โรคพุ่มพวง รักษา ยาสมุนไพรแก้โรคพุ่มพวง อาหารที่ต้องห้ามโรคพุ่มพวง


859 ผู้ชม


โรคพุ่มพวง รักษา ยาสมุนไพรแก้โรคพุ่มพวง อาหารที่ต้องห้ามโรคพุ่มพวง

 

 

โรคพุ่มพวง หรือโรค SLE

โรคพุ่มพวง รักษา ยาสมุนไพรแก้โรคพุ่มพวง อาหารที่ต้องห้ามโรคพุ่มพวง

การศึกษาตีพิมพ์ลงใน นิวอิงแลนด์เจอร์นัล ทางการแพทย์ พบว่า ในคนไข้ภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง หรือ เอสแอลอี สามารถตรวจพบในเลือดได้ก่อนที่จะมีอาการ เป็นเดือน ในบางครั้งเป็นปี

โรค เอสแอลอี เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกัน ที่จำร่างกายไม่ได้จึงสร้างภูมิเกินขึ้นมา และ เข้าไปทำลายอวัยวะต่าง ๆ อวัยวะที่สำคัญ เช่นเม็ดเลือด ผิวหนัง ทำให้เป็นผื่น ข้อ ทำให้ปวดข้อ กล้ามเนื้อ สมอง เส้นเลือด ไต ก่อให้เกิดอาการอักเสบตามอวัยวะต่าง ๆ

แพทย์ มักวินิจฉัยได้ เมื่อมีอาการเหล่านี้แล้ว จากการศึกษาย้อนหลัง ในมหาวิทยาลัยโอกลาโฮมา โดยนำเลือดของคนไข้ที่ได้เก็บไว้ มาเปรียบเทียบกับเลือดปัจจุบันของคนไข้ที่เป็นโรค เอสแอลอี 130 คน โดยตรวจค่าหนึ่งที่เรียกว่า autoantibodies เช่น antinuclear antibodies(ANA) พบว่า มีการสูงขึ้นของค่านี้ เป็นเดือน หรือปี ก่อนจะเกิดอาการขึ้น โดยคนไข้เองก็ไม่รู้ตัว และระดับสูงขึ้น เรื่อย ๆ จนเกิดอาการ หลังจากนั้น ระดับค่านี้จะคงที่ หรือต่ำลง ซึ่ง ไม่แน่ใจว่าเป็นผลของยา หรือจากการที่ร่างกายมีการปรับเอง

จากการศึกษานี้ นำไปสู่แนวทางพิจารณาตรวจเลือดในคนไข้ที่เริ่มมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคเอสแอลอีได้

ดังนั้น การรักษาโรคจึงไม่เหมือนกัน แล้วแต่คน แล้วแต่อาการ แล้วแต่ว่าใครทานยาอะไรได้ ยังขึ้นกับแพทย์ว่าชอบใช้ยาตัวไหน

การรักษา
  1. กลุ่มโรค ดี แอล อี ใช้ยากลุ่ม คลอโรควิน ทานวันละ 2 เม็ด ไม่เกิน 6 เดือน หลังจากนั้นให้ทานวันละ 1 เม็ด นาน 5-10 ปี ระวังโรคแทรกซ้อน เช่น ตาพร่า ฯลฯ ร่วมกับครีมทาผื่น และครีมกันแสงแดด แพทย์ทางอายุรกรรมอาจไม่เน้นการรักษาโดยใช้ครีมกันแดด มีผู้ป่วยหลายคนมีอาการเห่อ เนื่องจากไปตากแดดแล้วลืมทาครีมกันแดด ครีมกันแดดที่ใช้ดีต้องมี SPF เกินกว่า 15 จึงจะป้องกันได้ดี ข้อเสียคือ ที่เขียนว่า 15 บางทีวัดดูแล้วเหลือ 8 ก็มี ถ้าจะให้ดีเลือกใช้ SPF ประมาณ 25 ก็เหลือเฟือ เพราะถ้าวัดแล้วเหลือครึ่งหนึ่งก็ยังดี บางคนซื้อชนิด 45 ก็มี แต่ไม่มีประโยชน์กว่า และเสียเงินแพง
    SPF หมาย ถึงว่า จะกันแสงได้นานเท่าใดต่างหาก 1 SPF ในผิวของคนไทย ตากแดดนานถึงประมาณ 25 นาที จึงเกิดอาการผิวแดง เอาจำนวน SPF คูณ 25 นาที ดูว่าจะนานเท่าใด ถ้าเกิน 12 ชั่วโมง ไม่ทราบว่าจะทากันแสงเดือนด้วยหรือเปล่า ส่วนยาอื่น ๆ เช่น สารประกอบทอง ยากลุ่มเรตตินอย ฯลฯ นอกจากมีราคาแพง ผลการรักษาอาจไม่ดีกว่า
  2. กลุ่ม ปรี-เอส แอล อี การรักษาเหมือนกลุ่ม ดี แอล อี อาจให้กลุ่มแอสไพรินด้วย ถ้าไม่ ได้ผลอาจให้สเตียรอยด์ อย่ารอจนมีอาการครบของ เอส แอล อี จึงรักษา
  3. กลุ่มโรค เอส แอล อี ให้ดูว่ามีเส้นเลือด อักเสบหรือไม่ ถ้ามีมักพบว่าในเลือดมีระดับ คอมพลีเมนต์ (สารบอกความรุนแรงของโรค) ต่ำด้วย ถ้าไม่มีเส้นเลือดอักเสบ คงเพิ่มสเตียรอยด์อย่างเดียวจากกลุ่ม ดี แอล อี ถ้ามีเส้นเลือดอักเสบอ่อน ๆ อาจให้กลุ่ม แอสไพริน ถ้าเส้นเลือดอักเสบมาก อาจให้ยากดปฏิกิริยาอิมมูน
    แพทย์ อายุรกรรมอาจทำการเจาะไตเพื่อ ดูความเปลี่ยนแปลงในไตว่าเป็นมากน้อย เพียงใด แต่ผู้เขียนดูความรุนแรงของการอักเสบของเส้นเลือดที่ผิวหนังเป็นหลักโดยไม่ เจาะไต ผู้เขียนเคยสั่งเจาะไต แต่ไม่พบว่าการเปลี่ยนแปลงทางไตมีผลต่อการเปลี่ยนการรักษา ในปัจจุบันจึงไม่สั่งเจาะไตยกเว้นในรายที่มีอาการบวมที่ขา

ยากดปฏิกิริยาอิมมูน 
ที่ใช้กันมาก มี 3 ตัว แล้วแต่แพทย์คนใดถนัดตัวไหน ผู้เขียนจะให้ยา เอซ่าไทโอปริน ในเด็กและผู้หญิงสูงอายุ เพราะกันมีปัญหาเรื่องกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ให้ยา ไซโคลฟอสฟามาย ในหญิงสาว สามารถคุมโรครุนแรงไม่ให้กำเริบได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหมาะกับเส้นเลือดอักเสบและไม่มีปัญหาเรื่องอันตรายจากยา เพราะผู้เขียนสั่งยาจนชำนาญ ใช้ยา คลอแรมบิวซิล ในรายที่มีข้อแทรกซ้อนจากยา 2 ชนิดข้างบน แต่ตัวของมันเอง ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำบ่อย ๆ คงจะมีคำถามว่าแล้วผู้ชายเล่ารักษาอย่างไร คำตอบคือเหมือน ๆ กัน ส่วนการรักษาอื่น ๆ ไม่ใคร่ทำ เช่น การฟอกเลือด (plasmapharesis) มีการฟอกไต ฯลฯ ในขณะทำการรักษาผู้ป่วยเกิดมีอาการผมร่วง ข้อนี้สำคัญ แพทย์ผิวหนังที่รักษาจะทราบว่า ผมร่วงนั้นเกิดจากยาหรือเกิดจากโรค โดยตรวจที่รากผม จะได้ให้ยาเพิ่มหรือลดเพื่อให้คนป่วย ได้รับประโยชน์มากที่สุด ถ้าเกิดจากยาก็ลดยา ถ้าเกิดจากโรคก็เพิ่มยา ส่วนยาอื่น ๆ เช่น ไซโคลสปอร์ลิน ฯลฯ มีแพทย์ลองใช้เหมือนกัน แต่ราคาแพงไม่เหมาะสำหรับการรักษา ที่ยาวนาน

การพยากรณ์โรค
ผู้ ที่มาหาแพทย์ผิวหนัง มักมีผื่นที่ผิวหนัง ดังนั้นอาการจึงไม่รุนแรง เพราะสามารถวินิจฉัย ได้รวดเร็วและรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เป็นโรคสามารถมีชีวิตเช่นเดียวกับคนปกติ ที่ไม่เป็นโรค การรักษานาน 10-20 ปี

ผู้เขียนลองหยุดยาในกรณีที่มีอาการดีขึ้น หรือผู้ป่วยหลายคนไม่อยากมารับยาอีกต่อไป เพราะถือว่าไม่เป็นอะไร สบายดีหลายปี ทำไมต้องไปพบแพทย์ แต่ต่อมาอีก 2-3 ปี มักมีอาการของโรคกำเริบ มาคราวนี้ผู้ป่วยไม่มีอาการผิวหนัง แต่จะมาด้วยอาการ ตัวบวม ตาบวม แขนบวม เพราะโรคลงไต ทำให้เกิดไตพิการรุนแรงแบบนี้ต้องให้แพทย์รักษาโรคไตรักษา ดังนั้นผู้เขียนแนะนำว่า ให้ผู้ป่วยรับยาตลอดชีวิตด้วยยาอ่อน ๆ ขนาดของยาสตียรอยด์ แค่วันละครึ่งเม็ดเป็นต้น พร้อมแนะนำผู้ป่วย ถ้าอยากจะไปรักษากับหมอพระ ยาต้ม ยาหม้อ ยาเทวดาที่ไหนก็ได้ แต่ห้ามขาดยาของหมอก็แล้วกัน เพราะยาสมุนไพรไม่สามารถรักษาโรค เอส แอล อี ได้ จริงอยู่ที่มีสมุนไพรบางชนิดเป็นสารอัลคาลอยด์ อาจรักษาได้ แต่พิษของมันมีโทษมากกว่า และคนไม่รู้จริงในการใช้จะเป็นผลเสียมากกว่า

นอก จากนี้แพทย์อาจแนะนำให้หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้เกิดโรคได้ แต่ผู้เขียนยังไม่เคยพบ ใครที่เป็นโรคเกิดจากยาเลย อาจเป็นเพราะบังเอิญก็ได้ที่กินยาชนิดใดชนิดหนึ่ง แล้วเกิดเป็นโรค แต่ยาบางชนิด เช่น โพรเคนนามาย หรือ ฮัยดราลาซิน และยาคุมกำเนิด อาจทำให้เกิดโรคได้จริง แต่เมื่อหยุดยาแล้วโรคก็ไม่หาย

โรค นี้มักเป็นในวัยสาว ผู้ป่วยของผู้เขียนมักไปแต่งงานโดยไม่บอกให้แพทย์ทราบ ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่าง คำแนะนำในหญิงอาจที่ตั้งครรภ์ คือ ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติ เพราะยาฉีด ยารับประทานฮอร์โมนอาจทำให้โรคกำเริบ ยาคลอโรควีน อาจทำให้เกิด ความผิดปกติของทารก เล็ก ๆ น้อย ๆ ยากดปฏิกิริยาอิมมูนทำให้เด็กพิการ ต้องทำแท้ง ถ้าตั้งครรภ์ แต่ผู้เขียนพบผู้ป่วยหลายคน ได้รับยานี้ขนาดต่ำ ๆ (ไม่ยอมบอกหมอว่าตั้งครรภ์) แต่โชคดีที่ลูกเกิดมาไม่พิการ บางคนอาจไม่มีโชคอย่างนั้น และยานี้ ทำให้บางคน ไม่มีประจำเดือน หรือเป็นหมันก็มี ก็ดีไปอย่างที่ไม่ต้องเปลืองผ้าอนามัย

ในกรณีที่ตั้งครรภ์และเป็นรุนแรง บางที่แพทย์ต้องพิจารณาว่าจะเอาลูกหรือเอาแม่ไว้
ส่วน ใหญ่ 100% คงต้องเอาแม่ไว้ก่อน (ไม่แน่พ่อบางคนอาจจะบอกว่าเอาลูกไว้) ลูกที่เกิดมาจะเป็นโรคได้หรือไม่ ก็อาจเป็นได้ว่าลูกที่เกิดมาเป็น เอส แอล อี ได้ในบางราย มักมีการเต้นของหัวใจผิดปกติ และมี แอนติ โร แอนติบอดี

โรค นี้เป็นกรรมพันธุ์หรือไม่ บางรายอาจจะเป็น เช่น ผู้เขียนพบแม่เป็น ลูกก็เป็นตอนโต 2-3 ครอบครัว ฝาแฝดก็พบหนึ่งคู่ เป็นต้น ถ้าคนบางคนมียีน (gene) บางชนิด จะมีแนวโน้มเป็นโรคนี้ง่าย

ถ้าผู้ป่วย รู้มากอาจมีคำถามว่ารับยากดปฏิกิริยาอิมมูนแล้ว มีโอกาสเป็นมะเร็งหรือเปล่า คำอธิบายคือ ถ้าไม่ได้ยากดปฏิกิริยาอิมมูน ผู้ป่วยคงตายก่อนไม่ทันมีอายุยาวนานเป็นมะเร็ง มีการทดลองในหนู พบว่าหนูที่รับยาจำพวกนี้เป็นมะเร็งได้ แต่ในคนไม่ทราบว่าเป็นหรือไม่ สถาบันวิจัยโรคนี้ที่สหรัฐ พบว่า ถ้าให้ยากดปฏิกิริยาอิมมูน 2 ชนิด หนูไม่เป็นมะเร็ง ดังนั้นการรักษาโรคแพทย์สหรัฐจึงเริ่ม ให้ยา 2 ชนิด พร้อม ๆ กัน (กำลังทดลองอยู่) ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคนี้ อย่าเพิ่งท้อแท้ใจชีวิตนี้ยังมีหวัง การวิจัยทางการแพทย์ยังคงดำเนินอยุ่ และคุณควรได้รับคำแนะนำ และรักษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการ ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านท่าน โรคนี้ไม่ควรรักษาที่คลินิกแพทย์ เพราะมีกฎห้ามไว้ว่า ห้ามจำหน่ายยากดปฏิกิริยาอิมมูน ในร้านขายยาและคลินิก นอกจากที่โรงพยาบาลอย่างเดียว

คนที่เป็นโรค เอส แอล อี ทุกคนตายเร็วก่อนถึงวัยอันสมควรหรือไม่ คำตอบ คงไม่จริง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการรุนแรงของโรค โรคทุกอย่าง ผู้เขียนแบ่งความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ

โรคนี้แบ่งออกเป็น
1. เป็นน้อย เช่น อยู่ในกลุ่ม ปรี-เอส แอล อี (pre-SLE)
2. เป็นปานกลาง อยู่ระหว่างกลาง คือโรคยังไม่ลงที่ไต
3. เป็นมาก มีอาการดังนี้ เช่น ไตพิการมาก ตัวบวม ขาบวม
อาการ
- แผลที่เพดานปาก เส้นเลือดอุดตัน ทำให้ปลายนิ้วเน่าแห้ง
- เป็นแผลเนื้อตายที่ปลายเท้า ตรงกลางสีดำล้อมรอบด้วยสีเหลือง และขอบนอกสุดมีสีแดง กลุ่มนี้อาจตายโดยไม่คาดฝัน
- อาการทางสมอง ชัก พูดเพ้อเจ้อ
- เมื่อเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำ
- ระดับคอมพลีเมนต์ ต่ำมากในเลือด

กลุ่ม นี้ถ้ารักษาด้วยยาที่ไม่ถึงขนาด โรคจะไม่หายโดยเร็ว และมีโอกาสถึงแก่ความตาย เร็วหรือผู้ป่วยใจร้อน ย้ายสถานที่รักษาบ่อย ๆ หรือขาดยาเป็นประจำ การทำลายอวัยวะต่างๆ จะดำเนินอยู่ตลอดเวลา จนสายเกินที่จะแก้ไข นอกจากนี้ยังเกิดโรคแทรกซ้อนจากยาสเตียรอยด์ เช่น หน้าบวม เลือดตกในกระเพาะอาหาร ความดันสูง เบาหวาน นาน ๆ ไป กระดูกพรุน ข้อตะโพกเสื่อม ต้องเปลี่ยนใส่ข้อเทียม มิฉะนั้นเดินลำบาก

ยาสเตียรอยด์ ที่ใช้กันมากชนิด คือ เพรดนิโซโลน ส่วนผู้เขียนชอบใช้ เพรดนิโซน เฉกเช่นเดียวกับแพทย์ต่างประเทศ เพราะมีผลข้างเคียงน้อยกว่า แต่ทว่ายาเพรดนิโซน ไม่มีแพทย์ไทยคนไหนใช้ บริษัทจึงไม่สั่งเข้ามาจำหน่าย ก็เลยเป็นกรรมของคนไทย ที่ต้องใช้ยาแล้วอาจมีผลอันไม่พึงปรารถนามากหน่อย เช่นหัวกระดูกข้อตะโพกเสื่อมเร็ว บางคนไม่ถึง 2 ปี ก็ผุแล้ว เตรียมการรับการผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกเทียม

สุดท้าย บางคนยังไม่รู้จักโรคนี้ว่าชื่อเต็มว่าอย่างไร คำตอบคือ discoid (DLE) และ systemic lupus erythematosus (SLE) หรือ red wolf แปลเป็นไทยว่า โรคสุนัขป่าหน้าแดง ถ้าใครสังเกตในภาพยนต์ฝรั่ง wolf จะมีลักษณะเหมือนพันธุ์อัลเซเซี่ยน ซึ่งสุนัขพันธุ์นี้มีผื่นแดงที่หน้า เป็นโรคนี้ได้เหมือนกัน

ข้อมูล: Arbuckle M, et al. Development of autoantibodies before the clinical onset of systemic lupus erythematosus. NEJM 2003;349(16):1526-33.

นพ.ธาดา เปี่ยมพงศ์สานต์. https://www.elib-online.com

 


แหล่งที่มา : blog.eduzones.com

อัพเดทล่าสุด