วิธีรักษาไมเกรนให้หายขาด วิธีการรักษาไมเกรน โรคไมเกรน อาการ
ไมเกรน
โรคไมเกรน เป็นโรคปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่ง มีลักษณะคือ อาการปวดศีรษะนั้นมักจะปวดข้างเดียว หรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงปวดทั้งสองข้าง อาจย้ายข้างไปมาหรือย้ายตำแหน่งได้ แต่บางครั้งอาจจะปวดทั้งสองข้างพร้อมๆ กัน อาการปวดมักจะปวดตุ๊บๆ เป็นระยะๆ ในบางรายอาจปวดแบบตื้อๆ และอาจจะมีอาการเตือนนำมาก่อน เช่น สายตาพร่ามัว หรือมองเห็นแสงกระพริบๆ ปัจจุบันสาเหตุของไมเกรนก็ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด
สาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นให้ไมเกรนกำเริบ
* ความเครียด ผู้ที่มีความเครียดและไม่สามารถจัดการกับความเครียดในการดำเนินชีวิตประจำวันได้ จะมีโอกาสเกิด อาการปวดศีรษะไม่เกรนได้บ่อยและรุนแรงกว่าผู้ที่ไม่เครียด
* อาหาร การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาหารที่ใส่ผงชูรส ใส่สารถนอมอาหาร เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนต่างๆ เช่น ชา กาแฟ โกโก้ ช๊อกโกแล็ต
* ความหิว มีการศึกษาวิจัยพบว่าความหิวเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดไมเกรนเท่าๆ กับความวิตกกังวล ความโกรธ และอาการซึมเศร้า
* การนอนหลับ มากหรือน้อยเกินไป สามารถกระตุ้นให้เกิดอาการปวดได้
* สิ่งแวดล้อม อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง เช่น อากาศร้อน ตากแดดจัดๆ แล้วเข้าห้องแอร์ทันที กลิ่นบางอย่าง เช่น น้ำหอม ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์
* มีปัญหาเรื่องสายตา หรือใช้สายตามากเกินไป เช่น ผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ การอ่านหนังสือ
การรักษาและการปฏิบัติตัว
ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่มีวิธีรักษาไมเกรนให้หายขาดได้ แต่มีวิธีช่วยให้ความถี่และความรุนแรงลดน้อยลง โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ยาช่วยได้เพียงแค่บรรเทาอาการปวด ยาไม่ได้รักษาต้นเหตุ การทานยากว่าจะออกฤทธิ์และหายปวด ต้องใช้เวลา 30 นาทีขึ้นไป หลักจาก 4 ชม.แล้วยาหมดฤทธิ์ ก็จะทรมานอีกเหมือนเดิม ดังนั้น จึงควรสังเกตว่าท่านไวต่อสาเหตุที่เป็นตัวกระตุ้นตัวใด และต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอาการ เพราะถ้าเกิดอาการแล้วจะหายยาก
ขณะปวดไมเกรน ต้องพักสายตา ควรอยู่ในห้องเงียบๆ ที่มืด ไม่มีแสงสว่างจ้ารบกวน ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็น หรือ น้ำแข็งประคบที่ศีรษะ ประมาณ 15-20 นาที พร้อมกับนวดเบาๆ
วิธีการรักษาช่วยอื่นๆ ที่ใช้เสริมการรักษาหลักก็มี เช่น
1. การนั่งสมาธิ (แบบ อาณาปาณสติ)
2. การควบคุมความเครียด
3. การฝึกโยคะ
4. การนวด
5. การฝังเข็ม
ถ้ามีอาการปวดศีรษะเรื่อรังหรือปวดรุนแรงมาก ก็ควรที่จะปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ สำหรับโรคปวดศีรษะไมเกรนนั้น แม้จะเป็นโรคที่เรื้อรัง แต่สามารถที่จะควบคุมให้โรคสงบลงได้ทั้งโดยวิธีธรรมชาติ โดยการออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และรู้จักกำจัดความเครียด
แหล่งที่มา : km.nida.ac.th