อาการโรคกรดไหลย้อน สาเหตุโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อน อาหาร


646 ผู้ชม


อาการโรคกรดไหลย้อน สาเหตุโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อน อาหาร

 

 

โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน หมายถึงภาวะที่กรดในกระเพาะไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก

โครงสร้างของกระเพาะอาหาร

เมื่อเรารับประทานอาหารทางปาก อาหารจะถูกเคี้ยว และกลืนเข้าหลอดอาหาร อาหาร จะถูกบีบไล่ไปยังกระเพาะอาหาร ระหว่างรอยต่อของกระเพาะอาหาร และหลอดอาหารจะมีหูรูด หรือที่เรียกว่า Sphincter ทำให้ที่ปิดมิให้อาหารหรือกรดไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหาร เมื่ออาหารอยู่ในกระเพาะจะมีกรดออกมาจำนวนมาก เมื่ออาหารได้รับการย่อยแล้วจะถูกการบีบไปยังลำไส้เล็ก ดังนั้นหากมีกรดไหลย้อนไปยังหลอดอาหารก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร

คือภาวะที่กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารไปยังหลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือแสบหน้าอก บางครั้งอาจจะรู้สึกรสเปรี้ยว

สาเหตุของกรดไหลย้อน

Hiatus hernia (คือโรคที่เกิดจากกระเพาะอาหารส่วนต้นเข้าไปในกำบังลม)
ดื่มสุรา
อ้วน
ตั้งครรภ์
สูบบุหรี่
อาหารรสเปรี้ยว เผ็ด
ช้อกโกแลต
อาหารมัน ของทอด
หอมกระเทียม
มะเขือเทศ
อาการของกรดไหลย้อน

อาการทางหลอดอาหาร

อาการปวดเสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้มปี่ที่เรียกว่าร้อนใน (heart burn) บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอได้
รู้สึกมีก้อนอยู่ในคอ
กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ
เจ็บคอหรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้า
รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก
มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคอตลอดเวลา
เรอบ่อย คลื่นไส้
รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
อาการทางกล่องเสียง และปอด

เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้าหรือมีเสียงผิดปกติจากเดิม
ไอเรื้อรัง
ไอ หรือ รู้สึกสำลักในเวลากลางคืน
กระแอมไอบ่อย
อาการหอบหืดแย่ลง
เจ็บหน้าอก
เป็นโรคปอดอักเสบเป็นๆหายๆ

การรักษา

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ลดน้ำหนักสำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน เพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มาก
งดบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก
ใส่เสื้อหลวมๆ
ไม่ควรจะนอน ออกกำลังกาย หรือยกของหนักหลังออกกำลังกาย
งดอาหารก่อนนอน 3 ชั่วโมง
งออาหารมันๆ อาหารทอด อาหารที่ปรุงด้วยหัวหอม กระเทียม มะเขือเทศ ช้อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย ไข่ เผ็ด เปรี้ยว เค็มจัด
รับประทานอาหารพออิ่ม
หลีกเลี่ยง ชา กาแฟ น้ำอักลม เบียร์ สุรา
นอนหัวให้สูงประมาณ 6-10 นิ้ว โดยหนุนที่ขาเตียง ไม่ควรใช้หมอนหนุนที่ศีรษะเพราะทำให้ความดันในช่องท้องสูง
การรักษาด้วยยา

Antacids เป็นยาตัวแรกที่ใช้ สำหรับผู้ป่วยที่อาการไม่มาก
ใช้ยา proton pump inhibitor ซึ่งเป็นยาที่ลดกรดได้เป็นอย่างดีอาจจะใช้เวลารักษา1-3 เดือน เทื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ก็อาจจะลดยาลงได้ยาที่นิยมใช้ได้แก่ omeprazole , lansoprazole , pantoprazole , rabeprazole, และ esomeprazole
หลีกเลี่ยงยาบางชนิดที่ทำให้กระเพาะหลั่งกรดมาก หรือทำให้หูรูดหย่อน เช่น ยาแก้ปวด aspirin NSAID VITAMIN C
หากให้ยาแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรจะต้องตรวจเพิ่มเติมได้แก่

การกลืนแป้งตรวจกระเพาะ
การส่องกล้องตรวจกระเพาะ
การรักษาโดยการผ่าตัด

จะผ่าตัดในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล

โรคแทรกซ้อน

หลอดอาหารที่อักเสบอาจจะทำให้เกิดแผล และมีเลือดออด หรือหลอดอาหารตีบทำให้กลืนอาหารลำบาก
อาจจะทำให้โรคปอดแย่ลง เช่นโรคหอบหืดเป็นมากขึ้น ไอเรื้อรัง ปอดอักเสบ

แหล่งที่มา : siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด