การรักษาโรคสะเก็ดเงินที่ศรีษะ รักษาโรคสะเก็ดเงิน เชียงใหม่ ตัวอย่างโรคสะเก็ดเงิน


2,357 ผู้ชม


การรักษาโรคสะเก็ดเงินที่ศรีษะ รักษาโรคสะเก็ดเงิน เชียงใหม่ ตัวอย่างโรคสะเก็ดเงิน
คำถาม...เรื่อง“โรคสะเก็ดเงิน” 

ทำไมผื่นโรคสะเก็ดเงินจึงไม่เหมือนกัน ? 
Q. สามีดิฉันอายุ 48 ปี อ้วนมาก มีผื่นแดงมีสะเก็ดหนาขนาดใหญ่ขึ้นที่หัวเข่า, ข้อศอก, หลัง และมีผื่นที่หนังศีรษะ คุณหมอบอกว่าเป็นโรคสะเก็ดเงิน เพื่อนบอกว่าลูกชายเขาก็เป็นโรคสะเก็ดเงินเหมือนกัน แต่ผื่นจะเป็นจุดๆ ขนาดเล็กกระจายที่หลัง จึงสงสัยว่าโรคสะเก็ดเงินทำไมจึงมีผื่นไม่เหมือนกันคะ ? อัจฉราพรรณ/กรุงเทพฯ
A. ก่อนจะตอบคำถามของคุณอัจฉราพรรณ ต้องขอเล่าว่าโรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดอย่างหนึ่ง โรคสะเก็ดแสดงอาการให้เห็นได้หลายรูปแบบคือ 
     1. โรคสะเก็ดเงินชนิดปื้นนูนหนาขนาดใหญ่ และเป็นเรื้อรัง พบในส่วนใหญ่ของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน เป็นปื้นนูนหนาขนาดใหญ่, มีขอบเขตชัดเจน, สีออกชมพูถึงแดง, มีสะเก็ดสีเงินปกคลุม อาจมีอาการคันร่วมด้วย พบผื่นนี้บ่อยที่ข้อศอก, 
ข้อเข่า, แขนขา, หนังศีรษะ และหลังด้านล่าง/ก้น เท่าที่ฟังดูคิดว่าสามีคุณอัจฉราพรรณน่าจะเป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดนี้


(ภาพแสดงโรคสะเก็ดเงินปื้นนูนหนาขนาดใหญ่ และเป็นเรื้อรัง) 
     2. โรคสะเก็ดเงินชนิดรูปหยดน้ำ ชนิดนี้พบบ่อยที่สุดในเด็ก,วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ลักษณะเป็นตุ่มขนาดเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1 ซม.) จำนวนมากตามลำตัว, แขนขา และหนังศีรษะ พบบ่อยว่ามักเป็นหลังจากเจ็บคอประมาณ 2 สัปดาห์ เข้าใจว่าโรคสะเก็ดเงินในบุตรชายของเพื่อนคุณอัจฉราพรรณน่าจะเป็นโรคสะเก็ดเงินชนิดนี้, 3. โรคสะเก็ดเงินชนิดเป็นที่ตามซอกพับ พบผื่นตามขาหนีบ, รักแร้ และใต้ราวนม ไม่ค่อยพบขุยเพราะผิวมักเปียกชื้น มักพบเป็นผื่นแดง ขอบเขตชัดเจน อาจพบผื่นสะเก็ดหนาแบบในโรคสะเก็ดเงินเรื้อรังร่วมด้วย, 4. โรคสะเก็ดเงินชนิดเป็นที่ฝ่ามือ, ฝ่าเท้า ผื่นชนิดนี้อาจหนามาก และทำให้ฝ่ามือ ฝ่าเท้าแตก และมีอาการเจ็บ, 5. โรคสะเก็ดเงินชนิดตุ่มหนอง พบได้น้อย แต่จะมีอาการรุนแรง ผู้ป่วยมักรู้สึกไม่สบาย, มีไข้ และเจ็บผิวหนังร่วมด้วย, 6. โรคสะเก็ดเงินชนิดผิวแดงทั้งตัว จะเรียกว่าเกิดภาวะผิวแดงทั้งตัว (erythroderma) เมื่อผิวหนังอักเสบแดงเกินร้อยละ 90 ของร่างกายขึ้นไป และ 7. โรคสะเก็ดเงินของหนังศีรษะ(sebopsoriasis) พบบ่อยที่หนังศีรษะ และที่ใบหน้า (หว่างคิ้ว, คิ้ว และร่องแก้ม), หลังและหน้าใบหู บางครั้งพบที่กลางหน้าอก ลักษณะคล้ายโรคเซ็บเดิร์ม แต่ในโรค sebopsoriasis จะพบปื้นนูนที่มีขอบเขตชัดเจนกว่า 
     นอกจากนั้นในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินอาจพบความผิดปกติของเล็บและข้อได้อีกด้วย ลักษณะคือ เล็บมีหลุมเล็กๆ, เล็บหนาผิดรูปร่าง บางรายพบว่าเนื้อใต้เล็บมีจุดสีเหลือง และอาจพบเล็บเผยอ มักเป็นที่ปลายเล็บ พบว่าผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินประมาณร้อยละ 5–30 อาจพบโรคสะเก็ดเงินของข้อร่วมด้วย มักเป็นที่ข้อนิ้วส่วนปลาย 
ดื่มเบียร์, อ้วน ทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบจริงหรือ ? 
Q. ผมเป็นโรคสะเก็ดเงินมาตั้งแต่อายุยี่สิบต้นๆ ปัจจุบันอายุ 36 ปี ยังเป็นๆ หายๆอยู่ สังเกตว่าถ้าช่วงไหนดื่มจัด ผื่นสะเก็ดเงินจะกำเริบ คุณหมอที่ดูแลอยู่บอกว่าเบียร์และความอ้วนทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบได้ อยากขอข้อมูลในเรื่องนี้ครับ ? 
รังสิต/ปทุมธานี 
A. โรคสะเก็ดเงินเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ไม่ใช่โรคติดต่อ ผู้ป่วยต้องยอมรับความจริงว่าโรคนี้อาจเรื้อรังและพร้อมที่จะดำรงชีวิตอยู่ไปกับโรคสะเก็ดเงิน พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบ คือ ยา โดยเฉพาะ lithium บางครั้งพบว่า terbinafine, hydroxychloroquine หรือ chloroquine, หรือการหยุดยาสเตียรอยด์ ทำให้สะเก็ดเงินกำเริบได้, ความเครียด, การสูบบุหรี่, การดื่มแอลกอฮอส์, ความอ้วน และการติดเชื้อโรคเอดส์ (HIV) ทั้งหมดนี้จัดเป็นปัจจัยที่ทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบ
     ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาบางตัวที่กระตุ้นให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบ, ควรควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป, กินอาหารที่มีผักผลไม้สดสม่ำเสมอ, งด หรือลด การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์, ต้องหมั่นดูแลอย่าให้ผิวแห้งเกินไป อาจใช้ครีมให้ความชุ่มชื้น (moisturizer) หรือเครื่องเติมความชื้นในห้อง (humidifier) และอาจออกโดนแสงแดดบ้าง เพราะโรคสะเก็ดเงินมักมีอาการดีขึ้นเมื่อโดนแสงแดด ถ้าผื่นกำเริบมากควรพบแพทย์ และอย่าตั้งเป้าว่าจะต้องรักษาโรคสะเก็ดเงินให้หายขาด ยารักษาโรคสะเก็ดเงินบางตัวหากใช้ในระยะยาวอาจมีผลเสียต่อตับ จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา และควรทำจิตใจให้สงบ เพราะพบว่าความเครียดมีส่วนทำให้โรคสะเก็ดเงินกำเริบได้ครับ

แหล่งที่มา :  myskinarticles.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด