โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคหลอดลมอักเสบในเด็ก โรคหลอดลมอักเสบ การป้องกัน


1,567 ผู้ชม


โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคหลอดลมอักเสบในเด็ก โรคหลอดลมอักเสบ การป้องกัน

 โรคหลอดลมอักเสบ
สองสามวันนี้ มีอาการไม่ค่อยดี รู้สึกเหมือนจะเป็นไข้ต่ำๆ แล้วมีอาการไอแห้งๆเป็นระยะๆ ทำให้รู้สึกว่าหอบเหนื่อยมาก เสียงก็แหบด้วย วันนี้ได้ฤกษ์ดี (มั้ง) ไปพบหมอเพื่อตรวจร่างกายซักหน่อย ว่าเป็นอารัยกันแน่......ปรากฎว่า...เป็นอาการของโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Bronchitis)
งั้นวันนี้ เรามาดูกันดีกว่าว่า โรคหลอดลมอักเสบมีอาการเป็นอย่างไรกันบ้าง
โรคหลอดลมอักเสบแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ แบบเฉียบพลัน กับ แบบเรื้อรัง
แต่ในวันนี้ เรามาพูดถึงแบบเฉียบพลันอย่างเดียวดีกว่านะ...เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันของเราเอง
หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เป็นการอักเสบของหลอดลม ซึ่งมักจะตามหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น เช่นเป็นหวัด เจ็บคอ หรือมีเสียงแหบ สาเหตุโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดจากเชื้อไวรัส มีส่วนน้อยที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยผู้ป่วยจะมีอาการที่สำคัญ คือไอมาก โดยเฉพาะตอนกลางคืน หรือเมื่ออยู่ในที่มีอากาศเย็น เวลาไอ มักจะไอต่อเนื่องเป็นระยะหรือ เป็นชุดยาวๆ ไอจนตัวโยน ไอจนเจ็บชายโครง หรือในบางคน อาจมีอาการไอจนมีปัสสาวะเล็ด ช่วงแรกๆ ของการไอ อาจมีอาการไอแห้ง แต่หลังจากนั้น มักจะมีเสมหะออกมา ลักษณะเสมหะ อาจเป็นสีขาวใส หรือขาวข้นเหมือนแป้งเปียก หากเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้เซลเยื่อบุหลอดลมหลุดลอก เป็นจำนวนมาก อาจมีเสมหะสีเขียว หรือสีเหลือง
อาการไอ
มีสาเหตุมาจาก ร่างกายพยายามขับเสมหะ ที่ออกมาจากเยื่อบุหลอดลม ซึ่งถูกสร้างมากกว่าปกติ อันมีผลมาจากการอักเสบติดเชื้อ การสร้างเสมหะนี้จากการอักเสบนี้ จะคงอยู่เป็นเวลานาน แม้ว่าการติดเชื้อจะถูก ภูมิต้านทานของร่างกายกำจัดไปแล้ว แต่การสร้างเสมหะยังมีมากอยู่ นี่เป็นสาเหตุของการมีไอเรื้อรัง ติดต่อกันเป็นเวลานาน เมื่อการอักเสบลดลง อาการไอก็จะลดลง โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลานาน อาจนานถึง 100 วัน อย่างที่คนโบราณว่า
การวินิจฉัย
สามารถทำได้โดย ประวัติที่มักจะมีการติดเชื้อ ในทางเดินหายใจส่วนต้น นำมาก่อน อาจมีเสียงแหบจากการ ที่มีกล่องเสียงอักเสบ หลังจากนั้นก็มีอาการไอมีเสมหะตามมา อาการไอมักเป็นมากตอนกลางคืน ตรวจร่างกาย พบว่ามีเสียงของเสมหะ รวมทั้งมีเสียง ของหลอดลมตีบร่วมด้วย 
การรักษาสามารถทำได้โดย
1.หลีกเลี่ยงสารระคายเคือง ระบบทางเดินหายใจ เช่น ฝุ่น ควันบุหรี่ ควันประกอบอาหาร 
2.ดื่มน้ำมากๆ น้ำเป็นยาลดบวม ยาละลายเสมหะที่ดีที่สุด 
3.ยาละลายเสมหะ เพื่อทำให้เสมหะเหนียวน้อยลง ทำให้ร่างกายขับเสมหะออกมาได้ดีขึ้น 
4.ยาขยายหลอดลม เพื่อบรรเทาอาการไอ โดยมีทั้งแบบรับประทาน และแบบสูด หรือพ่น 
ไม่ควรรับประทานยาแก้ไอ เนื่องจากยาแก้ไอ จะไปกดระบบประสาทส่วนกลาง บังคับให้หยุดไอ ซึ่งผู้ป่วยจะดีขึ้นในช่วง 2-3 วันแรก ต่อมาจะกลับมาไอมาก เนื่องจากทำให้เสมหะคั่งค้าง อยู่ในหลอดลมเป็นจำนวนมาก และทำให้การอักเสบเป็นยาวนานขึ้น 
โดยส่วนใหญ่ มักเกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ในรายที่มีอาการแสดงว่า มีการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เสมหะเขียวมาก หรือมีไข้ร่วมด้วย 
โดยทั่วไป หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ใช้เวลาในการรักษา 1-2 สัปดาห์ ไม่หายใน 2-3 วัน และผู้ที่เคยเป็นหลอดลมอักเสบ มีแนวโน้มที่อาจเกิดหลอดลมอักเสบ ได้อีก หากมีการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนต้น ดังนั้น การดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง จึงเป็นสิ่งสำคัญ

แหล่งที่มา : npochu.th.gs 

อัพเดทล่าสุด