อาการโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สาเหตุของการเป็นโรคหัวใจ


814 ผู้ชม


อาการโรคหัวใจโต การรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ สาเหตุของการเป็นโรคหัวใจ

ภาวะหัวใจสั่นพริ้ว


Atrial Fibrillation (AF) เป็นอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบบ่อยที่สุด ถึงแม้ไม่ทำให้เสียชีวิตแต่อาจนำมาซึ่งภาวะรุนแรงมากขึ้น เช่น เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิดอื่น ทำให้อ่อนเพลียเรื้อรัง อัมพฤกษ์ อัมพาต หัวใจล้มเหลว

Atrial Fibrillation เกิดในหัวใจห้องบน ทั้ง 2 ข้าง ซึ่งเกิดเต้นเร็วมาก ไม่สม่ำเสมอ สูบฉีดเลือดออกไปไม่ได้ดี ทำให้ร่างกายส่วนอื่นขาดอาหารและออกซิเจน ทำนองเดียวกันเลือดที่เหลือตกค้างในหัวใจห้องบนจะแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดและอาจหลุดเข้าไปในระบบไหลเวียนของเลือดไปสู่สมองทำให้เกิด stroke (อัมพฤกษ์ อัมพาต)

อาการของ Atrial fibrillation

อาการอาจเป็นๆ หายๆ (paroxysmal) หรือเป็นต่อเนื่อง (เรื้อรัง) ซึ่งแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน บางคนไม่แสดงอาการ แต่คนที่เป็น AF ส่วนใหญ่มักมีอาการชัดเจน ทำให้ไม่สบาย ตกใจกลัว และมีอาการต่างๆ ร่วมกัน ดังนี้

  1. ใจสั่นอย่างทันทีทันใด หรือหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
  2. หัวใจหยุดเต้นตามด้วยเกิดเสียงตุ้บ แล้วเต้นเร็ว
  3. หัวใจเต้นเร็ว
  4. แน่นหรือเจ็บหน้าอกและลำคอ
  5. อ่อนเพลียและออกกำลังลำบาก เช่น ขณะเดินหรือขึ้นบันได
  6. เหงื่อออก มึนงง หายใจลำบาก เป็นลมหมดสติ (syncope)

ท่านควรปรึกษาแพทย์ถ้ามีอาการดังกล่าว

สาเหตุของการเกิด AF

AF เกิดจากการนำไฟฟ้าผิดปกติ จากหลายสาเหตุ คือ

  1. โรคหัวใจ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคลิ้นหัวใจ หัวใจห้องล่างโตเกินปกติ
  2. ความดันโลหิตสูง ไทรอยด์ เบาหวาน หลอดเลือดแข็งตัว
  3. ผ่าตัดหัวใจ ผ่าตัดลิ้นหัวใจ ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ
  4. ความเครียด อ่อนล้า ดื่มสุราจัด ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน สูบบุหรี่
  5. เกิดการอุดกั้นทำให้หยุดหายใจขณะหลับ

AF อาจเกิดได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ โดยเฉพาะในคนที่มีอายุน้อย ในกรณีนี้ เรียกว่า lone atrial fibrillation

การรักษา AF

การรักษาโดยการใช้สายสวนชนิดพิเศษจี้จุดกำเนิดของการเต้นผิดปกติในหัวใจด้วยพลังงานคลื่นวิทยุเป็นวิธีรักษาที่ได้ผลดีสำหรับภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) รวมถึงหัวใจสั่นพริ้ว (atrial fibrillation- AF) ด้วย ซึ่ง นายแพทย์ กุลวี เนตรมณี เป็นผู้ริเริ่ม*หาจุดกำเนิดไฟฟ้าผิดปกติในหัวใจโดยใช้ภาพ 3 มิติ แสดงความซับซ้อนของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (CFAEs) แล้วจี้จุดกำเนิดความผิดปกตินั้นในผู้ป่วย AF เป็นผลสำเร็จ (*Patent Number 11/620,370)


แหล่งที่มา : bangkokhospital.com

อัพเดทล่าสุด