อาการของโรคถุงลมโป่งพอง โรคถุงลมโป่งพองเกิดจาก วิธีแก้โรคถุงลมโป่งพอง
ห่างไกล โรคถุงลมโป่งพอง หลอดเลือดหัวใจ และ มะเร็งปอด ด้วยการเลิกบุหรี่
1. โรคถุงลมโป่งพอง โรคร้ายที่เข้ามาทำลายเนื้อปอดให้ค่อย ๆ เสื่อมสมรรถภาพอย่างร้ายแรงจากการได้รับควันบุหรี่มากเกินกว่าปกติ เพราะโดยปกติแล้วพื้นที่ในปอดจะมีถุงลมเล็ก ๆ กระจายอยู่ทั่วไปในปอด หน้าที่ของถุงลมเหล่านี้คือรับออกซิเจนจากระบบทางเดินหายใจเข้าสู่ร่างกาย แต่สารไนโตรเจนไดออกไซด์ในควันบุหรี่จะเข้าทำลายเนื้อเยื่อภายในปอด ถุงลมเล็ก ๆ ก็จะฉีกขาดทีละน้อยๆ สะสมไปเรื่อยจนกลายเป็นถุงลมที่มีขนาดใหญ่มากขึ้นๆ จนเกิดโรคที่เราเรียกกันว่า ถุงลมโป่งพอง
ลักษณะของโรคถุงลมโป่งพองนี้คือจะทำให้พื้นที่ภายในปอดรับออกซิเจนได้ไม่เต็มที่และไม่เพียงพอแก่ร่างกาย โดยโรคถุงลมโป่งพองในระยะโคม่าจะทำให้ผู้ป่วยเกิดความทรมานมาก คือเหนื่อยจนทำอะไรไม่ได้ รายงานการศึกษาพบว่า 70% ของคนทีป่วยโรคนี้ในระยะโคม่าจะต้องตายภายใน 10 ปี จากอาการเหนื่อยหอบอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
โรคถุงลมโป่งพองมีผลทำให้พื้นที่ผิวเนื้อเยื่อภายในปอดซึ่งเป็นที่รับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายไม่เพียงพอโรคถุงลมโป่งพองนี้ในระยะท้ายๆ ของโรคจะทำให้ผู้ป่วยทรมานมากเนื่องจากเหนื่อยจนทำอะไรไม่ได้การรายงานการศึกษาพบว่าร้อยละ 70 ของผู้ป่วยที่อาการอยู่ในระยะสุดท้ายจะตายภายใน 10 ปีโดยมีอาการเหนื่อยหอบตลอดเวลาจนกว่าจะเสียชีวิต โดยพบว่าคนไทยตายจากโรคถุงลมโป่งพองเฉลี่ยปีละ 10,427 คน
2. โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจที่คนมักเป็นกันโดยทั่วไป บางส่วนเกิดจากการสูบบุหรี่ แต่ทั้งนี้เราก็สามารถป้องกันการเกิดโรคนี้ได้เพราะการเกิดโรคนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือการกินดีอยู่ดีจนเกินไปตามกระแสของสังคมในยุคปัจจุบัน การเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจติดอันดับ1 ของสาเหตุการเสียชีวิตที่มีจำนวนมากที่สุด โดยคนไทยส่วนใหญ่เป็นหลอดเลือดหัวใจตีบจากการสูบบุหรี่เป็นหลัก
แท้จริงแล้วอันตรายของบุหรี่อยู่ที่สารพิษ เพราะสารพิษในควันบุหรี่จะทำให้เกิดโรคหัวใจที่เป็นตัวการสำคัญของโรคหัวใจสำคัญได้แก่ สารนิโคตินก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และสารก่ออนุมูลอิสระต่าง เริ่มจากการหดตัวของหลอดเลือดและเกิดก้อนเลือดในหลอดเลือดหัวใจ ตามมาด้วยรูหลอดเลือดหัวใจจึงตีบลงทำให้เลือดผ่านได้น้อยจนลง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย และเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตันจนเกิดภาวะ “ หัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย” ได้ทำให้เกิดอาการจุกเสียดเจ็บที่หน้าอกจนถึงขั้นทำให้หัวใจวายหรือเสียชีวิตโดยไม่รู้ตัว โดยพบว่าคนไทยตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการสูบบุหรี่โดยเฉลี่ยปีละ 7,907 คน
3. โรคมะเร็งปอด ในระยะเริ่มแรกของการเป็นมะเร็งปอด ผู้ป่วยมักจะไม่รู้ตัวด้วยว่าตนเองป่วยเป็นโรคร้ายเพราะจะไม่มีอาการของโรคมะเร็งปรากฏ จนกว่าจะเป็นหนักๆ แล้วเท่านั้น โดยอาการที่จะพบก็คือ มีการไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะปนเลือด น้ำหนักจะลดลง อ่อนเพลียง่าย มีไข้เล็กน้อย เจ็บหน้าอกซึ่งอาจจะเกิดจากอาการร่วมของโรคอื่นๆ หลายชนิดได้ด้วย ซึ่งกว่าผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ก็อาจจะล่าช้าหรือสายเกินไป ซึ่งแม้ว่าปัจจับนจะมีการค้นพบว่า มีอาหารป้องกันมะเร็ง เช่นพวกผักผลไม้ต่างๆ แต่กับโรคมะเร็งปอดนี้แล้ว มีวิธีป้องกันอย่างเดียวเท่านั้น คือ ไม่สูบบุหรี่
ผู้ป่วยที่เป็นในระยะมาก ๆ จะมีอาการหนักคือ ไอเป็นเลือด น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว ปวดกระดูกซี่โครงและไหปลาร้า หรือตรงสะบัก อาจจะมีการเหนื่อยหอบ มีอาการบวมบริเวณคอ แขน และอก นอกจากนี้ยังกลืนอาหารลำบาก และไม่สามารถจะกลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระได้แต่อย่างใด
จากการสำรวจนั้นผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่หลังจากเริ่มมีอาการประมาณ 6 เดือน ร้อยละ 80 จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี แม้จะรักษาเป็นอย่างดีก็รอดชีวิตแค่ร้อยละ 2 -5 เท่านั้น โดยผู้ที่เป็นมะเร็งปอดร้อยละ 90 สูบเอง แต่ร้อยละ 30 เกิดจากควันที่ผู้อื่นสูบ โดยคนไทยตายจากโรคมะเร็งปอดจากการสูบบุหรี่เฉลี่ยปีละ 9,979 คน
แหล่งที่มา : kvamsook.com