โรคถุงลมโป่งพอง การป้องกัน ตำรายาจีน รักษาโรคถุงลมโป่งพอง โปสเตอร์โฆษณาโรคถุงลมโป่งพอง
อาหารกับโรคเรื้อรัง
อาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง (Cancer)
อาหารสำหรับโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
อาหารสำหรับโรคเบาหวาน (Diabetes)
อาหารสำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease)
อาหารในโรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง
อาหารที่เอื้อประโยชน์ต่อคุณภาพร่างกาย
สารอาหารชนิดต่างๆ ที่เรากินอาหารเข้าไป ถูกนำไปใช้สร้างส่วนของเซลล์ ถูกแปลงเป็นพลังงานในการเคลื่อนไหว และยังใช้ในการแก้ไข ป้องกันโรคบางอย่าง สารบางชนิดมีผลส่งเสริม บางชนิดมีผลต่อการยับยั้งความผิดปกติหลายๆ อย่างได้ ประเด็นสำคัญๆ ของสารอาหารจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการที่ผู้ที่มีปัญหาโรคเรื้อรังเอง ผู้ที่เกี่ยวข้องในการรักษา จำเป็นต้องทำความเข้าใจ
โดยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์เราบริโภคสารก่อมะเร็ง เช่น น้ำมันเก่าจากการทอดซ้ำๆ อาหารโปรตีน การบริโภคเนื้อแดง (Red meat) มีโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer) มากกว่าคนที่ไม่บริโภคเนื้อแดง
ในคนที่เป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ มะเร็งไต มักเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกิน ที่มาจากการบริโภคเข้าไปมากกว่าการนำไปใช้งาน จึงแนะนำให้ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มการเผาผลาญส่วนเกิน
การดื่มแอลกอฮอลล์ (Wine มากกว่า 200 ml, หรือ beer มากกว่า 2 liters ต่อวัน) มีโอกาสเสี่ยงมากต่อการเป็นมะเร็งลำคอ หลอดอาหาร ตับ เต้านม และ ลำไส้
การบริโภคสาร alfatoxins (จากถั่ว งา ค้างนานๆ) ก่อให้เกิดมะเร็งตับ การบริโภคเกลือเกินกว่า 500 mg ต่อวันก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้
มีสารบางอย่างมีผลลดความเสี่ยงในการเติบโตของเซลล์มะเร็ง รายงานของ World Cancer Research Fund ระบุว่าอาหารบางอย่าง การออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมสามารถป้องกันโอกาสการเกิดมะเร็งได้ประมาณ 30-40%
ผลไม้และผักที่มีสีเขียวจัด (Dark green) เชื่อว่ามีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งที่กระเพาะอาหาร ปอด และลำคอได้ ผัก Broccoli ถั่วงอก กะหล่ำปลี ช่วยป้องกัน Thyroid cancer
สารต้านมะเร็ง (Anticancer) มีรายงานว่ามักจะเป็นกลุ่มเดียวกับสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ซึ่งมักมีรสเผ็ดพบได้ในครัวไทยได้แก่ กะเทียม หอมหัวใหญ่ ผักชี รวมถึงมะเขือเทศ เชื่อว่าช่วยลดความเสี่ยงและลดการขยายตัวของการเป็นมะเร็งกะเพาะอาหาร กระเพาะปัสสาวะ
สารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) จากพืชสีเหลือง สีส้ม (Carrot, มะละกอสุก ฟักทอง) พืชที่มีรสเปรี้ยว (Vitamin C) น้ำมันปลาทะเลบางชนิด (Vitamin E, Omega-3, 6) พืชที่มีเม็ดเล็กๆ (องุ่น แอปเปิ้ล ลูกหม่อน ลูก Blueberries มีสาร Selenium) ช่วยลดความเสี่ยงและลดการขยายตัวของการเป็นมะเร็งปอด และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ชาเขียว
การเก็บถนอมอาหารในตู้เย็นทำให้อัตราการสูญเสียเกลือแร่จากอาหารนั้นๆ ลดลง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องปรุงอาหาร (ที่เก็บอย่างดีในตู้เย็น) ด้วยการเพิ่มปริมาณเกลือ (ร่างกายต้องการเกลือ 150-500 mg ต่อวัน)การปฏิบัติตัวและผลที่ได้รับ
1.ออกกำลังกายทุกวัน เพื่อเผาผลาญพลังงาน
2. ทานอาหารกลุ่มพืช ผัก ผลไม้ทุกวัน โดยให้สลับไป-มาในกลุ่ม ผลไม้มีเม็ดเล็กๆ ผลไม้ขบเคี้ยว (มีเปลือก) ผักสีเขียว พืชที่เก็บอาหารในราก เพื่อป้องกันมะเร็งทางเดินอาหาร รักษาสภาพเซลล์
3. ลดปริมาณน้ำตาลให้เหลือประมาณ 10% ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมดที่ร่างกายต้องการต่อวัน เพื่อ ควบคุมปริมาณน้ำตาลในร่างกาย ลดการทำงานของตับอ่อน
4. ไม่ดื่มแอลกอฮอลล์ ถ้าเลี่ยงไม่ได้ต้องไม่มากกว่า 100 ml (wine) หรือ 200 ml (beer)เพื่อลดทำงานของตับ
5. หลีกเลี่ยงเนื้อแดง ให้ทานปลาทะเล (นึ่งดีกว่าทอดน้ำมัน) เพื่อลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้
6. จำกัดไขมัน ไม่เกิน 15-30% ของปริมาณแคลอรี่ทั้งหมดที่ร่างกายต้องการต่อวัน เพื่อควบคุมปริมาณไขมัน
7. บริโภคเกลือไม่เกิน 5-6 g ต่อวัน เพื่อลดการทำงานที่ไต
8. เลี่ยงอาหารหมักดอง เพื่อลดความเสี่ยงต่อสารพิษ เชื้อรา
9. เลี่ยงอาหารกลุ่มเนื้อย่าง เพื่อเลี่ยงสารก่อมะเร็งตับ
แคลเซียม ร่างกายต้องการแคลเซียมประมาณ 1200-1500 mg ต่อวัน ซึ่งเท่ากับการดื่มนม 1 แก้ว (250 ml) เด็กวัยรุ่นและคนสูงอายุต้องการแคลเซียมมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ในผู้ใหญ่ (กลุ่มคนเอเชียตะวันออก) จะดื่มนมไม่ได้เพราะขาดน้ำย่อยที่เรียกว่า Lactase Deficiency ทำให้เกิดท้องเสียได้ จึงต้องได้รับแคลเซียมทางอื่น เช่น แคลเซียมเม็ด, ถั่วเหลือง, ผลิตถัณฑ์จากธัญญพืช
เดิมทราบเพียงว่าการกินอาหารที่มี แคลเซียมและ Vitamin D ในช่วงวัยรุ่นช่วยให้กระดูกแข็งแรง แต่ปัจจุบันพบว่าอาหารแคลเซียมสูงมีผลที่ชัดเจนต่อภาวะกระดูกพรุนในคนสูงอายุ ในคนทั่วไปการได้รับแคลเซียม 500 mg ต่อวัน ทำให้เพิ่มปริมาณแคลเซียมในกล้ามเนื้อได้ถึง 4% ในคนหลังวัยหมดประจำเดือนต้องได้รับแคลเซียม 800 mg ต่อวัน เพื่อสร้างความแข็งแรงของกระดูกสะโพกและสันหลัง
ปริมาณแคลเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวันแบ่งตามกลุ่มอายุ
ช่วงอายุ (ปี) | แคลเซียม (มิลลิกรัมต่อวัน) |
1-3 | 500 |
4-8 | 800 |
9-13 | 1300 |
14-18 | 1300 |
19-30 | 1000 |
31-50 | 1000 |
51-70 | 1200 |
70+ | 1200 |
ภาวะอื่นๆ ที่มีผลต่อกระดูกพรุน
ร่างกายต้องการ Vitamin D เพื่อเร่งการดูดซึมแคลเซียม เราอาจได้ Vitamin D จากการที่ผิวหนังถูกแสงแดด จึงต้องกระตุ้นให้ผู้ที่มีภาวะกระดูกพรุนมีกิจกรรมนอกบ้านในตอนเช้าและกลางวันบ้าง
การกินอาหารที่มีโปรตีนสูง การกินเนื้อสัตว์มากกว่าสารอาหารชนิดอื่น เร่งให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้
แอลกอฮอลล์และกาแฟ เร่งให้เกิดภาวะกระดูกพรุน
บทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะเบาหวานประเภทที่สอง อันเป็นความผิดปกติที่มีความเกี่ยวข้องทางกรรมพันธุ์ ซึ่งมีระยะการเตือน ให้รู้ได้ ทำให้เรารู้ตัวและมีการปรับอาหารร่วมกับการรักษาอื่นๆ เพื่อลดความรุนแรงและป้องกันได้
สัญญาณเตือนแรก ได้แก่ความอ้วน หากมีเส้นรอบวงเอวต่อสะโพก มากกว่า 1.00 หรือ BMI มากกว่า 30 ให้ระวังว่ามีความเสี่ยงเป็นเบาหวานชนิดที่สองสูง ต้องปรับอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักตัวอย่างเคร่งครัด
กลุ่มอาหารที่ควรเลี่ยง ได้แก่ของหวาน ของมันโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว ควรงดเว้นกลุ่มผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เพราะกลับมีส่วนเร่งการเกิด สิ่งที่ควรทำ ได้แก่ ทานอาหารไขมันต่ำและออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
มีอาหารกลุ่มแป้งชนิดหนึ่งเรียกว่า Non-starch polysaccharides (NSP) ซึ่งมีเส้นใยมาก ทำให้ระดับน้ำตาลและอินซูลินลดลง อาหารในกลุ่ม NSP ได้แก่ wholegrain cereals, ผัก และผลไม้ *BMI (body mass index คำนวณจาก น้ำหนักตัวในหน่วยกิโลกรัม / ความสูงในหน่วยเมตรยกกำลังสอง)
ไขมัน แบ่งเป็น 3 ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่
ไขมันอิ่มตัว (พบในไขมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว บริโภคแล้วทำให้มีระดับ LDL มากขึ้นเป็นอันตรายต่อหลอดเลือด
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (พบในน้ำมันจากดอกทานตะวัน)
ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (พบในน้ำมันข้าวโพด ถั่วเหลือง ละหุ่ง งา พริมโรส ลูกวอลนัท ปลา) ไขมันไม่อิ่มตัวทั้ง 2 ชนิดเป็นไขมันที่มีผลดีต่อร่างกายและควรบริโภคชนิดและปริมาณไขมันที่ควรบริโภคเพื่อลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
ชนิดอาหาร
การบริโภค
ไขมันรวม
30% หรือน้อยกว่า
- ไขมันอิ่มตัว
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว
- ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน
8-10%
10%
15%คาร์โบไฮเดรต
55% หรือมากกว่า
โปรตีน
15%
คอเลสโตรอล
น้อยกว่า 300 mg ต่อวัน
มีไขมันกลุ่มใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างได้ง่าย ซึ่งเป็นโทษต่อร่างกาย เพิ่มปริมาณ LDL และลด HDL ไขมันในกลุ่มนี้ได้แก่ มาการีน น้ำมันทอดอาหารที่ใช้ซ้ำๆ ดังนั้นการซื้อปาท่องโก๋ เปาะเปี๊ยะทอด กล้วยแขก จากร้านที่มีแต่น้ำมันเก่าๆ จึงควรหลีกเลี่ยง
ใยอาหาร ใยอาหารที่ละลายย่อยสลายได้ ซึ่งได้จากผลไม้พวกแอปเปิ้ล สตรอเบอรี่ มะนาว ส้ม ผักเช่น ข้าวโอ๊ต และถั่ว ซึ่งมีส่วนในการลดปริมาณคอเรสโตรอล ส่วนการกินใยอาหารที่ละลายย่อยสลายยาก เช่น ข้าวสาลี มีส่วนช่วยลดอาการท้องผูก
(ในคนที่เป็นโรคหัวใจต้องเสริมอาหารที่ทำให้ขับถ่ายง่ายเพื่อเลี่ยงการเบ่งอุจจาระ) แอลกอฮอลล์ จะดื่มก็ได้แต่ไม่ควรมากนัก จะช่วยลดความเสี่ยงจากอาการโรคหัวใจได้ การเริ่มดื่มแอลกอฮอลล์ที่อายุ 35 ปี มีผลดีกว่าการเริ่มดื่มที่อายุอื่นๆ อย่างไรก็ตามท่านควรปรึกษาแพทย์ก่อน
โปรตีนจากถั่วเหลือง ช่วยลดคอเรสโตรอล และ LDL ในเลือดโดยไม่มีผลต่อ HDL มีมากในเต้าหู้ ถั่ว
ในผู้ป่วยถุงลมโป่งพองเรื้อรัง ต้องใช้พลังงานในการหายใจมากกว่าคนปกติถึง 10 เท่า จึงไม่ควรกินอาหารหรืออยู่ในท่าทางใดๆ ที่ขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อหายใจเข้าอื่นๆ การเลือกชนิด ปริมาณของอาหาร รวมถึงการปรับอุปนิสัยการกินอาหารมีผลต่อการทำงานของปอดดังนี้
ทานอาหารอิ่มมากเกินจะไปกดกะบังลม ทำให้หายใจไม่สะดวก
หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดก๊าซในทางเดินอาหาร เช่น ถั่ว แกง ของหมักดอง เครื่องเทศ
กินอาหารที่ย่อยยาก การเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด ทำให้อาหารตกค้างนานมีผลต่อการหายใจ
เลือกอาหารกลุ่มโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่นไข่ ปลา
เลือกอาหารไฟเบอร์ที่เตรียมง่ายแต่มีคุณค่าต่อร่างกายให้ได้ 25-30 กรัมต่อวัน ซีเรียล ชีส นม โยเกิร์ต
กินอาหารช้าๆ คำเล็กๆ เคี้ยวให้ละเอียด ควบคุมการหายใจลึกสม่ำเสมอ
กินอาหารทีละน้อย แบ่งเป็น 6 มื้อ
หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม (อย่าให้เกิน 300 มิลลิกรัมต่อมื้อ) เพราะทำให้มีการคั่ง บวมน้ำได้ง่าย
หลีกเลี่ยงกาแฟ ชา เพราะมีผลยับยั้งยาบางอย่างที่ใช้ในคนไข้ถุงลมโป่งพอง
ดื่มน้ำมากเพื่อช่วยให้เสมหะไม่เหนียว แต่อย่างไรก็ตามหากท่านมีปัญหาโรคหัวใจร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับปริมาณน้ำดื่ม
ชื่อทางชีวเคมี
พบได้ในอาหาร
เบต้า-แคโรทีน แครอท, ฝักทอง , แคนตารูป,มะม่วง,สับปะรด ,มันเทศ Lutein ผักสีเขียว Lycopene มะเขือเทศ วิตามินซี มะนาว, ผักใบเขียว, บล็อกเคอรี่, มะเขือเทศ, สตอเบอร์รี่ , แตงโม วิตามินอี น้ำมันพืช, whole grains ซีลีเนียม (จำพวกกำมะถัน) องุ่น, บูลเบอร์รี่, แบล็กเบอร์รี่, plant foods from high Selenium soil Allium compounds หอมใหญ่, กระเทียม, leeks, เครื่องเทศ Quercetin ไวน์แดง,ชา
แหล่งที่มา : ruammitra.0fees.net