อาหารสับหรับคนเป็นโรครูมาตอยด์ อาหารที่รักษาโรครูมาตอยด์ เลี่ยงกินอะไร ในโรครูมาตอยด์


775 ผู้ชม


อาหารสับหรับคนเป็นโรครูมาตอยด์ อาหารที่รักษาโรครูมาตอยด์ เลี่ยงกินอะไร ในโรครูมาตอยด์

 

 

วิตามินและโรคข้อ

ก่อนที่ท่านจะรับวิตามินหรืออาหารเสริมหรือสมุนไพร โปรดปรึกษาแพทย์ประจำตัวท่านก่อนทุกครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่ตั้งครรภ์หรือวางแผนว่าจะตั้งครรภ์หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว และได้รับยาอยู่เป็นประจำ หากแพทย์ไม่แนะนำให้ท่านรับประทานท่านควรจะหยุดยานั้นและถามถึงเหตุผล แต่หากท่านยังดื้อดึงที่จะรับประทานต่อก็ลองอ่านคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • ให้แน่ใจว่าท่านได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อนที่จะรับวิตามินหรือสมุนไพร เพราะบ่อยครั้งที่ท่านผู้ป่วยวินิจฉัยโรคเองและ ซื้อยาหรือวิตามินหรือสมุนไพรรับประทานเอง ซึ่งอาจจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพของท่าน
  • โปรดจำไว้ว่ายาหรือสมุนไพรอาจจะมีผลต่อยาที่ท่านรับประทานอยู่
  • ยาหรือสมุนไพรอาจจะมีผลต่อการตรวจเลือดและปัสสาวะ
  • เมื่อเวลาจะใช้ให้เริ่มใช้เพียงชนิดเดียว ให้จดชื่อยาและผลข้างเคียงของยา
  • อย่ารับประทานยาหรือสมุนไพรเกิน 3 เดือนโดยที่ไม่ได้รับการตรวจประเมินจากแพทย์
  • ยาหรือสมุนไพรบางอย่างต้องรับประทานระยะหนึ่งจึงจะออกฤทธิ์
  • อย่ารับประทานยาวิตามินหรือสมุนไพรเป็นปริมาณมาก เพราะอาจจะเกิดยาเกินขนาด
  • ต้องบอกชื่อยาและสมุนไพรให้แพทย์ทราบ
  • หากเกิดอาการผิดปกติให้แจ้งแก่แพทย์

รายการข้างล่างเป็นวิตามินที่อาจจะนำมาใช้บรรเทาอาการของโรคข้อ

Vitamin A
ประโยชน์ เป็นวิตามินต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันทำลายเซลล์

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีทั้งรายงานว่าได้ผลและไม่ได้ผล มีรายงานหนึ่งหากใช้ร่วมกับวิตามิน อี จะช่วยชะลอการดำเนินของโรคข้อเสื่อม แต่อีกรายงานหนึ่งบอกทำให้ทำให้ข้อเสื่อมเป็นมากขึ้น

ขนาดที่ใช้ แนะนำให้ใช้ 700-900mcg

ข้อแนะนำ ไม่แนะนำให้รับประทานเกินกำหนด แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน เอได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ ผักใบเขียว ผลไม้สีส้ม หากได้มากไปอาจจะเกิดพิษ


Vitamin B3 หรือ Niacin
ประโยชน์ ใช้รักษาอาการของโรคข้อคือ ปวดข้อ ข้อติด อาการของโรคข้อเสื่อมและรูมาตอยด์

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีรายการศึกษาพบว่าหากผู้ป่วยได้รับวิตามิน B3 รวมกับยาแก้ปวดสามารถลดปริมาณยาแก้ปวดได้ร้อยละ 13

ขนาดที่ใช้ 10-25 มก.ต่อวัน

ข้อแนะนำ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานอาจจะทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น แหล่องอาหารสำคัญคือ เนื้อ ปลา ถัว ยีสต์


Vitamin B5 Panothentic acid
ประโยชน์ ใช้ลดอาการปวด และข้อติดของโรครูมาตอยด์

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีรายงานว่าวิตามิน B5 ช่วยลดอาการข้อติดและอาการปวดในผู้ป่วยโรค

ขนาดที่ใช้ ขนาดที่ใช้ 250 มก.ต่อวัน

ข้อแนะนำ หากได้วิตามินมากไปจะทำให้เกิดท้องร่วง แหล่งอาหารที่สำคัญคือ ถั่ว เนื้อสัตว์ ธัญพืช ไข่

 

Vitamin B6 Pyridoxine Vitamin B12
ประโยชน์ ลดระดับ homocysteine ในผู้ป่วยโรค SLE

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานว่าการได้รับวิตามิน B6ร่วมกับกรดโฟลิกจะลดระดับhomocysteine ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเกิดอัมพาตและ SLE

ขนาดที่ใช้ B6 5 mg.B12 1MG ร่วมกับกรดโฟลิก 1 mg

ข้อแนะนำ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ แหล่องอาหารที่สำคัญได้แก่ ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ ปลา กล้วย ธัญพืช

 

Vitamin C Ascorbic acid
ประโยชน์ เป็นส่วนสำคัญในการสร้าง collagen และซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ใช้รักษาข้อเสื่อม

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ จากการศึกษาพบว่าการรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อเสื่อมและชะลอการเกิดข้อเสื่อม แต่การศึกษาในสัตว์ให้ผลแย้งกัน

ขนาดที่ใช้ ขนาดที่แนะนำ 75-90 มก.ต่อวัน

ข้อแนะนำ วิธีดีที่สุดคือได้วิตามินซีจากธรรมชาติแหล่องอาหารที่ดีคือผลไม้รสเปรียว ผัก การได้รับวิตามิน ว๊ระดับสูงจะทำให้เกิดอาการปวดท้องและท้องร่วง

 

Calcium
ประโยชน์ เมื่อใช้ร่วมกับวิตามิน ดีจะป้องกันกระดูกพรุน มีบทบาทในการแข็งตัวของเลือดและการบีบตัวของกล้ามเนื้อ

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ผู้หญิงวัยทองทุกคนควรได้รับแคลเซียมเสริมทุกคน

ขนาดที่ใช้ ขนาดที่ใช้ 1000-1200 มก.วัน

ข้อแนะนำ หากมีนิ่วในไตไม่ควรรับแคลเซียม การได้รับวิตามิน ดี และฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเพิ่มการดูดซึมธาตุแคลเซียม แหล่องอาหารที่สำคัญคือ นม เนื้อสัตว์ ปลา ถั่วเหลือง นม

 

Vitamin D
ประโยชน์ สร้างเนื้อกระดูก ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ช่วยชะลอการเกิดโรคข้อเสื่อม

ขนาดที่ใช้ ขนาดที่ใช้ 400-800 IU ต่อวัน

ข้อแนะนำ เราสามารถสังเคราะห์วิตามิน ดีจากแสงอาทิตย์ ไม่ควรได้รับวิตามินนี้ในรายที่มีนิ่วในไต แหล่องสำคัญของอาหารคือ ปลาแซลมอน

 

Vitamin E
ประโยชน์ ลดอาการของโรคข้อเสื่อมและรูมาตอยด์

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ลดอาการปวดข้อในโรคข้อเสื่อมและรูมาตอยด์

ขนาดที่ใช้ ขนาดที่ใช้รักษาอาการปวดข้อคือ 400-600 IU ต่อวัน

ข้อแนะนำ ขนาดสูงอาจจะทำให้เลือดออก แหล่องอาหารที่สำคัญคือธัญพืช ถัว น้ำมันพืช

 

Folic acid
ประโยชน์ ลดระดับ homocysteine

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานว่าการได้รับวิตามิน B6ร่วมกับกรดโฟลิกจะลดระดับ homocysteine ซึ่งมีส่วนสำคัญในการเกิดอัมพาตและ SLE

ขนาดที่ใช้ B6 5 mg.B12 1MG ร่วมกับกรดโฟลิก 1 mg

ข้อแนะนำ การใช้วิตามินขนาดสูงจะมีปัญหาทางอารมณ์ แหล่องอาหารที่สำคัญคือ ผักและผลไม้

 

Magnesium
ประโยชน์ ลดอาการปวดและการอักเสบ

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีหลักฐานว่าสามารถลดอาการปวดในโรคfibromyalgia

ขนาดที่ใช้ ขนาดที่ใช้ 300-600 มก.ต่อวัน

ข้อแนะนำ โรคfibromyalgiaเกิดจากการขาดธาตุนี้เมื่อได้รับธาตุนี้จะทำให้อาการดีขึ้นอาจจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง ไม่ควรใช้ในคนที่มีโรคไต แหล่องอาหารคือถัว ธัญพืช

 

Manganese
ประโยชน์ ป้องกันโรคกระดูกพรุน ลดอาการปวดข้อจากโรคข้อเสื่อม

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ รับประทานร่วมกับสังกะสี ทองแดงและแคลเซียมป้องกันโรคกระดูกพรุน หากได้ธาตุนี้ร่วมกับสาร glucosamine-chondroitin-manganese จะช่วยลดอาการปวดในข้อเสื่อม

ขนาดที่ใช้ 5 มก.ต่อวัน

ข้อแนะนำ ใช้ขนาดสูงอาจจะทำให้เกิดมือสั่น เกร็ง ไม่ควรใช้ในโรคตับ แหล่องอาหารที่สำคัญคือ ผักใบเขียว ถั่ว ชา ธัญพืช

 

Selenium
ประโยชน์ ลดอาการปวด ข้อติดและการอักเสบของโรครูมาตอยด์

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาที่ได้ผลดีต้องได้รับร่วมกับน้ำมันปลา

ขนาดที่ใช้ 50-200mcg ต่อวัน

ข้อแนะนำ ธาตุนี้เราต้องการเพียงเล็กน้อยหากได้มากไปอาจจะเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย แหล่องอาหารคือ ตับ ปลา ปู ข้าวสาลี

 

Zinc Sulfate
ประโยชน์ ลดอาการปวด ข้อติดและการอักเสบของโรครูมาตอยด์และโรคเรื้อนกวาง

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ยังมีหลักฐานไม่มากสนับสนุนในการใช้

ขนาดที่ใช้ 12-15 mgต่อวัน

ข้อแนะนำ ก่อให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน การดื่มกาแฟจะลดการดูดซึมของธาตุสังกะสี รบกวนการทำงานของsteroid แหล่งอาหารคือ เนื้อ นม ไข่ขาว ถั่ว ข้าวสาลี


แหล่งที่มา : siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด