อาหารโรคโลหิตจาง การดูแลผู้ป่วยโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจางต้องกินอะไร
อาหารของคนเป็นโรคโลหิตจาง
โลหิตจาง เป็นภาวะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่โรคโดยตรง เป็นเครื่องบอกเหตุว่า มีโรคหรือสาเหตุซ่อนอยู่
ซึ่งต้องค้นหาดูว่าเป็นอะไร แล้วจึงจะทำการรักษาที่ถูกต้อง
ในภาวะโลหิตจางร่างกายจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง แต่ละเพศและวัยมีค่านี้แตกต่างกัน เมื่อไรพบว่า ค่าต่ำกว่าพิกัดต่ำสุดของประชากรเพศและวัยนั้นก็ถือว่าโลหิตจาง
** สาเหตุทำโรคนี้เพราะ มารดาของดิฉันเป็นอยู่จึงอยากรู้สาเหตุ แนวทางป้องกันและแก้ไข จึงทำโรคโลหิตจาง** และเพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้ที่ประสงค์อยากรู้หรือเป็นเกี่ยวกับโรคนโลหิตจาง
โลหิตจาง หรือ ภาวะเลือดจาง (อังกฤษ: Anemia or Anaemia) เป็นการลดลงของจำนวนเม็ดเลือดแดง
น้อยกว่าปกติ หรือปริมาณฮีโมโกลบินในเลือดน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้ยังรวมถึงภาวะที่ความสามารถใน
การจับออกซิเจนของโมเลกุลฮีโมโกลบินลดลง ทั้งจากความผิดปกติของโครงสร้างหรือจำนวนฮีโมโกลบินที่สร้างขึ้นเช่นในภาวะขาดฮีโมโกลบิน (hemoglobin deficiency) บางชนิด เนื่องจากฮีโมโกลบิน (โปรตีนที่พบภายในเม็ดเลือดแดง) ปกติทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อ โลหิตจางจึงทำให้เกิดภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxia) ที่อวัยวะ และเนื่องจากเซลล์ทุกเซลล์ในมนุษย์ต้องการออกซิเจนเพื่อดำรงชีวิต โลหิตจางในระดับต่างๆ จึงทำให้เกิดอาการทางคลินิกตามมาได้หลายรูปแบบ โลหิตจางเป็นความผิดปกติของเลือดที่พบได้บ่อยที่สุด แบ่งออกได้เป็นหลายชนิดและมีหลายสาเหตุ การแบ่งประเภทของโลหิตจางแบ่งได้หลายแบบ ทั้งจากรูปลักษณ์ของเม็ดเลือดแดง กลไกสาเหตุที่นำให้เกิด และอาการทางคลินิกที่แสดงออก เป็นต้น โลหิตจางสามชนิดหลักๆ ได้แก่การเสียเลือดจำนวนมาก (เกิดเฉียบพลันเช่นการตกเลือด หรือเกิดเรื้อรังจากการเสียเลือดปริมาณน้อยๆ เป็นเวลานาน) การทำลายเม็ดเลือดจำนวนมาก (การทำลายเม็ดเลือดแดง (hemolysis)) หรือการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง (การสร้างเม็ดเลือดไม่มีประสิทธิภาพ (ineffective hematopoiesis))
โรคโลหิตจาง เกิดจากการเสียเลือด เช่น เสียเลือดจากระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากเป็นแผลในกระเพาะอาหาร สังเกตได้จากอุจจาระที่เป็นสีดำ และเหนียวคล้ายยางมะตอย ผู้ที่มีพยาธิปากขออยู่ในลำไส้ หรือสตรีที่เสียเลือดมากผิดปกติจากการมีประจำเดือนจากโรคทางพันธุกรรมในบ้านเรามีหลายชนิด แต่ที่พบบ่อย คือ โรคธาลัสซีเมียเกิดจากเม็ดเลือดแดงแตกง่ายผิดปกติ
ซึ่งโรคนี้สามารถติดต่อได้ทางพันธุกรรม
โรคโลหิตจาง จากภาวะการขาดอาหาร ส่วนมากจะพบในคนไข้ที่รับประทานอาหารไม่ได้ หรือรับประทานได้ แต่ไม่ครบทุกประเภท มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ หรือผู้ที่รับประทานอาหารไม่ครบหมู่ จากการที่ร่างกายสร้างสารมาทำลายเม็ดเลือดของตัวเอง อาทิ โรคเอสแอลอี โรคโลหิตจาง จากปัญหาของมะเร็งเม็ดเลือด โรคโลหิตจาง ที่เป็นผลจากโรคอื่น เช่น โรคตับ โรคไต
ภาวะ โลหิตจาง เกิดได้จากหลายสาเหตุ บางอย่างสามารถรักษาให้หายขาดได้ บางอย่างทำได้แค่ประคับประคองให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับคนปกติให้มากที่สุด สิ่งที่สำคัญ คือ อย่าละเลยอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น การตรวจพบ โรคโลหิตจาง ตั้งแต่ระยะเนิ่นๆ จะทำให้การรักษาโรคได้ผลดี และมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าการรักษา โรคโลหิตจาง ในระยะที่เป็นมาเนิ่นนานแล้ว
ผู้ที่เป็น โรคโลหิตจาง ไม่มากหรือไม่มีโรคหลอดเลือดร่วมด้วยอาจไม่มีอาการก็ได้ อาการจะมีหรือไม่ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของ โรคโลหิตจาง และความเฉียบพลันของการเกิดโรค โรคโลหิตจาง
อาการเหนื่อยง่าย เหนื่อยง่ายหมายถึงรู้สึกเหนื่อยผิดปกติเวลาที่ต้องออกแรง เช่น เคยเดินบันไดได้โดยไม่เหนื่อยแต่กลับเหนื่อย ถ้ามี โรคโลหิตจาง รุนแรง แค่เดินในบ้านก็อาจเหนื่อยแล้ว เวลาเหนื่อยอาจมี
อาการใจสั่นร่วมด้วย ที่รุนแรงอาการมีอาการของโรคหัวใจวาย คือ เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ เป็นต้น
- อาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
- อาการเป็นลม หน้ามืด วิงเวียน
- อาการทางสมอง เช่น รู้สึกสมองล้า หลงลืมง่าย ขาดสมาธิในการทำงาน เรียนหนังสือไม่ดีเท่าที่ควร นอนไม่หลับ
- อาการหัวใจขาดเลือด มักพบในคนที่มีโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โลหิตจาง ทำให้อาการของหัวใจรุนแรงขึ้น เจ็บหน้าอกง่ายขึ้น
- อาการขาขาดเลือด พบในคนที่มีโรคหลอดเลือดของขาทำให้ปวดขา เวลาเดินได้ไม่ไกล ต้องหยุดพักบ่อยๆ เวลาเดิน
- อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร ท้องอืด
โดยทั่วไป ในการตรวจเลือดครั้งแรกแพทย์จะสั่งการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ (CBC) เพื่อวินิจฉัยภาวะโลหิตจาง นอกเหนือจากรายงานจำนวนเม็ดเลือดแดงและระดับฮีโมโกลบินที่ได้แล้ว เครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติยังสามารถวัดขนาดของเม็ดเลือดแดงได้ด้วยวิธีการ flow cytometry ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยแยกแยะสาเหตุของโลหิตจาง การตรวจสเมียร์เลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์ก็มีประโยชน์และในบางครั้งจำเป็นต้องทำในบางแห่งที่ไม่มีเครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ เครื่องตรวจนับเม็ดเลือดอัตโนมัติรุ่นใหม่สามารถวัดค่าพารามิเตอร์ได้ 4 อย่าง คือ นับจำนวนเม็ดเลือดแดง, ความเข้มขันของฮีโมโกลบิน, ปริมาตรเม็ดเลือดเฉลี่ย (Mean corpuscular hemoglobin; MCH) และความกว้างการกระจายของเม็ดเลือดแดง (Red blood cell distribution width; RDW) ซึ่งทำให้สามารถคำนวณค่าอื่นๆ ได้แก่ ฮีมาโทคริต (Hematocrit), ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดเฉลี่ย (Mean corpuscular hemoglobin; MCH) และความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดเฉลี่ย (Mean corpuscular hemoglobin concentration; MCHC) จากนั้นนำค่ามาเปรียบเทียบกับค่าปกติของอายุและเพศต่างๆ การตรวจนับบางครั้งอาจประมาณค่าฮีมาโทคริตจากการวัดโดยตรง
ระดับฮีโมโกลบินที่วินิจฉัยภาวะโลหิตจางโดยองค์การอนามัยโลก[6]
(WHO's Hemoglobin thresholds used to define anemia)
(1 กรัม/เดซิลิตร = 0.6206 มิลลิโมล/ลิตร) กลุ่มอายุหรือเพศ ฮีโมโกลบิน (กรัม/เดซิลิตร) ฮีโมโกลบิน (มิลลิโมล/ลิตร)
เด็ก (0.5–5.0 ปี) 11.0 6.8
เด็ก (5–12 ปี) 11.5 7.1
เด็ก (12–15 ปี) 12.0 7.4
หญิง ไม่ได้ตั้งครรภ์ (>15 ปี) 12.0 7.4
หญิงมีครรภ์ 11.0 6.8
ชาย (>15 ปี) 13.0 8.1
การนับจำนวนเรติคิวโลไซต์ (Reticulocyte counts) และการวิเคราะห์โรคจากกลไก ("kinetic" approach) เป็นที่นิยมมากขึ้นกว่าในอดีตในศูนย์การแพทย์ขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกาและหลายประเทศเพราะเครื่องนับอัตโนมัติปัจจุบันสามารถนับจำนวนเรติคิวโลไซต์ได้ การนับจำนวนเรติคิวโลไซต์เป็นการวัดปริมาณของการสร้างเม็ดเลือดแดงใหม่โดยไขกระดูก ดัชนีการสร้างเรติคิวโลไซต์ (reticulocyte production index; RPI) เป็นการคำนวณอัตราส่วนระหว่างระดับของโลหิตจางกับจำนวนเรติคิวโลไซต์ที่เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อภาวะโลหิตจาง เพราะเมื่อเกิดภาวะโลหิตจางไขกระดูกจะต้องทำหน้าที่สร้างเม็ดเลือดแดงใหม่ๆ ออกมาเพิ่มขึ้นเพื่อให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานใกล้เคียงสภาวะปกติ ดังนั้นหากระดับของโลหิตจางนั้นสูงมากแม้จะมีจำนวนเรติคิวโลไซต์ในเกณฑ์ "ปกติ" ก็อาจแปลผลได้ว่าไขกระดูกตอบสนองต่อภาวะโลหิตจางไม่เพียงพอ หากไม่มีเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ การนับจำนวนเรติคิวโล
ไซต์ก็สามารถทำได้ด้วยการย้อมฟิล์มเลือดพิเศษ ในการตรวจด้วยมือนั้น การวัดความสามารถในการ
สร้างเม็ดเลือดของไขกระดูกสามารถวัดเชิงปริมาณได้โดยการสังเกตเปลี่ยนแปลงจำนวนและรูปร่างของเม็ดเลือดแดงตัวอ่อนภายใต้กล้องจุลทรรศน์ เม็ดเลือดแดงที่สร้างใหม่จากไขกระดูกมักมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดงอายุมากและมักย้อมติดสีต่างกัน (polychromasia) และแม้ว่าจะพบจุดที่เสียเลือดได้อย่างชัดเจนก็ตาม การประเมินการสร้างเม็ดเลือดแดง (erythropoiesis) สามารถช่วยประเมินว่าไขกระดูกจะสามารถชดเชยการเสียเลือดได้หรือไม่ และที่อัตราเท่าไร หากไม่สามารถหาสาเหตุของโลหิตจางได้ แพทย์อาจใช้การทดสอบอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น อัตราการตกตะกอนของเม็ดเลือดแดง (ESR), เฟอร์ริติน (ferritin), เหล็กในซีรัม (serum iron), ทรานสเฟอร์ริน (transferrin), ระดับโฟเลตในเม็ดเลือดแดง (RBC folate level), วิตามินบี12 ในซีรัม (serum vitamin B12), ฮีโมโกลบิน อิเล็กโตรโฟรีซิส (hemoglobin electrophoresis), การทดสอบการทำงานของไต (renal function tests) เช่น ครีเอตินินในซีรัม หากยังไม่สามารถวินิจฉัยได้หรือทำได้ยาก การตรวจไขกระดูกช่วยในการตรวจเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดแดงได้โดยตรง
การสร้างเม็ดเลือด เทียบกับ การทำลายหรือการเสียเลือด
การวิเคราะห์โรคโลหิตจางจากกลไก ("kinetic" approach) ให้ผลซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นการจัดประเภทที่สัมพันธ์ทางคลินิกมากที่สุด การจัดประเภทแบบนี้ขึ้นกับการประเมินค่าพารามิเตอร์ทางโลหิตวิทยาหลายตัว โดยเฉพาะจำนวนเรติคิวโลไซต์ (reticulocyte; ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดแดงตัวเต็มวัย) ในเลือด การวิเคราะห์แบบนี้จะแบ่งประเภทของโลหิตจางโดยอาศัยการลดการสร้างเม็ดเลือดแดงเทียบกับการเพิ่มการทำลายหรือการสูญเสียเม็ดเลือดแดง อาการแสดงทางคลินิกของการสูญเสียหรือทำลายเม็ดเลือดแดง เช่น ฟิล์มเลือดผิดปกติร่วมกับอาการแสดงของการสลายของเม็ดเลือดแดง (hemolysis), ระดับแลกเตตดีไฮโดรจีเนสสูงขึ้นแสดงถึงการทำลายเซลล์, หรืออาการแสดงของเลือดออก เช่น มีเลือดปนในอุจจาระ พบการตกเลือดจากภาพรังสี หรือการเห็นว่ามีเลือดออกชัดเจน
ขนาดของเม็ดเลือดแดง
ในการวิเคราะห์โรคโลหิตจางจากรูปร่างเม็ดเลือด (morphological approach) จะจัดแบ่งโลหิตจางออกตามขนาดของเม็ดเลือดแดงซึ่งสามารถตรวจโดยใช้เครื่องนับอัตโนมัติหรือการดูสเมียร์เลือดจากกล้องจุลทรรศน์ก็ได้ ขนาดของเม็ดเลือดแดงแสดงออกมาเป็นค่าที่เรียกว่า ปริมาตรเม็ดเลือดเฉลี่ย (mean corpuscular volume; MCV) หากเซลล์มีขนาดเล็กกว่าปกติ คือน้อยกว่า 80 เฟมโตลิตร จะเรียกว่าโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดเล็ก (Microcytic anemia) หากเซลล์มีขนาดปกติ คือระหว่าง 80–100 เฟมโตลิตร จะเรียกว่าโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดปกติ (Normocytic anemia) และทำนองเดียวกันหากเซลล์ขนาดใหญ่กว่าปกติ คือมากกว่า 100 เฟมโตลิตร จะเรียกว่าโลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดใหญ่ (Macrocytic anemia) การแบ่งแบบนี้ช่วยทำให้ถึงสาเหตุของโลหิตจางที่พบได้บ่อยได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น โลหิตจางชนิดเม็ดเลือดขนาดเล็กมักเป็นผลของการขาดธาตุเหล็ก ในการสืบค้นทางคลินิกนั้นปริมาตรเม็ดเลือดเฉลี่ยนับเป็นข้อมูลลำดับแรกๆ ที่ได้มา ดังนั้นแม้แพทย์จะเชื่อถือปรัชญาการวิเคราะห์โรคโลหิตจางจากกลไกว่ามีประโยชน์มากกว่าเพียงใดแต่ลักษณะของเม็ดเลือดแดงก็ยังเป็นข้อมูลสำคัญในการจัดประเภทและการวินิจฉัย
