ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip


2,993 ผู้ชม


ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip

 

ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์
เอาเมล็ดที่ต้องการเพาะมาแช่น้ำไว้ จนกว่ารากจะเริ่มงอกออกจากเมล็ด ก็เตรียมฟองน้ำเพื่อหยอดลงไป
Tip >> สังเกตุดูว่าเมล็ดที่จมน้ำจะงอกได้อย่างดี ส่วนเมล็ดที่ไม่จมน้ำ จะงอกได้ไม่ค่อยดี

ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip
นำฟองน้ำที่จะใช้แช่น้ำบีบน้ำให้พอชุ่ม แล้วก็นำเมล็ดหยอดลงไป ให้เมล็ดต่ำกว่าขอบฟองน้ำประมาณ 1 ซม ระวังอย่าให้รากที่เริ่มงอกออกมาขาด 
คอยสังเกตุอย่าให้ฟองน้ำแห้ง ใบก็จะค่อย ๆ งอกออกมาจากฟองน้ำ
พอเห็นใบสีเขียวเริ่มงอกพ้นจากฟองน้ำ ให้นำไปโดนแดดอ่อน ๆ
Tip >>>
- ถ้านำต้นอ่อนไปโดนแดดช้าเกินไป จะทำให้ต้นอ่อนยืดหาแสง ลำต้นจะยาวแต่เปราะค่ะ
- เมื่อเริ่มมีใบจริงขึ้นมาสัก ใบหรือสองใบ ก็เริ่มให้ปุ๋ย A,B ได้เลย
โดยให้ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ ก่อนค่ะ
อาจจะผสม A , B อย่างละ 5 cc ต่อน้ำ 1 ลิตร
หรืออาจจะผสมปุ๋ยให้มีค่า EC ที่ 0.2 ก็ได้ค่ะ 
เมล็ดบางอย่างจะไม่งอกถ้าอยู่ในน้ำ หรือที่เปียก อย่างที่ลองมาก็จะเป็นพวกฟัก , แตนตาลูป , ถั่วพูล
พวกที่มีเมล็ดใหญ่ๆ ค่ะ เราก็ต้องหลอกมันก่อนว่ามันงอกบนดิน
โดยใช้ถ้วยปลูกที่มีหลุมค่อนข้างลึกหน่อย เอากาบมะพร้าวที่ค่อนข้างเล็ก มาแช่น้ำ วางไว้ที่ก้นถ้วย
แล้วก็กรอกดินลงไป ฝังเมล็ดลงไปในดินลึกประมาณ 1 ซม แล้วก็รดน้ำลงหาถาดมารองไว้
คอยเติมน้ำให้สูงประมาณ 1 ซม วิธีนี้เมล็ดที่ไม่ค่อยชอบน้ำจะงอกค่ะ 
หัวใจของกล่องปลูกอยู่ที่
1. ไม่ทำให้น้ำในกล่องร้อนหรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมากนัก
ถ้าน้ำในขวดร้อน ผลที่ได้คือรากเน่าค่ะ (Y^Y)
อีกประการหนึ่งคือ เมื่อน้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น จะมีผลทำให้ค่า pH ของน้ำที่มีปุ๋ย
อยู่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากค่ะ พืชจะโตได้ไม่ค่อยดี และเราต้องมาปรับค่า 
pH กันอีก
ตั้งแต่นกใช้เป็นกล่องโฟม นกแทบไม่ได้ใช้เครื่องวัดค่า pH เลยล่ะค่ะ 
2. แสงไม่สามารถผ่านเข้าไปได้ เพราะจะเกิดตะไคร่น้ำมาก ทำให้รากเน่า
(รากเน่า อาการคือรากจะเป็นสีน้ำตาล ถ้าใช้มือรูด รากก็จะขาดออกมาได้ง่ายค่ะ)
วิธีแก้ คือ ให้หุ้มกล่องด้วยอลูมิเนียมฟอยล์ที่เค้าเอามาทำอาหารล่ะค่ะ
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip
ถ้วยปลูกเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะขาดเสียมิได้
มีหลายแบบให้เลือกตามความเหมาะสมค่ะ
แบบที่ 1 และ 2 จะเป็นแบบ หนีบฟองน้ำค่ะ เหมาะกับปลูกพวกหัว เช่น แครอท บีทรูท
แต่ก็สามารถเอามาใช้ได้ ติดอยู่หน่อยนึงตรงที่เวลาที่ต้นไม้โตจนค่อนข้างหนัก มันจะดันฟองน้ำ
ให้หลุดลงไปในน้ำค่ะ รากจะเน่าง่ายค่ะ
แบบที่ 3 และ 4 เป็นแบบวางฟองน้ำในถ้วย จะไม่เจอปัญหาฟองน้ำหลุด แต่จะปลูกพืชแบบหัวไม่ได้ค่ะ
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip
พอต้นอ่อนงอกใบจริงสัก 2 ใบก็เริ่มลงปุ๋ยได้เลยค่ะ
โดยเอาปุ๋ย A,B ผสมอย่างละเท่าๆ กัน ให้มีค่า EC ที่เหมาะกับพืชนั้นๆ
ตัวอย่างเช่น น้ำ 2 ลิตร ใส่ปุ๋ย A 5 cc ปุ๋ย B 5 cc กวนให้เข้ากันแล้วก็วัดค่า EC
ถ้าค่ายังไม่พอ ก็ค่อยๆเติมปุ๋ยทีละน้อย ในส่วนที่เท่ากันค่ะ
ตรงนี้นกไม่สามารถบอกได้ว่าต้องใช้ปุ๋ยเท่าไหร่ต่อน้ำเท่าไหร่
เนื่องจากปุ๋ยแต่ละเจ้าจะมีความเข้มข้นไม่เท่ากัน และภาชนะที่ปลูกของแต่ละท่านก็ไม่เท่ากันด้วย
ต้องลองกะๆเอาแล้วใช้เครื่อง EC วัดเอาจะดีกว่าค่ะ 
ค่า EC 
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip                 ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip
ผักที่เริ่มปลูกใหม่รากยังไม่มากให้ใส่น้ำปุ๋ยให้ถึงรากไปก่อนค่ะ พอรากเริ่มโผล่พ้นถ้วยปลูก เราก็ค่อยๆ ลดระดับของน้ำกับถ้วยปลูกให้ห่างกันมากขึ้น
เพื่อจะได้มีอากาศให้โคนรากหายใจค่ะ วิธีนี้จะไม่ทำให้รากเน่าค่ะ และรากจะได้อากาศด้วย รากเริ่มเยอะขึ้นเรื่อย ก็เว้นระยะห่างให้เพิ่มขึ้นอีกหน่อย
สำหรับแครอทนะคะ ให้เอาแต่รากที่จุ่มลงไปในน้ำ อย่าให้หัวโดนน้ำนะคะ 
ถ้าหัวโดนน้ำจะทำให้หัวเน่าค่ะ 
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip
เอาถ้วยปลูกลงกล่องได้แล้ว
หลังจากนั้นก็คอยเติมปุ๋ยทุกอาทิตย์ วัดค่า EC ก่อนนะคะ
โดยให้เอาน้ำเก่าออกครึ่งนึงก่อน แล้วค่อยเติมน้ำใหม่เข้าไปในระดับที่ต้องการ
แล้วค่อยเติมปุ๋ยค่ะ เวลาเติมปุ๋ย ต้องกวนให้เข้ากันดีนะคะ ควรยกรากให้ลอยก่อนแล้วค่อยกวน
รากจะได้ไม่กระเทือนมากค่ะ
EC ย่อมาจากคำว่า Electric Conductivity หมายถึง ค่าการนำไฟฟ้าของ
เกลือ(ในไฮโดรโพนิกส์จะหมายถึงเกลือของธาตุอาหาร)
ทั้งหมดที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยปกติแล้วน้ำบริสุทธิ์จะมีค่าความนำไฟฟ้าเป็นศูนย์
แต่เมื่อนำธาตุอาหารละลายในน้ำ เกลือของธาตุอาหารเหล่านี้จะแตกตัวเป็นประจุบวก
และประจุลบ ซึ่งจะเป็นตัวนำไฟฟ้า ทำให้มีค่าความนำไฟฟ้า (Electric Conductivity)
ซึ่งค่านำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณเกลือของธาตุอาหารที่ละลายอยู่ในน้ำ
ดังนั้น เราจึงใช้การวัดค่าการนำไฟฟ้าของสารละลาย(ค่า EC) เพื่อเป็นตัวบอกปริมาณเกลือธาตุอาหารที่ละลายในน้ำค่ะ
ส่วนทุกวันก็คอยดูระดับน้ำ พืชที่โตจนรากเยอะแล้วจะดูดน้ำค่อนข้างเยอะ
ทีนี้การปลูกไฮโดรโปนิกส์ ใช่ว่าจะต้องเริ่มจากเมล็ดเท่านั้นค่ะ
ปักชำก็ทำได้ ไหลของต้นก็คือ อันที่แทง ออกมายาว ๆ และมีใบเล็ก ตามรูปคือ อันที่ยาวโด่เด่
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip
ตัดแล้วก็เสียบไปในฟองน้ำ โดยให้มีก้านโผล่ตรงปลายเพื่อจุ่มไปในน้ำปุ๋ยค่ะ
ริบใบให้เหลือน้อยที่สุด 
เอาฟองน้ำใส่ถ้วยปลูก แล้วก็เอาไปวางให้โดดแดดรำไรค่ะ 
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip
การปลูกไฮโดรโปรนิกส์ สามารถปลูกกับไม้เลื้อยได้นะคะ ไม้ผลก็ได้
เพียงแค่เราดึงใบให้เกาะกับเชือกที่เราผูกเอาไว้
อันนี้คือ Pocket Melon ค่ะ 
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip
Tip อีกอย่างหนึ่งสำหรับการปลูกพืชจำพวก แตงโม เมลอน ฝัก
เพื่อให้ลูกใหญ่ และต้นไม่โทรมเกิน เราจะเอาไว้เฉพาะกิ่งใหญ่เป็นหลักค่ะ
กิ่งที่แตกออกมานอกแถว ให้ตัดไฟแต่ต้นลมค่ะ เพื่อที่กิ่งหลักจะได้มีกำลังปรุงอาหารไปเลี้ยงลูกได้ค่ะ
ตรงจุดที่นกทำสีแดงไว้ คือกิ่งที่ตัดออกไปค่ะ กิ่งหลักเลยได้ลูกใหญ่ ๆ มา 4 ลูกค่ะ 
ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ ไฮโดรโปนิกส์ อุปกรณ์ ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ pantip

แสงแดด ก็เป็นเรื่องที่จะลืมไม่ได้ค่ะ
ผักชนิดไหนต้องการแสงมาก แสงน้อย ดูง่าย ๆ ค่ะ
ผักที่กินใบ ต้องการแดดรำไร หรือ เลี้ยงใต้สแลน ค่ะ ผักกินใบ ถ้าโดนแดดแรงๆ ใบจะใหม้และใบเล็กค่ะ
ผักที่กินลูก หรือ กินหัว ต้องการแดดเปรี้ยงเลยค่ะ ถ้าแดดน้อย ลูกจะแกร็นค่ะ
ในกรณีที่ต้องการปลูกพืชหลายอย่างในกล่องเดียวกัน
ควรเลือกเอาพืชที่ใช้ค่า EC ใกล้เคียงกันมาปลูกรวมกันค่ะ
อย่างกล่องนี้ นกปลูก ผักโมโรเฮยะ กับ ผักโขม ที่มีค่า EC 1.8 - 2.5 ค่ะ
งอกงามทั้งคู่ 

 

 


แหล่งที่มา : pantip.com

อัพเดทล่าสุด