โรครูมาตอยด์ อาหาร อาหารสําหรับโรครูมาตอยด์ ประสบการณ์ตรงจากการเป็นโรครูมาตอยด์


635 ผู้ชม


โรครูมาตอยด์ อาหาร อาหารสําหรับโรครูมาตอยด์ ประสบการณ์ตรงจากการเป็นโรครูมาตอยด์

 

 

7 สารอาหารบรรเทาปวดไขข้อ โรครูมาตอยด์

โรครูมาตอยด์ อาหาร อาหารสําหรับโรครูมาตอยด์ ประสบการณ์ตรงจากการเป็นโรครูมาตอยด์

มีข้อมูลว่าอาหารบางชนิดช่วยลดความเสี่ยงหรือการอักเสบของโรครูมาตอยด์ได้หากกินเป็นประจำ
1. กรดโอเมกา-3 มีผลต้านการอักเสบในร่างกาย โอเมกา-3 ที่ได้จากอาหารทะเลมีกรดอีพีเอ (EPA = eicsapentaanoic) และดีเอชเอ ซึ่งลดการอักเสบของไขข้อ ผลวิจัยพบว่าการเพิ่มกรดโอเมกา-3 ในอาหารมีผลโดยตรงในการลดซี–รีแอคทีฟโปรตีนซึ่งกระตุ้นการอักเสบ อาหารที่มีกรดโอเมกา-3 สูง ได้แก่ ปลาทะเล (แซลมอน ทูน่า เทร้าส์ แมคเคอเรล) วอลนัท เต้าหู้ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง แฟลกซ์สีด น้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์สีด และน้ำมันคาโนลา น้ำมันปลา การวิจัยชี้ให้เห็นว่า น้ำมันปลาช่วยลดอาการปวดไขข้อและลดปริมาณการใช้ยาต้านการอักเสบได้ แต่อาจจะต้องกินติดติอกันประมาณ 3-4 สัปดาห์จึงจะเห็นผล มีคำเตือนว่าน้ำมันปลาอาจมีระดับวิตามินเอหรือสารปรอทสูงจึงควรปรึกษาแพทย์ 
2. สารฟลาโวนอยด์ ช่วยต้านเชื้อไวรัส ต้านการอักเสบ และลดการเกิดโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของร่างกาย เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ไขข้อ เป็นต้น สารฟราโวนอยด์พบในชาเขียว กระเทียม แอ๊ปเปิ้ล เบอร์รี่ ผลไม้ตระกูลส้ม และหอมหัวใหญ่ 
3. กรดโฟลิกหรือโฟเลต หรือวิตามินบี 9 พบมากในตับและผักสีเขียว เช่น ผักโขม ผักคะน้า ส่วนผลไม้ พบมากในส้มและแคนตาลูป ผู้ป่วยโรคไขข้อควรเสริมวิตามินชนิดนี้เพราะมีส่วนช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่กินยาเมทโธเทรกเซท (Methotrexate) จำเป็นต้องเสริมกรดโฟลิกเพื่อบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบ 
4. ซีลีเนียม ช่วยลดอนุมูลอิสระที่จะทำลายเนื้อเยื่อที่แข็งแรงและช่วยเสริมการทำงานของเอนไซม์ชนิดกลูตาไธโอนเพอร็อกซิเดสที่ต่อสู้กับการอักเสบ ผลวิจัยพบว่า คนที่มีระดับซีลีเนียมต่ำจะมีความเสี่ยงเกิดโรครูมาตอยด์มากขึ้น การกินทูน่าประมาณ 100 กรัม จะช่วยให้ได้รับซีลีเนียมเพียงพอตลอดทั้งวัน 
5. วิตามินซี มีประโยชน์ต่อเนื้อเยื่อภายในข้อและมีฤทธิ์ต้านการอักเสบพบได้ในผลไม้ประเภทส้ม พริกไทย สตรอว์เบอร์รี่ เป็นต้น 
6. วิตามินดีและแคลเซียมควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีและแคลเซียมให้เพียงพอโดยเฉพาะผู้ที่ต้องกินยาประเภทคอร์ติสเตียรอยด์ ซึ่งทำให้เนื้อกระดูกและระดับวิตามินดีในเลือดต่ำมีผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น อาหารที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ น้ำมันตับปลา เนย ครีม ไข่แดง ตับ และอาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ ผักใบเขียวจัด เช่น บรอคโคลี ปลาซาร์ดีนและแซลมอนกระป๋อง (ทั้งกระดูก) นมและผลิตภัณฑ์นม เต้าหู้ 
7. แอลกอฮอล์ มีงานวิจัยในปี 2008 สรุปว่า แอลกอฮอล์ช่วยป้องกันโรคไขข้อ แต่ไม่ได้ระบุถึงปริมาณที่แนะนำผู้ที่กินยาเมทโธเทรกเซทควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่อตับ


แหล่งที่มา : n3k.in.th

อัพเดทล่าสุด