อธิบายฉลากโภชนาการ การอ่านฉลากโภชนาการ การดูฉลากโภชนาการ


2,175 ผู้ชม


อธิบายฉลากโภชนาการ การอ่านฉลากโภชนาการ การดูฉลากโภชนาการ

ฉลากโภชนาการให้อะไรกับผู้บริโภค
อธิบายฉลากโภชนาการ การอ่านฉลากโภชนาการ การดูฉลากโภชนาการ  

          การแสดงฉลากโภชนาการ คือ การแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารนั้นๆ บนฉลากในรูปของชนิด และปริมาณของสารอาหาร โดยอยู่ภายในกรอบที่มีรูปแบบเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า กรอบข้อมูลโภชนาการ ซึ่งระบุ ชนิดสารอาหารและปริมาณสารอาหาร นอกจากนั้น ยังรวมถึงการใช้ข้อความ กล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น โปรตีนสูง เสริมวิตามินซี เป็นต้น 
          ทำไมจึงต้องมีการแสดงฉลากโภชนาการ
          ในยุคปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า การกินมีผลโดยตรงต่อสุขภาพ โรคที่เกี่ยวข้องกับภาวะโภชนาการของคนไทย มีทั้งภาวะขาด เช่น ขาดโปรตีน ขาดไอโอดีน โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ภาวะเกิน เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคโคเลสเตอรอลสูงในเลือด โรคความดันโลหิตสูง ดังนั้น การเลือกบริโภคให้ถูกต้องเหมาะสมกับภาวะโภชนาการของแต่ละคน จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดูแลสุขภาพ 
          ประโยชน์ของฉลากโภชนาการ  ฉลากโภชนาการช่วยให้ผู้บริโภค
          1. เลือกซื้ออาหารและเลือกบริโภคให้เหมาะสมกับความต้องการ หรือภาวะทางโภชนาการของตนได้ เช่น เลือกอาหารที่ระบุว่ามีโคเลสเตอรอลต่ำ หรือ มีโซเดียมต่ำ 
          2. เปรียบเทียบเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารชนิดเดียวกัน โดยเลือกที่มีคุณค่าทางโภชนาการดีกว่าได้ 
          3. ในอนาคต เมื่อผู้บริโภคสนใจ ต้องการข้อมูลโภชนาการของอาหาร ผู้ผลิตก็จะแข่งขันกันผลิตอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า แทนการแข่งขันกันในเรื่องหีบห่อ สี หรือสิ่งจูงใจภายนอกอื่นๆ
อธิบายฉลากโภชนาการ การอ่านฉลากโภชนาการ การดูฉลากโภชนาการ           อาหารทุกชนิดต้องแสดงฉลากโภชนาการหรือไม่ ?
          คำตอบคือ "ไม่" เพราะการแสดงฉลากโภชนาการตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 182) พ.ศ. 2541 เรื่องฉลากโภชนาการ เป็นการแสดงโดยสมัครใจสำหรับอาหารทุกชนิดทั่วไป แต่จะบังคับให้อาหารที่มีการกล่าวอ้าง ต้องแสดงฉลากโภชนาการ  ดังนั้น สำหรับผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ถูกบังคับให้แสดงฉลากโภชนาการตามประกาศฯฉบับนี้ ก็สามารถจะแสดงฉลากโภชนาการโดยสมัครใจได้ แต่ต้องเป็นไปตามรูปแบบและเงื่อนไขที่กำหนด
          อาหารใดเข้าข่ายว่ามีการกล่าวอ้าง ?
          1. อาหารที่มีการกล่าวอ้างทางโภชนาการ เช่น แคลเซี่ยมสูง เสริมวิตามิน หรือระบุคุณประโยชน์ เช่น แคลเซียมเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน ทั้งนี้รวมถึงอาหารที่มีการแสดงข้อมูลชนิดและปริมาณสารอาหารด้วย เช่น อาหารที่มีการแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการ 

          2. อาหารที่มีการใช้คุณค่าในการส่งเสริมการขาย ซึ่งเป็นคุณค่าทางอาหาร/โภชนาการ เช่น บำรุงร่างกาย เพื่อสุขภาพ สดใสแข็งแรง อนึ่งการระบุคุณค่าในลักษณะของป้องกันหรือรักษาโรค เช่น ลดความอ้วน ป้องกันมะเร็ง จะไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงบนฉลากอาหารอยู่แล้ว 
          3. อาหารที่ระบุกลุ่มผู้บริโภคในการส่งเสริมการขาย เช่น สำหรับผู้บริหาร สำหรับเด็ก หรือสำหรับกลุ่มบุคคลต่างๆ โดยทั่วไปในลักษณะเดียวกัน โดยที่มิใช่กลุ่มผู้ป่วยและไม่มีกระบวนการตรวจสอบ ทราบถึงความเหมาะสมเฉพาะที่อ้าง เนื่องจากอาจไม่มีการกำหนดค่าความต้องการทางโภชนาการเฉพาะไว้แน่ชัด หรือสาเหตุอื่นๆ การระบุกลุ่มนี้ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดว่าอาหารนั้นมีคุณค่าทางโภชนาการพิเศษเฉพาะ ดังนั้นจึงต้องถูกบังคับให้แสดงข้อมูลโภชนาการ ให้ผู้บริโภคมีโอกาสตัดสินใจเลือกความเหมาะสมสำหรับกลุ่มนั้นเองจากกรอบข้อมูลโภชนาการ 
          นอกจากนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยังอาจประกาศกำหนดให้อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในด้านคุณค่า คุณประโยชน์ทางโภชนาการอย่างแพร่หลาย ต้องแสดงฉลากโภชนาการก็ได้
          ข้อมูลโภชนาการที่แสดงบนฉลาก
          1. ข้อมูลที่บังคับ คือ ข้อมูลสารอาหารที่มีความสำคัญหลักสำหรับคนไทย ได้แก่ ปริมาณพลังงานทั้งหมด และปริมาณพลังงานที่ได้จากไขมัน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน วิตามิน เกลือแร่ โดยเฉพาะที่สำคัญสำหรับภาวะโภชนาการของคนไทยปัจจุบัน คือ วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 แคลเซียม เหล็ก สารอาหารที่ต้องระวังไม่ให้กินมากเกินไป ได้แก่ โคเลสเตอรอล โซเดียม ไขมันอิ่มตัว และน้ำตาล สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ใยอาหาร นอกจากนั้น ยังบังคับเพิ่มเติมในกรณีต่อไปนี้ด้วย คือ สารอาหารที่มีการเติมลงในอาหาร (Fortification/Nutrification) สารอาหารที่มีการกล่าวอ้าง เช่น หากระบุว่า "มีไอโอดีน" ไอโอดีนก็จะกลายเป็นสารอาหารที่บังคับให้แสดงในกรอบข้อมูลโภชนาการด้วย 
          2.ข้อมูลที่ไม่บังคับ (นอกจากที่กำหนดในข้อมูลบังคับ) ก็สามารถใส่ในฉลากได้ เช่น วิตามินเกลือแร่อื่นๆ ก็สามารถใส่ในฉลากได้ แต่ต้องระบุต่อท้ายจาก เหล็ก และเรียงจากมากไปหาน้อยด้วย

อธิบายฉลากโภชนาการ การอ่านฉลากโภชนาการ การดูฉลากโภชนาการ
ขอขอบคุณข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

 


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด