อาการของโรคกระเพาะ สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะเรื้อรัง


719 ผู้ชม


อาการของโรคกระเพาะ สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะเรื้อรัง

 

โรคกระเพาะอาหาร      

โรคกระเพาะอาหาร 

โรคกระเพาะอาหารคืออะไร
โรคกระเพาะอาหาร หมายถึง โรคที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น หรือมีการอักเสบของเยื่อกระเพาะอาหาร คนที่เป็นโรคนี้แล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ ส่วนมากมักจะเป็นเรื้อรัง หรือเป็นนาน ๆ ถ้าไม่รักษาหรือปฏิบัติตัวให้ถูกต้องจะมีอาการเป็นๆ หายๆ และถ้าปล่อยให้เป็นมาก จะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้


โรคกระเพาะอาหาร
สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร
สาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะมีมากมาย แต่เชื่อกันว่าสาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจากมีกรดในกระเพาะอาหารมาก และเยื่อบุกระเพาะอาหารอ่อนแอลง
1. สาเหตุที่กระเพาะอาหารมีกรดมากขึ้น เกิดขึ้นเนื่องจาก

  • กระตุ้นของปลายประสาท เกิดจากความเครียด
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบียร์ ยาดอง
  • การดื่มกาแฟ
  • การสูบบุหรี่
  • การกินอาหารไม่เป็นเวลา

โรคกระเพาะอาหาร
2. มีการทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดจาก
  • การกินยาแก้ปวด ลดไข้ แก้ปวดกระดูก ปวดกล้ามเนื้อยาชุดที่มีแอสไพรินแลยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอนต่างๆ
  • การกินอาหารเผ็ดจัดและเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
  • การดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ เหล้า เบี้ย ยาดอง

โรคกระเพาะอาหาร
อาการที่พบ
1. ปวดท้อง ลักษณะอาการปวดท้องที่สำคัญ คือ
  • ปวดเรื้อรังมานาน เป็นๆ หายๆ เป็นเดือนหรือเป็นปี
  • ปวดสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดเวลาหิวหรือท้องว่างเมื่อกินอาหารหรือนม จะหายปวดบางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือนมจะหายปวด บางรายจะปวดหลังจากกินอาหารหรือปวดกลางดึกก็ได้
2. จุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืด ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในท้อง ร้อนในท้อง คลื่นไส้อาเจียน
3. อาการโรคแทรกซ้อน ได้แก่
  • อาเจียนเป็นเลือดดำ หรือแดง หรือถ่ายดำ เนื่องจากมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้เล็กส่วนต้น
  • ปวดท้องรุนแรง และ ช๊อค เนื่องจากแผลกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กทะลุ
  • ปวดท้องและอาเจียนมาก เนื่องจากการอุดต้นของกระเพาะอาหาร
การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคกระเพาะ
1. กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง หรือหิว ถ้าหิวก่อนเวลาให้ดื่มนม หรือน้ำเต้าหู้ น้ำข้าว น้ำผลไม่ได้
2. หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัดเปรี้ยวจัดจากน้ำสมสายชู
3. งดดื่มเหล้า เบียร์ กาแฟ ยาดอง
4. งดการสูบบุหรี่
5. หลีกเลี่ยงการกินยาแก้ปวด แก้ไข ที่มีแอสไพริน หรือยาชุดต่างๆ รวมทั้งยาแก้ปวดกระดูก และยาสเตียรอยด์ ยาลูกกลอน ยาหม้อต่าง ๆ
6. ควรพักผ่อนให้มากเพียงพอ ทำจิตใจให้เบิกบานผ่อนคลายเครียดวิตกกังวล และไม่หงุดอารมณ์เสียง่าย
7. กินยาตามแพทย์สั่ง หรือไม่ควรซื้อยามากินเอง

 
แหล่งที่มา : gj.mahidol.ac.th

อัพเดทล่าสุด