สาเหตุของโรคโลหิตจาง การพยาบาลโรคโลหิตจาง โรคโลหิตจางกินอะไร
| | อาการหน้าซีด ตัวซีด เป็นดัชนีชี้วัดตัวหนึ่งของโรคโลหิตจาง มาดูลักษณะอาการที่แท้จริง สาเหตุและการแก้ไขอีกครั้ง โลหิตจาง คือการที่เม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ นั่นคือระดับค่าฮีโมโกลบินในเลือดต่ำกว่า 13 กรัม/เดซิลิตรในผู้ชาย หรือ 12 กรัม/เดซิลิตร ในผู้หญิง ถ้าคิดเป็นค่าฮีมาโตคริต คือความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่า 39 %ในผู้ชาย และต่ำกว่า 36 %ในผู้หญิง
| ฮีโมโกลบินเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำพาออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่าง ๆ ตลอดจนแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยการขนเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป ถ้าฮีโมโกลบินมีจำนวนน้อยไป จะทำให้เนื้อเยื่ออวัยวะต่าง ๆ ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ และเกิดการสะสมคั่งค้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จะทำให้รู้สึกเหนื่อยง่าย อาการที่สำคัญของภาวะโลหิตจาง คือ ตัวซีดเหลือง มีอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น เบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย มึนงงศีรษะ รู้สึกหน้ามืด บางรายหากโลหิตจางมาก ๆ อาจะเป็นลมหมดสติ หัวใจทำงานหนักจนหัวใจวายได้ ส่วนสาเหตุของโลหิตจางที่พบได้บ่อยนั้น ได้แก่ - ซีดจากการสูญเสียเลือด มาจากการสูญเสียเลือดในปริมาณมากกว่า 1 ใน 3 จากอุบัติเหตุ หรือแผลในกระเพาะอาหาร ประจำเดือน หรืออาจมาจากโรคที่ทำให้มีการเสียเลือด ได้แก่ โรคกระเพาะอาหาร โรคริดสีดวงทวาร โรคหลอดเลือดโป่งพอง โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งโรคเหล่านี้จะมีอาการเลือดออกจากทางเดินอาหาร ซึ่งจะเห็นได้จากเวลาถ่ายอุจจาระแล้วมีเลือดปนออกมาหรือถ่ายดำ หรือสาเหตุที่พบบ่อยอีกอย่าง คือ การทานยาแก้ปวดแก้เมื่อยเป็นประจำ แล้วยาระคายกระเพาะอาหาร ทำให้อักเสบ มีแผลเกิดเลือดออกได้ - ซีดจากการขาดสารอาหาร ทั้งในเด็กและผู้สูงอายุ โดยสารอาหารตัวสำคัญคือ ธาตุเหล็ก วิตามินบี 12 และกรดโฟลิก ซึ่งอาจเกิดจากการเบื่ออาหาร มีโรคประจำตัวบางอย่าง เลือกรับประทานอาหาร เป็นต้น - ซีดจากโรคเรื้องรัง เช่น ไตวาย โรตับ ข้ออักเสบ เป็นต้น ทำให้ร่างกายสร้างเม็ดเลือดได้น้อยกว่าปกติ หรืออาจเกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไขกระดูกเสื่อม เป็นต้น - ภาวะเม็ดเลือดแดงมีรูปร่างผิดปกติ ส่งผลให้ม้ามทำลายเม็ดเลือดแดงเหล่านั้นเสีย ซึ่งถ้าหากเม็ดเลือดแดงเหล่านั้นมีรูปร่างผิดปกติเป็นจำนวนมาก ก็จะถูกทำลายสูง ร่างกายก็จะมีเม็ดเลือดแดงลดลง นอกจากนี้ความผิดปกติในการสร้างเม็ดเลือดแดง อันเนื่องมาจากการขาดสารอาหาร ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจางขึ้นได้ โลหิตจางเพราะขาดสารอาหาร เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท 1.โลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก เป็นภาวะที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด สาเหตุมาจาก - ร่างกายต้องการธาตุเหล็กในปริมาณที่เพิ่มขึ้น จะเกิดขึ้นในช่วงที่มีการเจริญเติบโตสูงสุดของทารก และวัยรุ่น ในหญิงตั้งครรภ์ และสตรีที่ให้นมบุตร - การบริโภคอาหารที่ขาดธาตุเหล็กเป็นประจำ - การดูดซึมธาตุเหล็กลดลง (พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ) เนื่องจากมีการหลั่งของกรดเกลือ (กรดไฮโดรคลอริก) ในกระเพาะอาหารลดลง ท้องเสียเรื้อรัง การกินยาลดกรดในกระเพาะ - การสูญเสียเลือดจากประจำเดือน แผลในกระเพาะอาหาร ผลกระทบต่อร่างกาย คือ ทำให้เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง และเอนไซม์ที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบทำงานได้ไม่เต็มที่ มีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การเรียนรู้ และระดับพลังงานลดลง วิธีแก้ “ตับ” เป็นแหล่งอาหารที่ดีสุดของผู้ที่มี่ภาวะโลหิตจาง เพราะมีธาตุเหล็กและวิตามินบีในปริมาณที่สูง จึงสามารถใช้ได้กับผู้ที่มีภาวะโลหิตจางได้ทุกประเภท แต่ก็ยังมีอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กอื่น ๆ อีก ได้แก่ ผักสีเขียวเข้ม ถั่วแห้ง เนื้อไม่มีมัน เครื่องใน ผลไม้แห้ง อัลมอนด์ สัตว์น้ำมีเปลือก เช่น กุ้ง ปู หอย เป็นต้น อย่างไรก็ดี อาหารบางประเภทอาจไปยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กได้ จึงควรหลีกเลี่ยง ชา กาแฟ ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร หรือการบริโภคแคลเซียมเสริมมากเกินไป
| 2.โลหิตจางเนื่องจากขาดวิตามินบี 12สาเหตุ ได้แก่ - ความผิดปกติในการดูดซึมวิตามินบี 12 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยกว่าการบริโภคอาหารที่ขาดวิตามินบี 12 - การบริโภคอาหารที่ขาดวิตามินบี 12 โดยจะพบในผู้ที่ทานมังสวิรัติที่ไม่กินแม้แต่นมหรือไข่เลย ผู้ที่ขาดวิตามินบี 12 จะไม่ปรากฏอาการในทันที เนื่องจากร่างกายจะสะสมวิตามินบี 12 ไว้ที่ตับและไต ดังนั้นอาการจะปรากฏหลังจากนั้น 5 ปี
| | อาการที่เกิดขึ้นจากการขาดวิตามินบี 12 นั้น ได้แก่ ซีด เหนื่อยง่าย หายใจสั้น ๆ ลิ้นบวมเป็นแผลเจ็บ ท้องเสีย มีผลกระทบต่อระบบหัวใจและประสาท มีอาการชา เจ็บแปล๊บ ๆ ที่แขนและขา มีภาวะอัลไซเมอร์ วิธีแก้ไข แหล่งของวิตามินบี 12 ส่วนใหญ่จะมาจากสัตว์ อาหารที่มีวิตามินบี 12 เยอะที่สุด คือ ตับและไต รองลงมาคือ ไข่ ปลาชีส เนื้อสัตว์ และสำหรับผู้ที่กินมังสวิรัติ จะได้รับวิตามินบี 12 จากอาหารหมักประเภท tempeh miso 3.โลหิตจางเนื่องจากขาดกรดโฟลิก สาเหตุสำคัญ ได้แก่ - การดื่มสุรา แอลกอฮอล์จะขัดขวางการดูดซึมของกรดโฟลิก ตลอดจนขบวนการเผาผลาญของกรดโฟลิก - ขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายต้องการโฟลิกในปริมาณมากเพื่อใช้สร้างอวัยวะเด็ก - ยา เช่น ยารักษามะเร็ง ยารักษาลมชัก ยาคุมกำเนิดชนิดกิน - ภาวะท้องเสียเรื้อรัง ทำให้เกิดความผิดปกติในการดูดซึมอาหาร อาการของผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะเหมือนกับผู้ที่มีโลหิตจางทั่วไป แต่จะมีอาการท้องเสีย หดหู่ และซึมเศร้าร่วมด้วย สามารถแก้ไขได้ ด้วยการบริโภคอาหารที่มีกรดโฟลิกสูง ได้แก่ ตับ หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วแห้ง ผักใบเขียวเข้ม เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ สำหรับผักผลไม้ ควรรับประทานสดจะทำให้ได้รับโฟลิกอย่างเต็มที่ รู้สาเหตุกันไปแล้ว ถ้าไม่อยากให้ภาวะเกิดโลหิตจางเกิดขึ้น ก็ต้องหาทางป้องกัน แต่หากเป็นแล้วก็มีวิธีการแก้ไขเช่นกัน - ไม่รับประทานยาชุด แก้ปวดเมื่อย แก้อักเสบ ยาหม้อ ยาลูกกลอน เนื่องจากยาเหล่านี้มักระคายกระเพาะอาหาร ทำให้มีการปวดเสียดท้อง ท้องอืด เลือดออกในกระเพาะ ไปจนถึงกระเพาะอาหารทะลุได้ - รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะโปรตีนและอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ได้แก่ ไข่ เนื้อสัตว์ ตับ ไต เมล็ดธัญพืช ได้แก่ ถั่ว งา เมล็ดฟักทอง ลูกเดือย เป็นต้น - หากมีอาการปวด เสียดแน่นท้อง ขับถ่ายอุจจาระผิดไปจากเดิม ถ่ายดำหรือมีเลือดปน เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เลือกออกตามไรฟัน เลือดกำเดาออกเรื้อรัง จ้ำเลือดออกตามตัว ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุ - ถ้ามีอาการสงสัยว่าเป็นโรคหิตจาง ควรไปตรวจยืนยันและแพทย์ต้องตรวจหาสาเหตุเสมอว่าทำไมถึงโลหิตจาง จากนั้นจึงรักษาตามสาเหตุ และแพทย์อาจจะให้ยาบำรุงเลือดมาทานด้วย อยากลืมใส่ใจตัวเอง เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณ | | | | |
แหล่งที่มา : never-age.com