หลักการสำคัญ คือ รักษาที่สาเหตุของ โรคโลหิตจาง แนวทางการรักษาประกอบด้วยการรักษาทั่วไป เป็นการบำบัดอาการของ โรคโลหิตจาง ระหว่างที่ทำการรักษาโรคสาเหตุของ โรคโลหิตจาง เช่น รักษาภาวะหัวใจวาย ลดการออกแรง ให้ออกซิเจน ให้เลือดทดแทน มักให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาหลอดเลือด ผู้ป่วยอายุมากหรือเสียเลือดมากเฉียบพลันผู้ป่วยเลือดจางเรื้อรังมักไม่จำเป็นต้องให้เลือด แม้ว่าความเข้มข้นของเลือดจะต่ำมากๆ ก็ตาม
ส่วนการรักษาจำเพาะเป็นการรักษาไปที่สาเหตุ กำจัดสาเหตุและให้การรักษาโรคสาเหตุนั้นๆ เช่น ถ้าพบว่าเลือดจางเพราะพยาธิปากขอ ก็ให้ยากำจัดพยาธิและให้ยาที่มีธาตุเหล็กควบคู่กันไป เมื่อระดับความเข้มข้นของเลือดกลับสู่ระดับปกติแล้ว ควรให้ยาเสริมธาตุเหล็กต่อไปอีก 3 เดือนจึงจะเพียงพอ
ข้าวเสริมธาตุเหล็ก ได้แก่ ข้าวหอมนิล และข้าวสายพันธุ์ 313 ปรากฏว่า ร่างกายสามารถดูดซับธาตุเหล็กได้ 6-20% สำหรับข้าวเสริมธาตุเหล็กแบบไม่ขัดสี และร้อยละ 17-50 สำหรับข้าวขัดสี ทั้งนี้ จะต้องรับประทานกับกับข้าวที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น แกงส้ม น้ำพริกมะขาม เป็นต้น
อาหารที่ดีที่สุดสำหรับผู้มีภาวะโลหิตจางคือ ตับลูกวัว เนื่องจากประกอบด้วยธาตุเหล็กและวิตามินบีในปริมาณสูง ซึ่งสามารถใช้ได้กับผู้มีภาวะโลหิตจางทุกประเภท
ผักสีเขียวเข้ม จัดเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้มีภาวะโลหิตจางเช่นกัน เนื่องจากเป็นแหล่งของธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และคลอโรฟิลล์ (คลอโรฟิลล์เป็นสารที่มีโมเลกุลคล้ายกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง)
ธาตุ เหล็กมีความสำคัญต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะสมองและเป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือด ดูแลเรื่องอาหารการกินให้มากขึ้นโดยเลือกรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เป็นประจำ ก็จะทำให้หลีกไกลโรคโลหิตจาง
อาหารที่จำเป็นสำหรับผู้เป็นโลหิตจาง
เน้นผักสีเขียวเข้ม ตับสัตว์ ไข่แดง ฟักทอง ถั่ว ซึ่งเป็นอาหารที่อุดมด้วยกรอโฟลิก
กินอาหารธาตุเหล็กช่วยกระตุ้นการผลิตเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง
เพิ่มการกินโปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์
อาหารที่มีวิตามินซีช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กและกรดโฟลิก
กินอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี12เพื่อให้ไขกระดูกสามารถผลิตเม็ดเลือดแดงได้เพียงพอ ดื่มน้ำ6-8แก้ว/วันเพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำ
หลีกเลี่ยง ดื่มชา กาแฟ เนื่องจากไปลดการทำงานของธาตุเหล็ก
หลีกเลี่ยงผักโขม หัวผักกาดหรือบีรูต น้ำเต้า ชะพลู เมี่ยง มีสารไฟแตดต่อต้านการดูดซึมของธาตุเหล็ก
หลีกเลี่ยง เกลือ อาหารเค็มๆ น้ำตาล อาหารไขมันสูง ไขมันอิ่มตัว
แหล่งที่มา : manufoods.blogspot.com