โรคเริม คนท้อง รูปภาพโรคเริม ยารักษาโรคเริมให้หายขาด


1,031 ผู้ชม


โรคเริม คนท้อง รูปภาพโรคเริม ยารักษาโรคเริมให้หายขาด

 

 


 

ฉันเป็นเริม.... 

จะทำอย่างไรดี ถ้าพบว่า "ฉันเป็นเริม" เกิดขึ้น เริมคืออะไร น่ากลัวมากน้อยแค่ไหน น่ารังเกียจหรือไม่ ฉันเคยได้ยินชื่อโรคเริมนี้บ่อยๆ แต่ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยนึกว่าตัวเองจะเป็นโรคเริมนี้ หลายท่านจะรู้จักโรคเริมนี้เป็นอย่างดี แต่หลายท่านก็ไม่เคยรู้จัก แต่ถ้าเป็นร้านขายยาแล้ว จะรู้จักกับคำว่า เริมนี้และมักจะจัดยาให้คนไข้ซื้อไปใช้เอง บางครั้งก็ใช่เลยเจ้าเริมตัวแสบ แต่บางครั้งก็ไม่ใช่เลย กลายเป็นโรคผิวหนังชนิดอื่น ทายาก็เลยไม่หาย 

โรคเริมนี้ พบได้บ่อยมาก แทบจะทุกวันเลยก็ว่าได้ ในวันที่ผู้เขียนออกตรวจโรค (O.P.D.) จะพบผู้ป่วยเป็นโรคเริม เป็นประจำ และจะมีคำถามซ้ำๆ กัน คำถามยอดนิยม ให้ตอบเป็นประจำ เนื่องจากเจอผู้ป่วยโรคเริมนี้บ่อยมาก ผู้เขียนจึงอยากจะถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับ "โรคเริม" ให้ท่านผู้อ่านใกล้หมอทุกท่านได้รู้จักกับโรคเริมนี้ดียิ่งขึ้นนะคะ 
เริม (Herpes simplex) 

เริม เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่เกิดจากเชื้อไวรัส (Herpes simplex virus) จัดเป็นโรคผิวหนังที่หลายท่านรู้จักกันดี และพบได้บ่อยพอสมควรในยุคปัจจุบันทันด่วนนี้ แต่บางท่านก็ไม่เข้าใจคิดว่าเป็นโรคที่น่ารังเกียจหรือน่ากลัวมาก สับสนกันไปต่างๆ นานา 
ชนิดของเชื้อไวรัสเริม 
ที่พบได้บ่อยๆ มี 2 ชนิดคือ 

1.เชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 
(Herpes simplex virus type 1 = HSV I) ชนิดนี้มักพบว่า ทำให้เกิดโรคเริมที่ริมฝีปาก และรอบๆ ปากได้บ่อย 

2.เชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 (Herpes simplex virus type 1 = HSV II) ชนิดนี้มักพบว่า จะทำให้เกิดโรคเริมที่บริเวณอวัยวะเพศ ก้น ในร่มผ้าไดบ่อย 

ลักษณะของผื่นโรคเริม 

จะเห็นลักษณะเป็นตุ่มน้ำใสๆ 2-3 ตุ่ม อยู่รวมกันเป็นกระจุกวางอยู่บนผื่นแดงเล็กๆ ของผิวหนัง (group of vesicles on erythematous base) 1-2 วันถัดไป ตุ่มน้ำใสนี้จะแตกออก และกลายเป็นสะเก็ดแห้งคลุมอยู่ 
อาการของโรคเริม 
ส่วนใหญ่จะมีอาการเจ็บๆ แสบๆ คันๆ แต่ไม่มากนัก แม่ถึงกับปวดจนนอนไม่ได้ และไม่ถึงกับว่าคันมาก จนต้องเกาแรงๆ ขนาดนั้น เพราะฉะนั้น อาการของโรคเริม จึงพอทนกันได้ เพียงแต่คนที่เป็นโรคเริมจะรู้สึกอายมากกว่าไม่ค่อยมั่นใจในตนเอง อะไรทำนองนี้ 
ตำแหน่งของโรคเริม 
1. ปาก ริมฝีปาก รอบๆ ปาก พบบ่อยมาก 
2. อวัยวะเพศ ก้น ในร่มผ้า พบบ่อยเช่นกัน 
3. มือ นานๆ จึงจะพบโรคเริมที่มือ นิ้วมือ ฝ่ามือ เรียก Herpes whitlow 
4. เอว ลำตัว หลัง พบค่อนข้างน้อย เช่น พบในนักมวยปล้ำ ที่มีการต่อสู้ กอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน 

ปัจจัยชักนำที่มีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิดโรคเริมได้มากขึ้น 


1. ความเครียด 
เดี๋ยวนี้โรคอะไรต่างๆ สารพัดโรคมักจะเกี่ยวข้องกับเจ้าตัวความเครียดนี้เสมอเพราะฉะนั้นท่านผู้อ่าน ต้องพยายามมองโลกในแง่ดี ปล่อยวางอย่าไปเครียดอะไรมากจนเกินไป 


2. ทำงานหนักมากเกินไป 
ทำให้ร่างกายอ่อนแอ ล้า ภูมิต้านทานของร่างกายจึงลดน้อยลงสามารถติดเชื้อไวรัสได้ง่ายขึ้น 


3. นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ 
บางท่านนอนวันละ 4-5 ชั่วโมงเท่านั้น โอกาสติดเชื้อไวรัสจึงมีมากกว่าคนทั่วไป 


4. อากาศร้อนจัด 
เชื้อไวรัสเริม ค่อนข้างชอบ อากาศร้อนจนเกินไป ร้อนชื้นเหงื่อออกง่าย คนไทยจึงเป็นเริมกันบ่อย 


5. คนที่ไม่สบาย 
เจ็บไข้ได้ป่วย เช่น กำลังเป็นหวัด ร่างกายทรุดโทรมอ่อนแอ โอกาสติดเชื้อไวรัสเริมมีมากกว่าในคนที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงนะคะ 


6. ผู้ที่ต้องนอนอยู่บนเตียงนานๆ 
เช่น เป็นอัมพาต ผู้ที่รับการผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีกระดูกหัก ฯลฯ ทำให้ขยับตัวลำบาก มีโอกาสเป็นเริมที่ก้นได้ง่าย 


7. เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ 
เหล้า เบียร์ต่างๆ ผู้ที่เคยเป็นเริมแล้วถ้าวันไหนดื่มเหล้าเบียร์มากจนเกินไปจะมีโอกาสเป็นเริมซ้ำขึ้นได้อีกง่ายมาก ฯลฯ 


ปัญหาของโรคเริม 


1. การกลับเป็นซ้ำ 
(Recurrent Herpes simplex) ผู้ที่เคยเป็นโรคเริมแล้ว จะมีโอกาสเกิดโรคเริมซ้ำได้อีก ที่ตำแหน่งเดิมได้บ่อยพอสมควร ขึ้นกับปัจจัยชักนำดังกล่าวข้างต้น เพราะเชื้อไวรัสเริมจะเข้าไปหลบซ่อนตัวที่ในปมประสาท (nerve ganglion) พอร่างกายอ่อนแอลง เชื้อเริมก็จะออกมาอาละวาด ทำให้เกิดเริมขึ้นที่เดิมได้อีก ทำให้ผู้ที่เป็นเริมเกิดความเบื่อหน่าย 


2. การติดต่อ 
ติดต่อกันได้ง่ายพอสมควรจะได้กล่าวรายละเอียดในหัวข้อถัดไป 


3. ทำให้ขาดความมั่นใจ 
รู้สึกไม่สวยงาม เสียบุคลิกภาพ 


การติดต่อของโรคเริม 

เป็นโรคที่ติดต่อทาง การสัมผัสโดยตรง (direct contact) โดยที่ผู้ได้รับเชื้อ จะต้องมีแผลถลอกอยู่ ทำให้เชื้อไวรัสเริมเข้าไปได้ เช่น 

1. ที่ริมฝีปาก : 
โดยการจูบกัน ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน 

2. ที่อวัยวะเพศ : โดยการมีเพศสัมพันธ์ ขณะที่อีกฝ่ายกำลังเป็นเริมอยู่, การเข้าห้องน้ำสาธารณะ 
3. ที่มือ นิ้วมือ : โดยการจับมือกัน การโหนราวรถเมล์ การจับลูกบิดประตูห้องน้ำสาธารณะ การจับโทรศัพท์สาธารณะ ฯลฯ 
4. ที่ลำตัว เอว : เคยพบในนักมวยปล้ำ ที่มีการต่อสู้ กอดรัดฟัดเหวี่ยงกัน การใช้ผ้าขนหนู ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน ฯลฯ 

การรักษาโรคเริม 


1. ยาทา 
คือ กลุ่ม acyclovir Zovirax, Virogon, Vilerm, Zevin ฯลฯ 

2. ยากิน ใช้ในกรณีสำหรับผู้ที่มักจะกลับเป็นซ้ำได้บ่อย คือ Zovirax, Valtrex, Famvir ต้องให้แพทย์เฉพาะทางด้านผิวหนังเป็นผู้สั่งยาเท่านั้น ยากลุ่มนี้มีราคาแพงพอสมควร 

3. หายได้เอง 
ถ้าเป็นไม่มาก ร่างกายมีภูมิต้านทานดีพอ สามารถหายเองได้ ใน 3-5 วัน 


4. หลีกเลี่ยงปัจจัยชักนำ 
หลีกเลี่ยงปัจจัยชักนำดังกล่าวข้างต้น จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคเริมได้ 

หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่าน คงจะเข้าใจโรคเริมมากขึ้นนะคะ 

 

 

แหล่งที่มา : meemodel.com , นิตยสารใกล้หมอ โดย พญ.วิญญารัตน์ ตันศิริ 

อัพเดทล่าสุด