อาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สาเหตุโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน


607 ผู้ชม


อาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สาเหตุโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน

โรคเอแอลเอส : โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง สาเหตุโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน
เมื่อไม่นานมานี้มีข่าวการเสียชีวิตของร้อยตำรวจเอกพเยาว์ พูลธรัตน์ นักกีฬาที่ทำชื่อ
เสียงให้กับประเทศไทยมาแล้ว โดยเป็นนักมวยไทยคนแรกที่ได้เหรียญทองแดงจากการ
แข่งขันกีฬาโอลิมปิค สำหรับสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตเกิดจากการเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เรียกว่า 
โรคเอแอลเอสหรือโรคอะไมโอโทรฟิค แลเทอรอล สเคอโรซิส 
(ALS : Amyotrophic Lateral Sclerosis) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคเอแอลเอสมีพบค่อนข้างน้อยมาก ในต่างประเทศจะพบโรคนี้ 1 คนต่อประชากร 
100,000 คน สำหรับในประเทศไทยมีพบผู้ป่วยน้อยมาก จากข้อมูลของสถาบัน
ประสาทวิทยาจะมีผู้มารักษาปีละประมาณ 100–150 คนและรับรักษาเป็นผู้ป่วยใน
ปีละประมาณ 5 คน เท่านั้น โรคนี้ยังไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่เคยมีรายงาน
ว่าผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะมีบุคคลในครอบครัวหรือญาติพี่น้องเคยเป็นโรคมาก่อน 
แต่ยังไม่ทราบว่าเป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
โรคเอแอลเอสเกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้าม
เนื้อแขนขา ลำตัว การกลืนและการหายใจ อาการที่ปรากฏจะเกิดการอ่อนแรงของกล้าม
เนื้อแขนหรือขาหรือเกิดกับทั้งแขนและขาไปพร้อม ๆ กัน อาการอ่อนแรงจะรุนแรงมากขึ้น
เรื่อยๆจนกระทั่งเกิดกับกล้ามเนื้อควบคุมการกลืนการพูดและการหายใจ จึงเสียชีวิตในที่สุด
สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคเอแอลเอสนั้น แพทย์จะสังเกตจากอาการพบคลีนิคที่มีลักษณะ
การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนหรือขา โรคนี้ยังไม่มียารักษาให้หายเป็นปกติได้ ถ้าหากพบ
ว่าผู้ป่วยแล้วก็จะให้การรักษาด้วยยาไรลูโซนเพื่อบรรเทาอาการของโรค จึงสามารถยืดอายุ
ผู้ป่วยออกไปได้อีกระยะหนึ่ง ส่วนมากผู้ป่วยจะอยู่รอดได้อีก 3–4 ปี แต่ผู้ป่วยร้อยละ 20 
สามารถอยู่รอดได้นาน 5 ปี และผู้ป่วยร้อยละ 10 สามารถอยู่รอดได้นาน 8 ปี
โรคเอแอลเอสหรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดได้กับบุคคลและเมื่อมี
อาการของโรคแล้วก็ยังไม่มียารักษาให้หายเป็นปกติได้ การรักษาจึงเพียงแต่ช่วยบรรเทา
อาการรุนแรงของโรค เพื่อช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้ยาวนานไปได้อีกระยะหนึ่งเท่านั้น
และเนื่องจากโรคนี้ยังไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใด โอกาสการป้องกันการเกิดโรคจึงทำได้
ค่อนข้างยาก วิธีที่ดีที่สุดก็คือหมั่นสังเกตสุขภาพของตนเอง ถ้าหากรู้สึกว่ามีการอ่อนแรง
ของกล้ามเนื้อแขนหรือขาก็ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็วเพื่อตรวจวินิจฉัย ถ้าพบว่าเป็นโรคนี้ 
จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที จะช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคได้ด้วยครับ
รศ.บัญญัติ สุขศรีงาม
มติชน 

แหล่งที่มา : bloggang.com

อัพเดทล่าสุด