ประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่ ประวัติสาวสตรอเบอร์รี่ชีสเค้ก พันธุวิศวกรรม สตรอเบอร์รี่


1,192 ผู้ชม


ประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่ ประวัติสาวสตรอเบอร์รี่ชีสเค้ก พันธุวิศวกรรม สตรอเบอร์รี่

 
การผลิตสตรอเบอร์รี่ด้วยต้นไหลคุณภาพดี
                                
          สตรอเบอร์รี่  (Strawberry, Fragaria x ananassa)  จัดเป็นไม้ผลสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งในภาคเหนือที่มีศักยภาพสูงในการส่งออก  ดังจะเห็นได้จากผลผลิตกว่าร้อยละ 60  ได้ถูกส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ ที่สำคัญคือ ญี่ปุ่น  ส่วนที่เหลือถูกนำมาใช้เพื่อการแปรรูปเป็นแยมและบริโภคสดในประเทศ  ซึ่งยังมีปริมาณไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด  โดยเฉพาะตลาดเพื่อการบริโภคสดที่มีแนวโน้มความต้องการเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี  สตรอเบอร์รี่มีพื้นที่ปลูกสำคัญอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย  เนื่องจากมีสภาพอากาศหนาวเย็นเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและติดดอกออกผล  โดยเกษตรกรจะเริ่มปลูกสตรอเบอร์รี่ในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม  และไปเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนธันวาคมถึงเมษายนของปีถัดไป  ได้ผลผลิตรวมกันประมาณ  7,000 – 8,000  ตันต่อปี  ทำรายได้เข้าประเทศไม่ต่ำกว่าปีละ  120  ล้านบาท  
 
ประโยชน์ของสตรอเบอร์รี่ ประวัติสาวสตรอเบอร์รี่ชีสเค้ก พันธุวิศวกรรม สตรอเบอร์รี่         
ปัญหาสำคัญของการปลูกสตรอเบอร์รี่  คือ  
การขาดแคลนต้นไหลคุณภาพดี  ทำให้เกษตรกรใช้ต้นไหลเท่าที่จัดหาได้มาปลูกทั้งๆ ที่มีคุณภาพต่ำ มีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ  อ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรู  ผลที่ตามมาก็คือการดูแลรักษายุ่งยากขึ้น  ทั้งการพ่นสารเคมี  การให้น้ำ  ใส่ปุ๋ย  แต่ปริมาณผลผลิตต่อไร่กลับลดลง  ท้ายที่สุดเกษตรกรต้องทำการปลูกซ่อมแซมสูงถึงร้อยละ 20 – 30  อีกทั้งยังได้ผลผลิตเพียง  2.5 – 3.0  ตันต่อไร่เท่านั้น  ขณะที่ประเทศที่มีการพัฒนาระบบการปลูกแล้ว  เช่น  สหรัฐอเมริกา  ญี่ปุ่น  และกลุ่มประเทศในยุโรป  ได้ผลผลิตสูงถึง  7 – 9  ตันต่อไร่  หรือแม้แต่ประเทศคู่แข่งสำคัญของไทย  เช่น  เกาหลีใต้  จีน  และไต้หวัน  ต่างก็มีผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่าประเทศไทยทั้งสิ้น
 
          ในต่างประเทศที่มีการปลูกสตรอเบอร์รี่เป็นอุตสาหกรรม  เช่น  ประเทศในแถบยุโรป  สหรัฐอเมริกา  เกาหลีใต้  ญี่ปุ่น  และออสเตรเลีย  ได้ให้ความสำคัญกับการผลิตต้นไหลคุณภาพดีเป็นอย่างมาก  โดยได้พัฒนาวิธีการขยายพันธุ์ต้นไหลด้วยเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  และการจัดการเขตกรรมอย่างถูกวิธี  เพื่อให้ได้ต้นไหลแม่พันธุ์ที่มีคุณภาพดี  สมบูรณ์แข็งแรง  และปราศจากการปนเปื้อนของโรคแมลงศัตรู  รวมทั้งมีกลไกการรับรองคุณภาพต้นไหลแม่พันธุ์จากหน่วยงานที่รับผิดชอบด้วย  ยกตัวอย่างเช่น การผลิตต้นไหลในประเทศออสเตรเลีย  ซึ่งบริษัทหรือเกษตรกรที่ผลิตต้นไหลเพื่อการจำหน่ายจะเลือกผลิตบนพื้นที่สูง  มีอุณหภูมิหนาวเย็น  และห่างไกลจากแหล่งปลูกสตรอเบอร์รี่เพื่อการผลิตผลสด เพื่อลดการเข้าทำลายของโรคและแมลง  ในขณะที่เกษตรกรในประเทศไทยยังนิยมขยายต้นไหลโดยการคัดเลือกไหลที่เจริญออกมาจากต้นสตรอเบอร์รี่ในแปลงปลูกที่กำลังให้ผล  แล้วนำไปปลูกบนดอยซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป  เพื่ออาศัยสภาพอากาศที่หนาวเย็นในตอนกลางคืนและช่วงวันสั้นช่วยกระตุ้นการสร้างตาดอก  อีกทั้งเกษตรกรมักนิยมปลูกต้นไหลในถุงพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  3  นิ้ว  ซึ่งบรรจุดินที่มีธาตุอาหารต่ำและอัดกันแน่น… จึงไม่เป็นที่น่าประหลาดใจเลยว่าเหตุใดประเทศไทยจึงได้ต้นไหลที่มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ  อ่อนแอ  ต้นเล็ก  ไม่แข็งแรง  และมีระบบรากไม่สมบูรณ์  รวมทั้งมีการสะสมโรคต่างๆ ไว้มากมาย  เมื่อเกษตรกรนำต้นไหลเหล่านี้ไปปลูกจึงทำให้ได้ผลผลิตต่ำ  และมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว 
 
          นอกจากวิธีการผลิตแล้ว แหล่งพื้นที่เพาะปลูกก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพการผลิตของต้นไหล อาทิเช่น พื้นที่ผลิตไหลกับแปลงปลูกเพื่อการผลิตผลสดอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันหรืออยู่ในพื้นที่เดียวกัน  เป็นสาเหตุให้เกิดการสะสมของโรคและแมลงศัตรูต่างๆ  มากขึ้น
 
          สิ่งที่กล่าวมาทั้งหลายเหล่านี้คือตัวอย่างของปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการพัฒนาการผลิตต้นไหลคุณภาพดีในประเทศไทย  ที่ผ่านมาคณะทำงานวิจัยและพัฒนาสตรอเบอร์รี่  มูลนิธิโครงการหลวง  ร่วมกับมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ได้วางแนวทางการวิจัยและพัฒนาการผลิตต้นไหลสตรอเบอร์รี่คุณภาพดี  ในการที่จะปรับเปลี่ยนระบบการผลิตต้นไหลของเกษตรกรจากแบบดั้งเดิม มาใช้ต้นไหลแม่พันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  และส่งเสริมให้เกษตรกรทั่วไปใช้ต้นไหลคุณภาพดี  โดยการแทรกแซงในระบบการผลิตแบบเดิม  ซึ่งมีปริมาณการใช้ปีละ ประมาณ  25 - 30  ล้านต้น  ผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง  แต่ยังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้  ดังนั้นหากต้องการจะให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามที่วางไว้  จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ดำเนินการผลักดันแผนงานอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะจากหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเทคโนโลยี  นักวิจัย  นักถ่ายทอดเทคโนโลยี  พ่อค้า  ผู้ประกอบการ  และตัวเกษตรกรเอง  เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตสตรอเบอร์รี่ของประเทศให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
สัมฤทธิ์  เกียววงษ์
หน่วยบริการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาชนบท
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด