ไมเกรน สาเหตุ รักษาไมเกรนเบื้องต้น ยาไมเกรน excedrin
ไมเกรน (Migraine)
ไมเกรน (Migraine) เป็นอาการปวดศรีษะที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก อาจจะเป็นเวลาไหนก็ได้บ่อยครั้ง หรือเป็นมากเป็นน้อยต่างกัน ส่วนใหญ่แล้วมักจะปวด ศรีษะข้างเดียวอาจจะมีอาการร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน แต่อาจมีความผิดปกติของ ระบบ motor sensory หรือ Autonomic nervous system ร่วมด้วยก็ได้
:: อาการปวดศรีษะจาก migraine อาจแบ่งออกเป็น
1.Common migraine พบได้บ่อยประมาณร้อยละ 85 โดยเฉพาะในเพศหญิงไม่มีอาการนำมาก่อน แต่อาจจะมีความผิดของระบบ ประสาท autonomic เช่นหาวนอน หิวกระหายน้ำ เป็นต้น หรือภาวะที่มีน้ำคั่งทำให้เกิดการบวมตามมือตามเท้าหรืออาจเกี่ยวข้อง กับการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ เช่นอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ตื่นเต้นตกใจ เป็นต้น อาการปวดศรีษะจะค่อย ๆ เกิดขึ้นช้า ๆ อาจใช้เวลานานหลายชั่วโมง จึงจะมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ๆ อาจมีอาการร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะมาก หนาวสั่น อ่อนเพลีย ท้องเดินหรืออาการร่วมทางจมูกคล้าย เป็นหวัด หรือมีน้ำมูกข้างเดียวกับด้านที่ปวด บางครั่งแยกออกเป็นพวก Sinusitis หรือallergic rhinitis ได้ยาก
จากประวัติครอบครัวพบว่าประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยมีประวัติว่าญาติหรือบุคคลในครอบครัวจะมีอาการเช่นเดียวกัน
2.Classic migraine จะพบมากในคนที่มีการปรับตัวลำบาก มีความทะเยอทะยาน เจ้าระเบียบ จะมีอาการนำก่อนปวดศรีษะประมาณ 10-20 นาที บางทีอาจถึง 45 นาที อาการน้ำนี้จะเป็นอาการทางสายตา เช่นเห็นแสงที่ผิดปกติ ตามืดแบบ Scotoma หรือลานสายตา ผิดปกติ เป็นต้น หรืออาการทางด้านความรู้สึกที่ผิดปกติ เช่นรู้สึกชา หรือรู้สึกแปลกๆ ที่แขนรู้สึกอ่อนเพลีย เป็นต้น อาการปวดมักเป็นข้างใด ข้างหนึ่ง และมักปวดด้านตรงกันข้ามกับอาการนำลักษณะอาการปวดเป็นแบบตุบ ๆ (theobbing)จะเริ่มปวดมากที่สุดภายใน 1/2ถึง 1 ชั่วโมง และปวดนานตั้งแต่ 2 ชั่วโมง ถึง 6 ชั่วโมง ผู้ป่วยเหล่านี้มักจะมีประวัติว่ามีญาติ หรือพี่น้องจะมีอาการคล้าย ๆ กัน
3. Cluster migraine พบบ่อยในผู้ใหญ่เพศชาย ส่วนมากจะเกิดการปวดศรีษะหลังจากผู้ป่วยนอนหลับได้ 2-3ชั่วโมง ปวดศรีษะข้างใดข้างหนึ่งจะปวดอยู่ประมาณ 1/2 ชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง ผู้ป่วยอาจมีอาการร่วมกันกับการคัดจมูก น้ำมูกไหล ตาแดง น้ำตาไหล อาการปวดศรีษะจะหายไปภายใน 2 ชั่วโมง เมื่อมีอาการมักจะเป็นติดต่อกันหลายสัปดาห์ แล้วก็หายไปเอง เป็นเดือน ๆปี ๆ ก่อนที่จะกลับมาเป็นอีก
:: สิ่งที่ตรวจพบ
มักตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติ บางครั้งขณะที่มีอาการปวดอาจคลำได้หลอดโลหิตโป่งพอง และเต้นตุบๆ บริเวณขมับ
:: การรักษา
ถ้าเริ่มจะรู้สึกว่าจะมีอาการ หรือมีอาการนำให้นอนพัก หรืออยู่ในที่เงียบ ๆ สักครู่ อาการอาจหายไปเองได้
ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้ยาแก้ปวด Paracetamol 500 มก. ครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง
ถ้าการรักษาดังกล่าวไม่ได้ผล ในการปวดครั้งต่อไป ทันทีที่เริ่มมีอากให้ยาเม็ด belllergal หรือ dihydergotหรือphenobella ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการ
ถ้าอาการปวดรุนแรงมาก หรือได้รับยารักษาแล้วไม่ดีขึ้น แนะให้ไปพบแพทย์
แหล่งที่มา : thaiabc.com