แผนการสอนวิชาอาเซียนศึกษา เรื่องอาเซียนศึกษา สมาชิกอาเซียนศึกษา
การสอนเรื่องอาเซียน
เด็กไทยก้าวสู่ประชาคมสู่อาเซียน
สาระการอภิปรายตามคำเชิญของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
27 ตุลาคม 2554 ณ ห้องประชุมโรงเรียนอนุบาลลำปาง จังหวัดลำปาง
ชัด บุญญา
ความพยายามให้ประเทศเจริญก้าวหน้า เป็นความพยายามของพระมหากษัตริย์ไทย และรัฐบาลไทยมาทุกยุคทุกสมัย จนกระทั่งปัจจุบันคนไทยอยู่ดีมีสุข เป็นลำดับที่ 39 ในประเทศ 142 ประเทศทั่วโลก การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ก็เป็นผลงานหนึ่งของผู้นำไทยในอดีต ที่มุ่งหวังให้ประเทศไทย คนไทยพัฒนาความอยู่ดีมีสุขด้วยการรวมตัวเป็นชุมชนเดียวกัน มีข้อตกลงในการปฏิบัติร่วมกัน โดยข้อตกลงนั้นเรียกว่า กฏบัตรอาเซียน ซึ่งกฏบัตรนี้มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 15ธันวาคม 2551 และมี ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้เข้ารับตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนมาตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2551 มีวาระการดำรงตำแหน่งนี้เป็นระเวลา 5 ปีกฎบัตรหรือกฎหมายนี้เป็นเครื่องมือที่จะทำให้อาเซียนรวมตัวเป็นประชาคมได้ตามความหวังได้อย่างสมบูรณ์ ในปี 2558
กฏบัตรของอาเซียนได้ระบุความมุ่งประสงค์ไว้ในกฏบัตร ดังนี้
1. เพื่อธำรงรักษาและเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง และเสถียรภาพ กับทั้งเสริมสร้างคุณค่า ทางสันติภาพในภูมิภาคให้มากขึ้น
2. เพื่อเพิ่มความสามารถในการปรับตัวยืดหยุ่นสู่สภาวะปกติของภูมิภาคโดยการส่งเสริมความ ร่วมมือ ด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
3. เพื่อธำรงรักษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และปราศจากอาวุธที่ มีอานุภาพทำลายล้างสูงอื่นๆ ทุกชนิด
4. เพื่อทำให้แน่ใจว่าประชาชนและรัฐสมาชิกของอาเซียนอยู่ร่วมกับประชาคมโลกได้โดยสันติ ในสภาวะที่เป็นธรรม มีประชาธิปไตยและและมีความปรองดองกัน
5. เพื่อสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวที่มีเสถียรภาพ มั่งคั่ง มีความสามารถในการแข่งขันสูง และมีการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจซึ่งมีการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการ ลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้า บริการ และการ ลงทุน การเคลื่อนย้ายที่ได้รับความสะดวกของนักธุรกิจ ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้มีความ สามารถพิเศษและแรงงาน และการเคลื่อนย้ายอย่างเสรียิ่งขึ้นของเงินทุน
6. เพื่อบรรเทาความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาภายในอาเซียนโดยผ่านความช่วยเหลือ ซึ่งกันและกันและความร่วมมือ
7. เพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตย เพิ่มพูนธรรมาภิบาล และหลักนิติธรรม ตลอดจนส่งเสริมและ คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยคำนึงถึงสิทธิและหน้าที่ของ รัฐสมาชิกของอาเซียน
8. เพื่อตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ ต่อสิ่งท้าทาย ทุกรูปแบบอาชญากรรมข้ามชาติ และสิ่งท้าทายข้ามพรมแดนอื่นๆ
9. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อทำให้แน่ใจว่า ในภูมิภาคมีการคุ้มครองสภาพ แวดล้อม ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม และ คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
10. เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยผ่านความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในด้านการศึกษา และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างพลัง ประชาชนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแห่งประชาคมอาเซียน
11. เพื่อเพิ่มพูนความเป็นอยู่ที่ดีและการดำรงชีวิตของประชาชนอาเซียนด้วยการให้ประชาชน มีโอกาสที่ทัดเทียมกันในการเข้าถึงการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการสังคม และความ ยุติธรรม
12. เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย มั่นคง และปราศจากยา เสพติด สำหรับประชาชนของอาเซียน
13. เพื่อส่งเสริมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งทุกภาคส่วนของสังคมได้รับการส่ง เสริมให้มีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์จากกระบวนการรวมตัวและการสร้าง ประชาคมของอาเซียน 14. เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียนโดยผ่านการส่งเสริมความสำนึกถึงความหลากหลายทาง วัฒนธรรมและมรดกของภูมิภาคยิ่งขึ้น และ 15. เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นศูนย์รวมและบทบาทเชิงรุกของอาเซียนในฐานะพลังขับเคลื่อน หลักในความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนนอกภูมิภาค ในแบบของภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส และไม่ปิดกั้น
ความเป็นชุมชนเดียวกัน ที่เรียกกันว่าประชาคมอาเซียน มีสิ่งบ่งบอกพื้นฐาน ดังนี้
- คำขวัญของอาเซียน คือ “วิสัยทัศน์เดียว อัตลักษณ์เดียว ประชาคมเดียว”
- ธงอาเซียน
- ดวงตราอาเซียน
- วันอาเซียน วันที่ 8 สิงหาคม
- เพลงประจำอาเซียน
- การใช้ภาษาอังกฤษเป็นทางการของทุกประเทศ
การรวมตัวของ 10 ประเทศอาเซียนที่ดำเนินมาแล้วนี้ จะทำให้ผู้คนในประชาคมได้รับประโยนช์จากความมุ่งประสงค์ ดังได้กล่าวแล้ว และ เกิดความสำเร็จขึ้นแล้ว ดังเช่นจากความมุ่งประสงค์ข้อ 5 มีการรายงานว่า “ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553 ที่ผ่านมา สมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ได้ยกเลิกภาษีสินค้ากว่า 8,000 รายการ และในปี 2558 สมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ จะลดภาษีทุกรายการเป็นร้อยละ 0 และสามารถยืดหยุ่นในบางรายได้ในปี 2561 ซึ่งการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี 2558 ตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมจะมีผลให้อาเซียนกลายเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานฝีมืออย่างเสรี” แหล่งที่มา: เดลินิวส์ (8 มี.ค. 2553)
จากนัยข้างต้น ความเปลี่ยนแปลงในวิถีชีวิตของประชาชนคนไทย และอาเซียน จะเปลี่ยนไป
อย่างเข้มข้นขึ้นไปเรื่อย ๆ ส่งผลให้คนไทยต้องเริ่มปรับตัวเพื่อการ เดินทางไปมาหาสู่ ท่องเทียว ทำงาน ค้าขาย ช่วยเหลือ รับการช่วยเหลือ ใน 10 ประเทศเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน และจำเป็นต้องเตรียมตัว เตรียมใจให้คนไทย เด็กไทยก้าวสู่ประชาคมสู่อาเซียน ได้อย่างมั่นใจ ส ามารถเป็นผู้ตาม และเป็นผู้นำในการปฏิบัติตามความมุ่งประสงค์ของอาเซียนที่กำหนดไว้ได้ โดยอาศัยคุณลักษณะของเด็กไทย ดังนี้
1. มีความรู้เกี่ยวกับอาเซียนพื้นฐาน ดังนี้
- ความเป็นมา
- ประเทศสมาชิก
- ความของคำว่าประชาคมอาเซียน และความมุ่งประสงค์ของอาเซียน
- องค์ประกอบ 3 ประการ ประชาคมอาเซียนด้านการเมือง และความมั่นคงประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558
- กฏบัตรอาเซียน
2. นักเรียนตระหนักว่าข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอาเซียนมีอีกมากมาย ที่จะต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
3. นักเรียนมีทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน
3.1 รู้วิธีการเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน
3.2 มีทักษะในการสืบค้น และวิเคราะห์ สังเคราะห์ ทำความเข้าใจประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับอาเซียน
3.3 รู้วิธีการค้นหาข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศเกี่ยวกับอาเซียน
3.4 รู้วิธีการที่จะรวบรวม จำแนกแยกแยะ เลือก สรุปประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับอาเซียน และนำเสนอต่อผู้อื่นได้
3.5 สามารถที่จะตัดสินใจ เมื่อข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ ความขัดแย้งกันได้
4. นักเรียนแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมกับอาเซียน
4.1 แสดงออกถึงความเป็นสมาชิกของประชาคมอาเซียน
4.2 คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ ลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมกับประชาคมอาเซียน ใน ปัจจุบัน และอนาคต
5. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม
แหล่งที่มา : gotoknow.org