โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อมีอะไรบ้าง สาเหตุโรคเกี่ยวกับกระดูก
โรคข้อ” เกิดได้ในทุกวัย เสียสุขภาพ เสียจิต | ||
โรคข้อ” เกิดได้ในทุกวัยไม่เกี่ยงอายุ
เป็นแล้วทรมาน เสียสุขภาพจิต
มูลนิธิโรคข้อฯ จัดงานวันโรคข้อสากลปี 2554 ภายใต้หัวข้อ “โรคข้ออันเนื่องมาจากการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา ” นำทีมผู้เชี่ยวชาญโรคข้อ ปรึกษาฟรีแก่ประชาชนในวันอาทิตย์ที่ 2 ต.ค.2554 เวลา 07.30-15.30 น. ณ ห้องประชุมอาคาร เฉลิมพระเกียรติ ชั้น 11-12 โรงพยาบาลราชวิถี หวังกระตุ้นคนไทยใส่ใจสุขภาพข้อ โรคที่เป็นแล้วทรมาน เสียสุขภาพจิต คาดผู้ร่วมงานคับคั่งเช่นทุกปี
นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วัฒนา ประธานมูลนิธิโรคข้อ ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า “ปัจจุบันในประชากรไทย 60 ล้านคน พบผู้ป่วยโรคข้อสูงถึง 3 ล้าน โดยโรคข้อนั้นคนที่ยังไม่เป็น มักจะคิดว่าเป็นโรคของคนสูงอายุ เนื่องจาก 50% โรคข้อเสื่อมเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หลายคนจึงไม่ทันได้ระวังรักษาข้อและกระดูก แต่อย่าลืมว่าพฤติกรรมบางอย่างที่มีใช้งานข้อมากเกินไป เช่น พฤติกรรมท่านั่ง นั่งยองๆ นั่งคุกเข่า หรือการมีน้ำหนักตัวมากกว่าเกินไป ทำให้ข้อรับน้ำหนักมากเวลาเดินหรือวิ่ง ก็เป็นส่วนหนึ่งทำให้เป็นสาเหตุของโรคข้อเสื่อมได้เช่นกัน และด้วยกระแสการรักสุขภาพที่กำลังมาแรง หลายคนหันมาใส่ใจออกกำลังกายกันมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดงาน “วันโรคข้อสากลปี 2554” ในหัวข้อ ”โรคข้ออันเนื่องมาจากการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา ” ขึ้น เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการออกกำลังกายดูแลสุขภาพข้อ และกระดูก ช่วยป้องกันการเกิดโรคข้อเสื่อมที่เป็นแล้วทรมาน และเสียสุขภาพจิต”
“ผู้ป่วยโรคข้อไม่ว่าจะเกิดจากการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เมื่อเป็นแล้วจะสามารถดำรงชีวิตได้ แต่คุณภาพชีวิตจะเสียไป เช่น คนที่เคยวิ่งได้ ก็ไม่สามารถออกกำลังกายโดยการวิ่ง ต้องเปลี่ยนเป็นว่ายน้ำแทน หรือคนที่เคยตีกอล์ฟได้เมื่อปวดหลังก็ต้องเปลี่ยนเป็นกีฬาอย่างอื่นแทน ทางที่ดีควรดูแลถนอมข้อก่อนที่จะเกิดโรคข้อเสื่อมจะเป็นการดีที่สุด เพราะโรคข้อเกิดได้กับคนทุกวัย” นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วัฒนากล่าวทิ้งท้าย
สาเหตุการเกิดโรคข้อมีหลายสาหตุด้วยกัน ในโรคข้อที่มีอยู่กว่า 100 ชนิด ที่พบบ่อย เช่น โรคเก๊าท์ 90 % พบในผู้ชาย อายุ 30 ปีขึ้นไป เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกสูงกว่าปกติ ปกติในร่างกายคนเรา ผู้หญิงจะมีกรดยูริกในร่างกาย ไม่เกิน 6 มก. ในผู้ชายจะมีกรดยูริกในร่างกาย ไม่เกิน 7 มก. โรคข้อเสื่อม พบได้ทั้งชายและหญิง อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป และ 50 % พบในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ส่วนข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคข้อที่มีความรุนแรงมากที่สุด เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ป่วย ทำให้มีอาการปวดข้อหลายๆ ข้อพร้อมกัน ทำให้เกิดความพิการได้ พบบ่อยในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ปัจจุบัน การรักษาสามารถทำโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมบริเวณเข่า และตะโพก ทำให้การปวดข้อหายไปได้ ส่วนการรักษาโรคข้อเอักเสบรูมาตอยด์ ปัจจุบันมีวิธีชีวภาพ ทำให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้นมาก แต่ในประเทศไทยยังเลือกใช้วิธีนี้น้อยเพราะค่าใช้จ่ายสูง
โรคข้อสามารถป้องกันได้ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม ถ้าอิริยาบถใดก็ตามทำให้ข้อเข่าปวด ควรหลีกเลี่ยง และพักใช้งาน อาการปวดก็จะทุเลาลงได้ ส่วนโรคเก๊าท์ สามารถรับประทานยาลดกรดยูริกเพื่อช่วยลดอาการกำเริบ และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การรักษาแต่เนิ่นๆ ก่อนที่ข้อต่อจะเสีย ส่วนโรคข้อจากการออกกำลังกาย คือการเลือกรูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะกับสภาพร่างกาย เช่น คนที่อาการข้อเสื่อมต้องหลีกเลี่ยงการวิ่ง การเดิน คนที่มีข้อเข่าเสื่อมนั้น วิธีการออกกำลังกายที่ดีที่สุดคือ การว่ายน้ำ เพราะน้ำจะช่วยพยุงไม่ไห้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนัก ส่วนผู้ที่ออกกำลังกายแล้วกระดูกข้อต่อแตก หรือหัก ต้องรีบทำการรักษาจัดกระดูกให้เข้าที่ ถ้ากระดูกที่แตกไม่ได้รับการจัดให้เข้าที่ ข้อต่อนั้นจะเสื่อม ทำให้ข้อต่อนั้นเคลื่อนไหวน้อยลง
สำหรับงานวันโรคข้อสากลปี 2554 ทางมูลนิธิโรคข้อฯ ได้จัดกิจกรรมขึ้นภายใต้หัวข้อ ”โรคข้ออันเนื่องมาจากการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา ” เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความตื่นตัวในการดูแลตนเอง ด้วยการตรวจเช็คร่างกาย รับประทานอาหารที่ถูกต้อง และส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาให้มากขึ้น เพราะการเล่นกีฬาหากปฎิบัติได้ถูกต้องจะมีประโยชน์มาก แต่หากไม่ถูกต้องจะส่งผลเสีย โดยงานในครั้งนี้ จะเป็นการรวมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อจากโรงพยาบาลต่างๆ มากที่สุดเพื่อมาให้คำปรึกษาปัญหาโรคข้อ เช่น โรคข้อเสี่อมและการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม โรคเก๊าท์และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคกระดูกพรุน โรคปวดหลังและปวดคอแก่ประชาชน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้ในวันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคมนี้ เวลา 07.30-15.30 น. ณ ห้องประชุมเฉลิมพระเกียรติ ชั้นที่ 11-12 โรงพยาบาลราชวิถี หรือโทรสอบถามข้อมูลได้ที่ มูลนิธโรคข้อ หมายเลข 0 2716-5436 0-2716-5437 สำรองที่นั่งได้ที่ 02-665-4620-1 โทรสาร 0-2635-5458 หรือเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ www.thaiarthritis.org”
แหล่งที่มา : 108health.com