อาหารต้านโรคเบาหวาน ความหมายของโรคเบาหวาน อาหารของโรคเบาหวาน


814 ผู้ชม


อาหารต้านโรคเบาหวาน ความหมายของโรคเบาหวาน อาหารของโรคเบาหวาน

   


อาหารโรคเบาหวาน 
ภาวะโภชนาการที่ดีนับเป็นหัวใจของการควบคุมเบาหวานอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด หรือฉีดอินซูนลินแล้วก็ยังจำเป็นจะต้องควบคุมอาหารร่วมด้วย การควบคุมอาหาร หมายถึง การรู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ในปริมาณที่เหมาะสม กับความต้องการของร่างกาย เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน เป็นการป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อน ที่จะเกิดขึ้นตามมาภายหลัง 
จุดมุ่งหมายในการควบคุมอาหารของผู้ป่วยเบาหวาน 
เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและไขมันให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยชะลอการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น โรคเส้นเลือดตีบแข็ง มีผลทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดการอุดตันที่หลอดเลือดที่มาเลี้ยงสมองทำให้เป็นอัมพาตได้ 
- เพื่อควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งทำได้โดยควบคุมปริมาณอาหารหรือแคลอรีที่รับประทาน 
- เพื่อให้รู้จักโภชนาการที่ดี รู้จักเลือกรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการ ของร่างกาย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการควบคุมเบาหวาน 
หลักในการเลือกรับประทานอาหาร 
- รับประทานอาหารให้หลากหลายและมีความสมดุลของสารอาหาร รับประทานให้เป็นเวลาไม่ควรรับประทาน เฉพาะเวลาที่หิวเพราะจะทำให้รับประทานมากกว่าที่ควร 
- หลีกเลี่ยงของหวานและอาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล 
- รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต (ข้าว,แป้ง) ที่มีใยอาหารเพิ่มขึ้น 
- รับประทานอาหารประเภทที่มีไขมันให้น้อยลง 
- ลดอาหารเค็มหรือการใช้เกลือในอาหารให้น้อยลง (สารโซเดียมในเกลือจะทำให้ร่างกายกักน้ำไว้มากขึ้น เป็นสาเหตุให้ความดันโลหิตสูงได้) 
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 
ตัวอย่างรายการอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวานใน 1 สัปดาห์ ที่มีความต้องการพลังงานที่แตกต่างกัน. 
วันอาทิตย์ เช้า ข้าวต้มไก่+ฝรั่ง+กาแฟ ข้าว 2 ทัพพี เนื้อไก่ต้มสุก 4 ชต. กระเทียมเจียว 1 ชช. ต้นหอม ผักชี ตามต้องการ แตงกวา ตามต้องการ ฝรั่ง 1 ผลเล็ก กาแฟ+ 1 แก้ว พลังงานรวมที่ได้รับ 1200 กิโลแคลอรี กลางวันข้าวผัดปูใส่ไข่+พุทรา ข้าว 2 ทัพพี เนื้อปู 3 ชต. ไข่ 1 ฟอง น้ำมัน 1 ชช. ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว ตามต้องการ พุทรา 3 ผล น้ำตาลเทียม พลังงานรวมที่ได้รับ 1200 กิโลแคลอรี เย็นข้าว+แกงส้มรวมมิตรกุ้ง+ไก่ผัดใบกะเพรา+ส้ม ข้าว 2 ทัพพี กุ้ง 4 ตัว ไก่ 2 ชต น้ำมัน 1 ชช. ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ผักกระเฉด ใบกะเพรา มะเขือเทศ ส้ม 1 ผล นมสด 60 ซีซี พลังงานรวมที่ได้รับ 1200 กิโลแคลอรี 
วันจันทร์ เช้า ขนมปังไข่ดาว+ส้ม+กาแฟ ขนมปัง 2 แผ่น ไข่ดาว 1 ฟอง แฮม 1 แผ่น มาร์การีน 1 ชช. ผักกากหอม มะเขือเทศ ตามต้องการ ส้ม 1 ผล มะละกอ 6-8 ชิ้น กาแฟ+ 1 แก้ว (ขนาดพอคำ) พลังงานรวมที่ได้รับ 1200 กิโลแคลอรี กลางวัน เส้นหมี่ลูกชิ้นน้ำ+มะละกอ เส้นหมี 1 ถ้วยตวง ลูกชิ้นเนื้อวัว 6 ลูก เนื้อสด 2 ชต. กระเทียมเจียว 1 ชช. ต้นหอม ผักชี ตามต้องการ ถั่วงอกสุก พริก ,เครื่องปรุง ตามต้องการ ส้มโอ 2-3 กลีบ น้ำตาลเทียม พลังงานรวมที่ได้รับ 1200 กิโลแคลอรี เย็น ข้าว+แกงจืดเต้าหู้+ปลาเก๋าราดพริก+ส้มโอ ข้าวสวย 2 ทัพพี เต้าหู้ 1/2 หลอด ปลาเก๋า 1/2 ตัวเล็ก ไก่ 2 ชต น้ำมัน 1 ชช. เห็ดหูหนู ต้นหอม ผักชี ตามต้องการ นมสด 60 ซีซี พลังงานรวมที่ได้รับ 1200 กิโลแคลอรี 
วัน อังคาร เช้า ข้าวต้มปลา+นม+ส้มโอ ข้าวสุก 1 ทัพฟี เนื้อปลากระพง 100 กรัม กลางวัน ข้าวผัดกุ้ง+ชมพู่ ข้าวสวย 2 ทัพฟี กุ้ง 4 ตัว เย็น ข้าว+แกงป่าไก่+ปลาสลิดย่าง+ฝรั่ง ข้าว 2 ทัพพี เนื้อไก่ 2 ชต. ไข่ 1 ฟอง ปลาสลิด 1 ตัวเล็ก ไขมัน กระเทียมเจียว 1 ชช. น้ำมัน 1 ชช. น้ำมัน 1 ชช. น้ำพริกแกงเผ็ด 10 กรัม ผัก ต้นหอม ผักชี ตามต้องการ ต้นหอม แตงกวา ตามต้องการ มะเขือ ชะอม ถั่วฝักยาว ตามต้องการ มะเขือเทศ ฟักทอง หน่อไม้ ผลไม้ ส้มโอ 2-3 กลีบ ชมพู่ 2 ผล ฝรั่ง 4 ชิ้น นมพร่องมันเนย 240 ซีซี (1 กล่อง) พลังงานรวมที่ได้รับ 900 กิโลแคลอรี 1200 กิโลแคลอรี 1200 กิโลแคลอรี 
เช้า กลางวัน เย็น พุธ ข้าว+ต้มเลือดหมู+ส้ม ข้าว+ไก่อบ+ฟักตุ๋น+พุทรา ข้าว+น้ำพริกปลาทู+แกงจืดมะระไก่สับ+สับปะรด ข้าว ข้าวสวย 1 ทัพพี ข้าว 1 ทัพพี ข้าว 1/2 ทัพพี เนื้อสัตว์ ตับหมู 20 กรัม เนื้อไก่ 50 กรัม ปลาทู 1 ตัว เลือดหมู 75 กรัม หมูสับ 50 กรัม เนื้อไก่ 50 กรัม ไขมัน น้ำมัน 1 ชช. น้ำพริกกะปิ ตามต้องการ ผัก ใบตำลึง ตามต้องการ มะเขือเทศ ถั่วแขก ตามต้องการ แตงกวา ถั่วฝักยาว ตามต้องการ หอมใหญ่ ฟักเขียว มะระ ผลไม้ ส้ม 1 ผล พุทรา 3 ผล สับปะรด 6 ชิ้น (ขนาดพอคำ) พลังงานรวมที่ได้รับ 1200 กิโลแคลอรี 1200 กิโลแคลอรี 1200 กิโลแคลอรี วัน 
เช้า กลางวัน เย็น พฤหัสบดี แซนด์วิชทูน่า+นม+แอ๊ปเปิ้ล ข้าว+ไข่ตุ๋น+แกงจืดกะล่ำปลีหมู+ ข้าว+แกงเลียง+สับปะรด น้ำส้มคั้น ข้าว ขนมปัง 2 แผ่น ข้าวสวย 1 ทัพพี ข้าวสวย 1/2 ทัพพี เนื้อสัตว์ ทูน่า 1/4 ถ้วยตวง ไข่ 1 ฟอง กุ้ง 4 ตัว หมู 50 กรัม กุ้งแห้ง 10 กรัม ไขมัน มายองเนส 1 ชช. กระเทียมเจียว 1 ชช. ผัก ผักกาดหอม ตามต้องการ กะหล่ำปลี ตามต้องการ บวบ ตำลึง ฟักทอง ตามต้องการ มะเขือเทศ ต้นหอม ผักชี ใบแมงลัก เห็ดฟาง ผลไม้ แอ๊ปเปิ้ล 1 ผล น้ำส้มคั้น 1 แก้ว สับปะรด 6 ชิ้น นมพร่องมันเนย 240 ซีซี (ขนาดพอคำ) พลังงานรวมที่ได้รับ 900 กิโลแคลอรี 1200 กิโลแคลอรี 900 กิโลแคลอรี 
วัน เช้า กลางวัน เย็นศุกร์ สลัดผักน้ำใส+ไข่ต้ม+นมถั่วเหลือง+ ข้าว+ต้มยำปลาซ่อน+หมูผัดกะเพรา ข้าว+แกงจืดเต้าหู้ไก่สับ+ไข่ตุ๋น+มะละกอ ส้ม +ชมพู่ ข้าว ข้าวสวย 2 ทัพพี ข้าวสวย 2 ทัพพี เนื้อสัตว์ ไข่ 1 ฟอง ปลาช่อน 100 กรัม ไข่ 1 ฟอง เนื้อหมู 2 ชต. ไก่สับ 100 กรัม เต้าหู้ 1/2 หลอด ไขมัน น้ำสลัดชนิดที่ไม่มี 1 ชต. น้ำมัน 1 ชช. กระเทียมเจียว 1 ชช. น้ำมัน ผัก ผักกาดหอม แครอท ตามต้องการ เห็ดฟาง ใบกะเพรา ตามต้องการ ผักกาดขาว ต้นหอม ตามต้องการ มะเขือเทศ หอมใหญ่ มะเขือเทศ ผักชี แตงกวา ถั่วฝักยาว ผลไม้ ส้ม 1 ผล ชมพู่ 2 ผล มะละกอ 6 ชิ้น นมถั่วเหลือง 1 แก้ว (ขนาดพอคำ) (ไม่ใส่น้ำตาล) พลังงานรวมที่ได้รับ 900 กิโลแคลอรี 1200 กิโลแคลอรี 1200 กิโลแคลอรี วัน 
เช้า กลางวัน เย็น เสาร์ โจ๊กหมูสับ+แคนตาลูป+กาแฟ ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่ลูกชิ้นน้ำ+มังคุด ข้าว+หมูอบ+แกงจืดบวบ+ฝรั่ง ข้าว โจ๊ก 1 ถ้วย เส้นหมี่ 1 ถ้วย ข้าวสวย 1 1/2 ทัพพี เนื้อสัตว์ หมูสับไม่ติดมัน 2 ชต. ลูกชิ้นเนื้อหมู 6 ลูก หมูเนื้อแดง 150 กรัม ตับหมู 2 ชต. ไก่สับ 50 กรัม ไขมัน กระเทียมเจียว 1 ชช. ผัก ต้นหอม ผักชี ตามต้องการ ต้นหอม ผักชี ตามต้องการ ถั่วแขก แครอท บวบ ตามต้องการ ถั่วงอก ผลไม้ แคนตาลูป 1/3 ผล มังคุด 1 ผล ฝรั่ง 1 ผลเล็ก กาแฟ+ 1 แก้ว น้ำตาลเทียม+ นมสด 60 ซีซี พลังงานรวมที่ได้รับ 900 กิโลแคลอรี 1200 กิโลแคลอรี 1200 กิโลแคลอรี 
สมาคมเบาหวานแห่งสหรัฐอเมริกา (ADA) มีข้อแนะนำว่าอาหารสำหรับโรคเบาหวาน ควรขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคนไป โดยมีหลักการ คือ จะต้องควบคุมปริมาณแคลอรีที่ร่างกายได้รับให้อยู่ที่ประมาณ 30 แคลอรี/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยพลังงานที่ได้จากสารอาหารหลักคือ คือ โปรตีนควรอยู่ประมาณ 10-20% และจากคาร์โบไฮเดรต และไขมันรวมกันอยู่ที่ประมาณ 80-90% ควรทานไขมันประมาณ 30% ของพลังงานที่ควรได้รับแต่ละมื้อ ในการควบคุมอาหารจะควบคุมแคลอรีในอาหารที่ได้รับ ซึ่งจะแตกต่างกันตามน้ำหนัก เพศ อายุ และกิจกรรม การใช้พลังงานประจำวันของแต่ละคน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงควรเลือกรับประทานอาหารในมื้อต่างๆ ให้ครบทุกหมวด ในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนและช่วยให้ควบคุมเบาหวานได้ดี หรืออาจจะปรึกษานักโภชนาการเกี่ยวกับวิธีการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกต้อง และเรียนรู้ถึงการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกชนิด และถูกสัดส่วน เพื่อที่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป. 


แหล่งที่มา : sk-hospital.com

อัพเดทล่าสุด