตเมื่อ วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ รวมพระชนมายุ 37 พรรษา 8 เดือน 23 วัน
                                            วันมหิดล ความสำคัญของวันมหิดล รายงาน เรื่อง วันมหิดล วันมหิดลวันที่เท่าไร  
                                                     การพระราชพิธีพระราชทานเพลิงศพสมเด็จฯพระบรมชนก
                                                              ณ พระเมรุท้องสนามหลวง พ.ศ. 2472 
                                                                 ภาพจาก medinfo.psu.ac.th

                   21 ปี หลังจากที่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกได้เสด็จสวรรคต คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บรรดาศิษย์เก่าศิริราช ผู้ที่ได้รับทุนของพระองค์ไปศึกษา ณ ต่างประเทศ ผู้ที่เคยได้รับพระมหากรุณาในประการอื่นๆ ตลอดจนประชาชนผู้สนใจทั่วไปไ ด้ร่วมใจกันสร้างพระราชานุสาวรีย์ประดิษฐานไว้ ณ โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเป็นการร่วมกันน้อมสำนึกพระเมตตาคุณพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย  โดยมอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการสร้าง และมีศาสตราจารย์ศิลป พีรพศรี เป็นผู้ควบคุมงาน

                   โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินในพิธีเปิดพระราชนุสาวรีย์เมื่อวันที 24 เมษายน พ.ศ. 2493 พระราชานุสาวรีย์นี้ได้รับการตกแต่งเพิ่มเติมครั้งแรกเมื่อปี 2517 และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยสร้างรากฐานและบริเวณโดยรอบทั้งหมดเพื่อให้ถาวร สง่างามและสมพระเกียรติยิ่งขึ้น ดังที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้

"วันมหิดล" กับกองทัพเรือ
                                   
                                                     วันมหิดล ความสำคัญของวันมหิดล รายงาน เรื่อง วันมหิดล วันมหิดลวันที่เท่าไร
                                                         ภาพจาก www.princemahidolaward.org

                   นอกเหนือจากพระราชกรณียกิจที่ได้รทรงบำเพ็ญแก่วงการแพทย์ และการสาธารณสุขแล้ว พระองค์ก็ทรงมีคุณูปการแก่กองทัพเรืออย่างใหญ่หลวง กองทัพเรือยังถือว่าใน "วันมหิดล" จะเป็นวันที่ร่วมรำลึกถึง จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อกองทัพเรือเป็นอเนกอนันต์ กองทัพเรือจึงได้จัดพิธีทำบุญวันมหิดลเป็นประจำทุกปี 
ตอนปลายเดือนมีนาคมนั้นเอง ทูนกระหม่อมได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นร้อยโท ในราชนาวี และได้ทรงรับราชการในกระทรวงทหารเรือตั้งแต่เดือนเมษายน จนถึงเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๕๘ เป็นเวลาทั้งสิ้น ๙ เดือนครึ่ง

                   ถึงแม้พระองค์ทรงเข้ารับราชการในกองทัพเรือเป็นระยะเวลาไม่นานนัก แต่ด้วยความที่ทรงเชี่ยวชาญทางเรือดำน้ำและเรือตอร์ปิโดรักษาฝั่ง สายพระเนตรอันกว้างไกลพระองค์ได้ทรงเสนอแนวคิดและโครงการสร้างกองเรือรบที่กองทัพเรือควรจะมีไว้ประจำการต่อเสนาธิการทหารเรือ จึงทำให้เกิดการสร้างกำลังรบทางเรือไว้ป้องกันประเทศชาติในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการมีเรือดำน้ำและเรือรบประเภทต่าง ๆนั้นทำให้ประเทศไทยสามารถป้องกันและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้อย่างมีศักยภาพและรักษาสันติสุขของชาติไว้ได้อย่างมั่นคง ดั่งที่ทหารเรือทั่วโลกในเวลานี้ต่างก็เล็งเห็นถึงความสำคัญ

กิจกรรมวันมหิดล เครือข่ายพญาไท ร่วมใจสร้างเสริมสุขภาพ

                   หน่วยงานราชการต่างๆ โดยเฉพาะทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วประเทศ จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อน้อมสำนึกพระเมตตาคุณพระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย รวมทั้งเป็นการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้และให้บริการทางสุขภาพกับประชาชน

                   และโดยเฉพาะคณะนักศึกษาแพทย์และพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องในวันมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ได้จัดให้มี กิจกรรมออกรับบริจาคสมทบทุนศิริราชมูลนิธิ ในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน ของทุกปี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2549 ได้เริ่มรวมตัวกันของเครือข่ายมหิดลพญาไท ปัจจุบันมีสถาบันเข้ามาร่วม  9 หน่วยงานด้วยกันได้แก่ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะเภสัชศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน คณะวิทยาศาสตร์ สำนักคอมพิวเตอร์ สถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา โดยทั้ง 9 หน่วยงานนี้ ได้ร่วมมือจัดงาน “วันมหิดล เครือข่ายพญาไท ร่วมใจสร้างเสริมสุขภาพ” ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนพระราม 6
                                       วันมหิดล ความสำคัญของวันมหิดล รายงาน เรื่อง วันมหิดล วันมหิดลวันที่เท่าไร

                   ในปีนี้ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงพระกรุณาทรงเป็นองค์ประธานจัดงานหารายได้ช่วยผู้ป่วยด้อยโอกาส รพ.ศิริราช นับเป็นพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ โอกาสนี้ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติโดยวันที่ 23 กันยายน 2551นักศึกษาวิทยาเขตบางกอกน้อย (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ คณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์ และคณะเทคนิคการแพทย์) จะออกรับบริจาคพร้อมกันครั้งใหญ่ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมมอบธงและสติ๊กเกอร์ที่ระลึก

เมื่อบริจาคทุก 500 บาท จะมี ธงสัญลักษณ์วันมหิดล พร้อมเสาธง บริจาคทุก 20 บาท จะมี ธงสัญลักษณ์วันมหิดล และน้อยกว่า 20 บาท จะมีสติกเกอร์วันมหิดล มอบเป็นของที่ระลึก

                   นอกจากการออกรับบริจาคของนักศึกษาแล้ว คณะฯ ยังจัดรายการพิเศษเนื่องในวันมหิดล คืนวันเสาร์ที่ 20 กันยายน 2551 เวลา 4 ทุ่มเป็นต้นไป ทาง ททบ.5 ซึ่งมาพร้อมสาระเพื่อสุขภาพชวนติดตาม อาทิ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระราชทานสัมภาษณ์ในการสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมราชชนกเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย สัมผัสชีวิตจริงทุกขั้นตอน “กว่าจะเป็นธงวันมหิดล” รู้ทัน – กันได้ ห่างไกล “การคลอดก่อนกำหนด” และวิทยาการการแพทย์ช่วยได้อย่างไร “กบนอกกะลา” ไขปริศนา “เส้นทางของเงินบริจาคไปไหน”

                   และสำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ สามารถสอบถามแพทย์ศิริราชตัวจริง เสียงจริง ซึ่งทางโรงพยาบาลได้ระดมคณาจารย์แพทย์ไปช่วยตอบปัญหามากมาย โทร. 02278 5940 (20 คู่สาย) สำหรับท่านที่ต้องการตามรอยพระบาทพระราชบิดาช่วยผู้ป่วยกรุณา โทร. 02270 2233 (100 คู่สาย)

                   ส่วนในวันที่ 24 กันยายน 2551 นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางพวงมาลาถวายราชสักการะพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

                   ทั้งนี้ ท่านที่ประสงค์จะช่วยกันสานต่อหนึ่งในผลงานอันล้ำค่าของ “สมเด็จพระบรมราชชนก”...ช่วยผู้ป่วย สามารถบริจาคโดยตรงได้ที่ ศิริราชมูลนิธิ ตึกมหิดลบำเพ็ญ ชั้น 1 วันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 07.30 - 17.30 น. วันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30 – 16.30 น. โทร. 02419 7658 – 9




แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด