อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจโตอันตรายไหม ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโรคหัวใจ


1,386 ผู้ชม


อาการของโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจโตอันตรายไหม ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโรคหัวใจ

โรคหัวใจคือ

  คำว่า “โรคหัวใจ” เป็นคำที่กว้างมาก ฟังดูน่ากลัวมากสำหรับผู้ป่วย ในความเป็นจริงแล้วโรคหัวใจแบ่งย่อยออกได้มากมายหลายชนิด ความรุนแรง และความจำเป็นในการรักษาก็แตกต่างกัน ดังนั้นหากคุณหมอบอกท่านว่าท่านเป็นโรคหัวใจ ท่านควรจะทราบ รายละเอียดเกี่ยวกับความเจ็บป่วย ของท่านมากขึ้น ว่าท่านเป็นโรคหัวใจชนิดใด เกิดจากอะไรและมีแนวทางการรักษาอย่างไร

โรคหัวใจ

หัวใจคือกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่สูบฉีดโลหิต ซึ่งมีออกซิเจนและสารอาหาร ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ จะเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อหัวใจ ได้รับออกซิเจนจากหลอดเลือดแเดง หัวใจสองเส้นหลัก ซึ่งมีเครือข่ายครอบคลุม พื้นที่ทุกส่วนของหัวใจ แต่หากหลอดเลือดทั้งสองนี้ผิดปกติไป ก็อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

คำว่า โรคหัวใจ เป็นคำที่กินความกว้างๆ ครอบคลุมโรค ภาระ และอาการหลายอย่างเกี่ยวกับหัวใจ รวมทั้งความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ ลิ้นหัวใจ และตัวคุมจังหวะซึ่งทำหน้าที่ ควบคุมการเต้นของหัวใจ ให้สม่ำเสมอเป็นปกติด้วย โรคหัวใจที่เป็นสาเหตุการตายสูงสุด ในกลุ่มประชากรทางซีกโลกตะวันตก และมีอุบัติการณ์สูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยคือ โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเกิดจากการมีตะกรันเกราะอยู่ภายในผนังหลอดเลือดหัวใจ ทำให้รูหลอดเลือดแคบลง ตะกรันนี้ประกอบด้วยคอเลสเตอรอล โปรตีน และเศษเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว เมื่อผนังหลอดเลือดหัวใจมีตะกรันมากขึ้น รูหลอดเลือดจะแคบลง ทำให้หลอดเลือดแข็งและขาดความยืดหยุ่นผลที่ตามมาคือ ความดันโลหิตจะสูงขึ้น และเกิดการแตกร้าวที่ผนังหลอดเลือด เมื่อผนังหลอดเลือดมีรอยร้าว ก็อาจทำให้มีลิ่มเลือดมีรอยร้าว ก็อาจทำให้มีลิ่มเลือดมาอุดตัน จนทำให้รูหลอดเลือดทั้งหมดอุดตันได้ในที่สุด

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็งนั้นมีหลายอย่าง โดยการเกิดโรคนั้นเป็นผลรวม ของภาวะที่หลอดเลือดแดงหัวใจ ตีบตันเนื่องจากมีตะกรันอุดตัน ความดันโลหิตสูง รวมทั้งการเกิดลิ่มเลือด ที่เรียกว่าโรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อเป็นโรคนี้แล้ว จะทำให้เกิดอาการ เจ็บหน้าอกและอาการหัวใจล้มตามมา

อาการปวดเค้นหัวใจ

 อาการปวดเค้นหัวใจเป็นสัญญาณเตือนแรกของโรคหลอดเลือดหัวใจ เกิดจากการมีตะกรัน ไปจับที่ผนังหลอดเลือดหัวใจ จนเลือดผ่านไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง เมื่อร่างกาย ต้องการออกซิเจนมากขึ้น หัวใจจะเต้นเร็วขึ้น ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดเค้นที่หัวใจ เช่น เมื่อเดินขึ้นบันได วิ่งขึ้นรถเมล์ โกรธจัด อารมณ์เสีย ตื่นเต้น เผชิญอากาศหนาวเย็น กินมากไป และมีเพศสัมพันธ์ อาการจะเริ่มจากความรู้สึกแน่นและปวดเค้นที่หน้าอก และอาจร้าวไปที่คอหรือแขนข้างซ้าย หากได้พักราวสองสามนาทีหรือใช้ยาแล้วก็มักหายปวด แต่บางครั้งก็อาจเกิดอาการ ขณะนั่งพักหรือพักผ่อนอยู่เฉยๆ เรียกว่า อาการปวดเค้นหัวใจ แบบไม่คงที่ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ว่า หลอดเลือดหัวใจตีบตันมากขึ้น อาการปวดเค้นหัวใจ เป็นสัญญาณเตือน ให้ทั้งผู้ป่วยและแพทย์ทราบว่าถึงเวลา ที่ต้องตรวจหลอดเลือดหัวใจแล้ว รวมทั้งต้องเริ่มปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และรักษาด้วยยาถ้าจำเป็น

อาการหัวใจล้ม

อาการหัวใจล้ม หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด เกิดจากการมีลิ่มเลือดหรือตะกรัน ไปอุดหลอดเลือดแดงของหัวใจจนตีบตัน ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเพราะขาดออกซิเจน อาการอาจรุนแรงขึ้นหากการส่งคลื่นไฟฟ้า ที่ควบคุมการเต้นของหัวใจถูกกระทบกระเทือน ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว ทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจ ไม่สัมพันธ์กันจนกระทั่งไม่สามารถสูบฉีดโลหิตได้

การช่วยชีวิตผู้ป่วยอาการหัวใจล้มนั้นจำเป็นต้องใช้วิธีกู้ชีพและช็อคด้วยไฟฟ้า นอกจากนี้ผู้ป่วยจะต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือดทันทีเพื่อลดความเสียหายของกล้ามเนื้อหัวใจ หลังจากนั้นกล้ามเนื้อหัวใจ ที่ตายจะกลายเป็นแผลเป็น หากกล้ามเนื้อหัวใจตาย ไปเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยจะกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ แต่ต้องลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำอีก

ภาวะหัวใจทำงานล้มเหลว

ภาวะหัวใจทำงานล้มเหลวหมายถึง หัวใจที่มีสภาพกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงจนไม่มีกำลังสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ อาจเกิดจากการที่กล้ามเนื้อหัวใจ บางส่วนถูกทำลาย เนื่องจากอาการหัวใจล้ม หรือเกิดจากโรคต่างๆ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจพิการ การติดเชื้อไวรัส โรคความดันโลหิตสูง หรือการที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะควบคุมให้เลือด ไหลไปในทิศทางเดียวกัน หนึ่งในสี่ลิ้นปิดหรือเปิดได้ไม่เต็มที่

ผู้ป่วยภาวะหัวใจทำงานล้มเหลว จะมีระบบไหลเวียนโลหิต ที่ไม่ดีเหมือนคนปกติ จึงทำให้มีของเหลว คั่งค้างอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมาก โดยเฉพาะที่ขาและปอด ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย หายใจไม่ออกและข้อเท้าบวม ในปัจจุบันสามารถรักษาได้ โดยการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเท่านั้น ส่วนการใช้ยาและปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต ก็อาจช่วยบรรเทาอาการ ไม่ให้ทุกข์ทรมานมากนัก

ส่วนภาวะหัวใจเสียจังหวะนั้น อาจเกิดจากความผิดปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติในเซลล์ของตัวคุมจังหวะหัวใจ ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจหลายสิบล้านเซลล์ทำงานไม่สัมพันธ์กัน การรักษาโดยการผ่าตัดฝังอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก เพื่อควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ อาจช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจมีหลายประการ ผู้มีปัจจัยเสี่ยงมากก็จะเป็นโรคง่ายขึ้น ที่สำคัญที่สุดคือกรรมพันธุ์ การบริโภคอาหารไขมันสูง การสูบบุหรี่ และโรคความดันโลหิตสูง ส่วนปัจจัยอื่นๆ ก็เช่น โรคเบาหวาน การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ไม่ได้ออกกำลังกาย และความเครียด ผู้ที่มีคนในครอบครัว เช่น บิดามารดาหรือพี่น้องเกิดภาวะหัวใจล้มมาก่อน โดยเฉพาะหากเป็นตอนอายุต่ำกว่า 55 ปี จะเสี่ยงต่ออาการหัวใจล้มมากกว่าปกติ ส่วนสมาชิกในครอบครัวที่มักมีพฤติกรรมไม่ดีตามๆ กัน เช่น ชอบกินอาหารไขมันสูง ก็อาจทำให้เป็นโรคทางกรรมพันธุ์เหมือนๆ กัน เช่น ภาวะมีคอเลสเตอรอลมาก ในครอบครัวซึ่งส่งผลให้ กระบวนการกำจัดคอเลสเตอรอล ออกจากกระแสโลหิต ได้ผลเพียงครึ่งเดียว นอกจากนี้ ระดับคอเลสเตอรอล ในเลือดที่สูงขึ้นยังอาจทำให้ เกิดอาการปวดเค้นหัวใจอาการหัวใจล้ม และเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นเด็กหรือหนุ่มสาว ภาวะมีคอเลสเตอรอลมากในครอบครัวเช่นนี้พบได้ราว 1 ใน 500 คน หากพบผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ทุกคนในครอบครัวต้องตรวจร่างกายเพื่อป้องกันโรคต่างๆ ไว้แต่เนิ่นๆ เนื่องจากหากได้รับการวินิจฉัยทันท่วงที และดูแลตนเอง ด้วยการบริโภคอาหารไขมันต่ำ อย่างเคร่งครัด ร่วมกับใช้ยาลดระดับคอเลสเตอรอล ก็จะทำให้อายุยืนได้ไปจนแก่เฒ่า

สาเหตุหลักของการบริโภคที่ทำให้ระดับ คอเลสเตอรอลในเลือดสูงนั้น ไม่ได้เกิดจากการกินอาหาร ที่มีคอเลสเตอรอลสูง แต่เกิดจากการบริโภค ไขมันอิ่มตัวมากเกินไป ในปัจจุบันมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ ยืนยันแล้วว่า การบริโภคอาหารไขมันต่ำ การออกกำลังกาย และการฝึกผ่อนคลายความตึงเครียด จะทำให้โรคหลอดเลือดหัวใจหายไปได้เอง

จำแนกอาการให้ชัดเจน

อาการหัวใจล้ม โรคลมปัจจุบัน และโรคลมชัก มักมีอาการแสดงออกคล้ายกัน ทั้งๆ ที่เกิดจากสาเหตุต่างกัน จึงอาจทำให้เกิดความสับสนได้ การรู้วิธีจำแนกอาการของผู้ป่วย แต่ละประเภทจะทำให้สามารถ ปฐมพยาบาลอย่างถูกต้องและได้ผลดี

อาการหัวใจล้ม

อาการ เจ็บหน้าอกกระทันหัน และเจ็บต่อเนื่องคล้ายถูกบีบรัด ตรงบริเวณกลางหน้าอก อาจปวดร้าวไปที่แขนซ้าย ขากรรไกร คอ แขนขวา หน้าท้อง หรือหลัง ผู้ป่วยอาจเป็นลม ตัวซีด หายใจเร็วและตื้น และอาจฟุบไปโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า หากเป็นขั้นรุนแรงอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้

คำเตือน อย่าให้ผู้ป่วยดื่มของเหลว และจัดให้อยู่ในท่ากันสำลัก ถ้าไม่ได้อยู่ในมือแพทย์ ให้เตรียมการกู้ชีพ เผื่อกรณีหัวใจหยุดเต้น

โรคลมปัจจุบัน

อาการ อาจมีอาการคล้ายเมาเหล้า จิตใจสับสน พูดจาตะกุกตะกัก ปวดศีรษะรุนแรงเฉียบพลัน สูญเสียการทรงตัว อ่อนเพลีย หรือเป็นอัมพาต อาจมีน้ำลายฟูมปาก กลั้นอุจจาระไม่ได้ และรูม่านตาขยายไม่เท่ากัน

คำเตือน อย่าให้อาหารหรือของเหลวทางปาก และจัดให้อยู่ในท่ากันสำลัก

โรคลมชัก

อาการ ในเด็ก กล้ามเนื้อจะกระตุกอย่างรุนแรงและมีไข้ ส่วนในผู้ใหญ่จะมีอาการตัวแข็ง เกร็ง ชักกระตุก หรือหมดสติ

คำเตือน อย่าใช้แรงเพื่อยึดหรือจับตัวผู้ป่วยให้อยู่นิ่งๆ เมื่อหายจากอาการชักแล้ว ให้จัดอยู่ในท่ากันสำลัก

เราอาจแบ่งชนิดของโรคหัวใจคร่าวๆได้ดังนี้

โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นมาตั้งแต่เกิด บางครั้งวินิจฉัยได้แต่แรกคลอด แต่บางครั้งก็ไม่มีอาการใดๆ จนกว่าจะอายุมากก็มี ความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นกับทุกส่วนของหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจ ลิ้นหัวใจ ผนังกั้นห้องหัวใจ หรือ ตัวห้องหัวใจเอง มีสภาพไม่สมบูรณ์ เหมือน บ้านที่สร้างไม่เสร็จ มีรอยโหว่ รู้รั่ว ประตูปิดไม่ดี น้ำท่วม เป็นต้น ส่วนใหญ่แล้วเรา ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เชื่อว่าการติดเชื้อไวรัสและการได้รับสารเคมี เช่น ยาบางชนิดระหว่างตั้งครรภ์อ่อนๆอาจมีส่วนเกี่ยวข้อง ความผิดปกติเหล่านี้หลายอย่างสามารถผ่าตัดแก้ไขได้ แต่บางครั้งก็ทำอะไรไม่ได้

โรคลิ้นหัวใจ   ลิ้นหัวใจพิการอาจเป็นแต่กำเนิดหรือมาเป็นภายหลังได้ ที่มาเป็นภายหลังส่วนมากเกิดจากการติดเชื้อคออักเสบ และไม่ได้รับการรักษา อย่างถูกต้อง ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อต้านหัวใจตัวเอง เกิดการอักเสบของลิ้นหัวใจ และ เกิดลิ้นหัวใจพิการ (ตีบ รั่ว) ตามมา นอกจากนั้นลิ้นหัวใจพิการยัง อาจเกิดจากการติดเชื้อที่หัวใจโดยตรง หรือเกิดจากการเสื่อมของลิ้นหัวใจเอง โดยมากแล้วเราสามารถผ่าตัดแก้ไขได้

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ   กล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติไม่ว่าจะบีบ หรือ คลายตัว กล้ามเนื้อหัวใจหนากว่าปกติ เป็นต้น โรคที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อหัวใจเสีย เนื่องจากความดันโลหิตสูงที่ไม่ได้รับการรักษามานาน กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ กล้ามเนื้อหัวใจตาย บางส่วน เนื่องจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน เป็นต้น ยังมีโรคของกล้ามเนื้อหัวใจบางชนิดที่ไม่ทราบสาเหตุ (อาจเกิดจากการ ติดเชื้อไวรัส) ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจบางและบีบตัวอ่อนกว่าปกติมาก การรักษาโรคของกล้ามเนื้อหัวใจนี้ อาศัยการแก้ไขที่สาเหตุ เช่น ขยายหลอดเลือดหัวใจ ผ่าตัดบายพาส ส่วนหากไม่ได้ผลหรือเป็นกลุ่มที่ไม่มีสาเหตุ การรักษาสุดท้ายคือการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ

โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคกลุ่มเดียวกัน เพราะหลอดเลือดหัวใจจะนำเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อหลอดเลือด ผิดปกติจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การทำงานจึงผิดปกติ โรคของหลอดเลือดหัวใจอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยที่สุด เกิดจากการสะสม ของไขมันที่ผนัง ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด (ไม่ใช่มีก้อนไขมันในเลือดลอย ไปอุดตัน ตามที่เข้าใจกัน)

โรคเยื่อหุ้มหัวใจ   เป็นโรคที่พบไม่บ่อย ส่วนใหญ่เกิดการอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส หรือ แบคทีเรีย หรือ เชื้อวัณโรค โรคนี้ส่วนใหญ่รักษาได้ ยกเว้นกรณีที่มะเร็งแพร่กระจายมายังเยื่อหุ้มหัวใจ

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ   กลุ่มนี้มีหลายชนิดมาก บางชนิดไม่เป็นอันตราย บางชนิดอันตรายมาก (ส่วนใหญ่ของกลุ่มที่ร้ายแรง มักมีความผิดปกติ ของกล้ามเนื้อหัวใจ หลอดเลือดหัวใจด้วย) สาเหตุเกิดจากระบบไฟฟ้าในหัวใจทำงานผิดปกติไป เช่น มีจุดกำเนิด ไฟฟ้าแปลกปลอมขึ้น หรือ เกิดทางลัด (เรียกง่ายๆว่า ไฟช็อต) ในระบบ เป็นต้น

การติดเชื้อที่หัวใจ พบได้บ่อยในผู้ป่วยภูมิต้านทานต่ำ หรือ ติดยาเสพติดชนิดฉีด โดยมากเกิดการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ ซึ่งจะเป็นปัญหาในการรักษา อย่างมาก โรคหัวใจในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ก็เป็นอีกกลุ่มที่มีลักษณะของโรคหลากหลายมาก

มะเร็งที่หัวใจ    คุณคงได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับมะเร็งตามอวัยวะต่างๆบ่อยๆ เช่น ปอด ตับ กระดูก ไต เต้านม มดลูก และ ปากมดลูก รังไข่ ฯลฯ แต่น้อยครั้ง มากที่จะได้ยิน”มะเร็งหัวใจ” เพราะเนื้องอกที่หัวใจพบได้น้อย ส่วนใหญ่ของมะเร็งหัวใจ เกิดจากมะเร็งอวัยวะข้างเคียงลุกลามมายังหัวใจ เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นการจัดกลุ่มใหญ่ๆซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมาก แต่จะเห็นว่าผมไม่กล่าวถึง “โรคหัวใจอ่อน” “โรคประสาทหัวใจ” “โรคหัวใจโต” เลย เพราะความจริงแล้ว ไม่มีโรคนี้ ขอเน้นอีกครั้งว่า โรคหัวใจอ่อน และ โรคประสาทหัวใจ ไม่ใช่โรคหัวใจ ส่วนใหญ่เกิดจากความกังวล ส่วนหัวใจโตนั้นเป็นภาวะมากกว่าที่จะเป็นโรค และ ต้องทราบ ว่าสาเหตุที่หัวใจโตนั้น เกิดจากโรคอะไร คำว่าหัวใจโตเฉยๆจึงไม่มีความหมายใดๆ


แหล่งที่มา : 202.28.25.135/~parinya/is_1.html

อัพเดทล่าสุด