ยารักษาโรคกระเพาะ ยารักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยาโรคกระเพาะ


2,606 ผู้ชม


ยารักษาโรคกระเพาะ ยารักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ยาโรคกระเพาะ

 

 

 

ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร
 

          เมื่อกล่าวถึงโรคกระเพาะอาหาร  หลายๆ คนคงรู้จักและคุ้นเคยกับโรคนี้เป็นอย่างดี  และอาจมีประสบการณ์เป็นโรคนี้กันมาบางแล้ว  โดยอาการของโรคจะเรื้อรัง และเป็นๆ หายๆ แต่จริงๆ แล้วโรคนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้ โดยการรักษาและปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง แต่ถ้าไม่ทำการรักษาและปล่อยทิ้งไว้ให้มีอาการมากขึ้นจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตรายได้ เช่น ทางเดินอาหารอุดตันหรือทะลุ  ในบทนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคกระเพาะอาหารและยาที่ใช้ในการรักษา รวมถึงการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องด้วย 

 

          โรคกระเพาะอาหารคือ อะไร  

          “โรคกระเพาะอาหาร”  ในทางการแพทย์ หมายถึง โรคที่มีแผลบนเยื่อบุกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งการตรวจเพื่อยืนยันว่า เป็นโรคกระเพาะอาหาร ได้แก่  การส่องกล้องหรือเอกซเรย์  โดยการกลืนแป้ง ส่วนการวินิจฉัยเบื้องต้นจากการซักประวัติเพียงอย่างเดียวนั้น  อาจทำให้ยากในการแยกจากโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกัน เช่น โรคตับ  โรคอาหารไม่ย่อย  เป็นต้น

          โรคกระเพาะอาหารมีอาการอย่างไร

          อาการทั่วไปที่พบบ่อย คือ ปวดท้องแบบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ และมักสัมพันธ์กับอาหาร เช่น ปวดหลังกินอาหาร นอกจากนี้ ยังอาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น จุกเสียด ท้องอืด  เรอ  คลื่นไส้อาเจียน 

          ถ้าเป็นเรื้อรังอาจเกิดอาการแทรกซ้อน คือ อาเจียนเป็นเลือด หรือ ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ เนื่องจากมีเลือดออกในทางเดินอาหาร และมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง

          เราอาจสังเกตจากอาการได้ว่าเกิดแผลที่ส่วนใดของทางเดินอาหาร โดยสังเกตอาการดังนี้

          แผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น

          พบมากในผู้ชาย  มักมีอาการปวดท้องหลังกินอาหารประมาณ 1-3 ชั่วโมง และปวดมากตอนกลางคืน แต่อาการปวดจะดีขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อกินอาหาร  ผู้ป่วยจึงมักมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น

          แผลที่กระเพาะอาหาร

          พบทั้งในผู้ชายและผู้หญิง  จะมีอาการปวดท้องหลังกินอาหาร ประมาณครึ่ง – 1 ชั่วโมง  ผู้ป่วยมักมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย ทำให้ผู้ป่วยมักมีน้ำหนักตัวลดลง

          การสังเกตอาการเพื่อแยกว่าเกิดแผลที่ตำแหน่งใดจะช่วยในการกำหนด ระยะเวลาของการรักษา เนื่องจากถ้าเกิดแผลที่กระเพาะอาหารจะต้องใช้เวลาในการรักษานานกว่า

          โรคกระเพาะอาหารเกิดจากอะไร

          สาเหตุหลักของการเกิดโรคกระเพาะอาหาร คือ ความไม่สมดุลกัน  ระหว่างกรดในกระเพาะอาหารและประสิทธิภาพของเยื่อบุกระเพาะอาหาร ดังนี้

          1. กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น

             -  ความเครียด

             -  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

             -  เครื่องดื่มที่มีคาแฟอีน เช่น ชา กาแฟ

             -  การสูบบุหรี่

             -  กินอาหารไม่ตรงเวลา

          2.  การทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร

               -  เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

               -  อาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด

               -  การใช้ยา เช่น แอสไพริน  ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น  ยาแก้ปวดข้อ (ไดโคลฟีแนค)  ยาสเตียรอยด์

               -  การติดเชื้อแบคทีเรีย H.pyroli

เชื้อแบคทีเรีย H.pyroli

H.pyroli  เป็นเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุสำคัญ

ของผู้ป่วยโรคกระเพาะ    เชื่อว่าติดต่อโดยการ

กินอาหารและน้ำ  เชื้อจะทำลายเยื่อบุ

และฝังตัวที่กระเพาะอาหาร โดยมีกรดจาก

กระเพาะอาหาร ช่วยเร่งการทำลายเยื่อบุ

ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

แนวทางการรักษา

          การรักษาโรคกระเพาะอาหารแบ่งเป็น 2 วิธี ซึ่งจะต้องปฏิบัติควบคู่กันอย่างเคร่งครัด คือ

          1. การปฏิบัติตัวเพื่อกำจัดสาเหตุการเกิดโรค

              - กินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ปล่อยให้ท้องว่าง

              - งดอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด

              - งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

              -  งดดื่มชา และ กาแฟ

              -  งดสูบบุหรี่

              -  พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด ไม่หงุดหงิดโมโหง่าย

              -  งดการใช้ยาที่มีผลต่อกระเพาะอาหาร

          2. การรักษาด้วยยา

 

              ยาที่ใช้ในการรักษามีหลายกลุ่ม แต่สิ่งสำคัญในการใช้ยาคือ ต้องกินยาให้สม่ำเสมอ ครบตามจำนวนและระยะเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 4 - 6 สัปดาห์ แผลจึงจะหาย

          หลังกินยาไประยะหนึ่งถึงแม้อาการ

จะดีขึ้น ก็ห้ามหยุดยา ต้องกินต่อจนครบ

ตามกำหนด เพื่อให้แน่ใจว่าแผลหาย และ

ไม่กลับมาเป็นซ้ำ

          นอกจากนี้หลังกินยาจนครบกำหนด

ก็ควรปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุของโรค

อย่างเคร่งครัด ไม่เช่นนั้นอาจกลับมาเป็นซ้ำได้

ยารักษาโรคกระเพาะอาหาร

 1. ยาลดกรด

          ยากลุ่มนี้มักใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดท้อง  จากการหลั่งกรดมากเกินไป เพราะออกฤทธิ์ได้เร็ว แต่ไม่สะดวกในการนำมาใช้เพราะต้องกินบ่อย

          รูปแบบยาที่มีจำหน่าย

          ยาลดกรดจะมี 2 รูปแบบ คือ ยาน้ำแขวนตะกอน และ ยาเม็ดแบบเคี้ยว บางตำรับอาจมีผสมยาขับลม หรือ ยาลดการปวดเกร็งช่องท้อง

          ชื่อการค้าที่มีจำหน่าย

          ยาน้ำแขวนตะกอน

          อะลั่ม มิ้ลค์ (Alum milk), แอนตาซิล เยล (Antacil Gel), เบลสิด (Belcid),  ไบร์เยล (Brygel), บูราเจล  (Burajel)

          ยาเม็ด

          - ยาลดกรด  เช่น  แอนตาซิล,  กาซีด้า (Gacida)

          - ยาลดกรดผสมยาขับลม  เช่น วอราแกส (Voragas), แม๊ก-77 (Mag 77)

          - ยาลดกรดผสมยาขับลมและลดการปวดเกร็ง เช่น แครมมิล-เอส (Kremil-S), เวอราเยล-ดีเอ็มเอส (Veragel-DMS)

          วิธีการใช้ยา

          ชนิดยาน้ำแขวนตะกอน

          กินวันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ  หลังอาหาร 1 ชั่วโมง และต้องเขย่าขวดก่อนใช้ทุกครั้ง   

ชนิดยาเม็ด

          กินวันละ 4 ครั้ง ครั้งละ 1-2 เม็ด โดยเคี้ยวยาให้ละเอียดก่อนกลืน

          ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

          อาจเกิดอาการท้องผูกหรือท้องเสีย ขึ้นกับปริมาณของเกลืออะลูมิเนียม หรือ เกลือแมกนีเซียมในตำรับ  ซึ่งอาการไม่รุนแรงและจะหายไปเมื่อหยุดใช้ยา

          ข้อควรระวังในการใช้ยา

          1.ไม่ควรใช้ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของเกลือแมกนีเซียมในผู้ป่วยโรคไต เพราะอาจทำให้สะสมจนเป็นอันตรายได้

          2.ยากลุ่มนี้เกิดปฏิกิริยากับยาหลายชนิด เช่น

              - ยาฆ่าเชื้อ : เตตร้าซัยคลิน (tetracycline), ไซโปรฟล๊อคซาซิน (Ciprofloxacin)

              - ยารักษาโรคหัวใจ : ไดจ๊อกซิน (digoxin)

              - ยารักษาวัณโรค : ไอโซไนอาซิด  (isoniazid)

              - ยาบำรุงเลือด เช่น ธาตุเหล็ก

              - ยารักษาโรคกระเพาะกลุ่มยับยั้งตัวรับฮิสทามีนชนิดที่ 2 (H2-receptor antagonist)  ได้แก่

ซัยเมททิดีน (cimetidine), รานิทีดีน  (ranitidine), ฟาโมทิดีน (famotidine)

          ดังนั้น  ควรกินยาลดกรดห่างจากยาดังกล่าวประมาณ 2 ชั่วโมง และควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเมื่อใช้ยาดังกล่าว

2. ยายับยั้งการหลั่งกรด

     ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดใช้รักษาและป้องกันโรคกระเพาะอาหารและภาวะที่มีกรดหลั่งมากกว่าปกติ

          ก. ยากลุ่มยับยั้งตัวรับฮิสทามีนชนิดที่ 2

               (H2-receptor antagonist)

ชื่อยา

ชื่อการค้า

ขนาดยา (มก.)

วิธีรับประทาน

ซัยเมททิดีน

-อัลซาเมท (Ulsamet)

-ซัยมัลเซอร์ (Cimulcer)

200, 400, 800

กินพร้อมอาหาร

ขนาด 800 มก.ต่อวัน

รานิทิดีน*

-รานิดีน (Ranidime)

-ซานีดีน (Xanidine)

150, 300

กินหลังอาหาร

ขนาด 200 มก.ต่อวัน

ฟาโมทิดีน*

-ฟาซิดีน (Fasidine)

-อัลฟาเมท (Ulfamet)

20, 40

กินหลังอาหาร

ขนาด 40 มก.ต่อวัน

(* ไม่มีขนาดแนะนำการใช้ในเด็ก)

          ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

          คลื่นไส้ อาเจียน  ปวดหัว มึนงง  สำหรับซัยเมททิดีน  อาจเกิดจากอาการอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ คือ มีผื่นขึ้น ในผู้ชายอาจมีเต้านมโตขึ้น

          *ยารานิทิดีน และ ฟาโมทิดีน เหมาะสมในการรักษามากกว่า เพราะมีอาการไม่พึงประสงค์และเกิดปฏิกิริยากับตัวยาอื่นน้อยกว่า

          ข้อควรระวังในการใช้ยา

          1.กรณีใช้ยาร่วมกับยาลดกรด  ควรกินห่างกัน 2 ชั่วโมง

          2.ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต

          3.ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ หรือให้นมบุตร

          4.ซัยเมททิดีน  เกิดปฏิกิริยากับยาอื่นหลายชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม  ยากันชัก  และยาต้านการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น   ดังนั้น ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถ้าใช้ยาตัวอื่นร่วมด้วย  

          ข.ยากลุ่มยับยั้งการทำงานของโปรตอนปั๊ม (Proton pump inhibitor)

          ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพยับยั้งการหลั่งกรดได้นานและมีประสิทธิภาพสูงกว่ายากลุ่มยับยั้งตัวรับฮิสทามีนชนิดที่ 2

          ผลข้างเคียงจากการใช้ยา

          อาการไม่รุนแรง เช่น ปวดหัว  คลื่นไส้  ท้องผูก หรือท้องเสีย

          ข้อควรระวังในการใช้ยา

          1.ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ

          2.ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร

          3.การใช้ยาติดต่อการนานเกิน 2 เดือน อาจเกิดภาวะกรดในกระเพาะสูง

          4.ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้ร่วมกันยาต่อไปนี้ คือ ยากันชัก ยาต้านการแข็งตัวของเลือด  ยาฆ่าเชื้อรา เช่น

คีโตโคนาโซล (ketovonazole)  ดังนั้น ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถ้าใช้ยาดังกล่าวร่วมด้วย

ชื่อยา

ชื่อการค้า

ขนาด (มก.)

วิธีรับประทาน

โอมิพราโซล

-โอ-สิด (O-sid)

-มิราชิด (Miracid)

20

กินก่อนอาหาร ครึ่ง - 1 ชั่วโมง ขนาด 20 มก./วัน

อีโซเมพราโซล

-เน็กซ์เซียม (Nexium)

20, 40

กินก่อนอาหาร ครึ่ง - 1 ชั่วโมง ขนาด 20 มก./วัน

 (ไม่มีขนาดแนะนำการใช้ในเด็ก)

 3. ยาปกป้องเยื่อบุกระเพาะอาหาร

    ยากลุ่มนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเยื่อบุทางเดินอาหาร จึงมักมีผู้เรียกยากลุ่มนี้ว่า “ยาเคลือบกระเพาะ”

          ¨ ซูครับเฟต  (Sucrafate)

          ยาจะไปเคลือบเนื้อเยื่อที่เป็นแผล  ป้องกันไม่ให้กรดสัมผัสเนื่อเยื่อที่เป็นแผล

          รูปแบบยาที่มีจำหน่าย  :  เช่น อัลซานิค (Ulsanic)

          - ชนิดเม็ด  ขนาด 500 มก., 1 กรัม

          - ชนิดยาน้ำแขวนตะกอน ขนาด 1 กรัม ต่อ 1 ช้อนชา

          วิธีการใช้ :

          รับประทานครั้งละ 1 กรัม วนละ 4 ครั้ง หรือครั้ง 2 กรัม วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลหาย

          ผลข้างเคียงจากการใช้ยา :

          ท้องผูก ปวดท้อง ซึ่งลดอาการดังกล่าวโดยกินอาหารที่มีกากใย เช่น ผัก ผลไม้ และดื่มน้ำตามมากๆ

          ข้อควรระวังในการใช้ยา

          1.ยานี้มีส่วนผสมของเกลืออลูมิเนียมจึงควรระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคไต

          2.ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ หรือ ให้นมบุตร

          3.รบกวนการดูดซึมยากันชัก  ยาฆ่าเชื้อ  เตตร้าซัยคลิน (tetracyclone),  ไซโปรฟล๊อคซาซิน (ciprofloxacin)  จึงควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบก่อนใช้ยานี้

          ¨ ทีพรีโนน (Teprenone)

          มีฤทธิ์กระตุ้นการสร้างสารเมือกในกระเพาะ  จึงปกป้องและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น แต่ไม่นิยมใช้เนื่องจากประสิทธิภาพด้อยกว่ากลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรด

          รูปแบบยาที่มีจำหน่าย :  เซลเบ็คซ์ (ZelbexÒ)  ชนิดแคปซูลขนาด 50 มก.

          วิธีใช้ยา : กินครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร

          ผลข้างเคียงของการใช้ยา : ท้องผูก ท้องเสีย ท้องอืด ปวดท้อง


 

4. ยากลุ่มอื่นๆ

   นอกเหนือจากยากลุ่มหลักที่ใช้ รักษาแผลในกระเพาะแล้ว กรณีที่มีอาการท้องอืด จุกเสียด หรือ ปวดมวนท้องมาก ผู้ป่วยอาจได้รับยาอื่นๆ ร่วมด้วย

          ¨ยาลดอาการปวดมวนท้อง

          ¨ยาขับลม

          -ยาไซเมทิโคน (Simethicone)  เช่น แอร์-เอกซ์ (Air-X),  ดิสฟาติล (Disflatyl) เป็นต้น

          -สมุนไพรขับลม ยาน้ำขับลม (Carminative)

5. ยารักษากรณีติดเชื้อ Hy.pyroli

    ถ้าสาเหตุการเกิดโรคจากากรติดเชื้อแบคทีเรีย H.pyroli จำเป็นจะต้องได้รับการรักษาโรคกระเพาะอาหาร คือ โอมิพราโซล (Omeprazole) ร่วมกับปฏิชีวนะ 2 ชนิด ได้แก่ อะม๊อกซซิลลิน (Amoxicillin),  เมโทรนิดาโซล (Metronidazole) หรือ คลาริโทรมัยซิน (Clarithromycin) เพื่อฆ่าเชื้อสาเหตุ

    กรณีที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ H.pyroli จะต้องกินยาติดต่อการนาน 1 สัปดาห์ และหลีกเลี่ยงการกินยาลดกรด  เพื่อบรรเทาอาการเพราะนอกจากไม่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุแล้วยังทำให้เชื้อเจริญได้ดีขึ้น  ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้

 ยารักษาโรคกระเพาะที่แนะนำให้ใช้ในเด็ก

          ¨ เด็กทารก-เด็กเล็ก

          แนะนำให้ใช้ยาน้ำสำหรับขับลม และหลังจากให้ยาควรอุ้มพาดบ่าและเขย่าเบาๆ เพื่อให้เรอออกมา

 ผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่าย เช่น

          -ไมลอม ชนิดหยด (Mylom drop)

          -แอร์-เอ็กซ์ ชนิดหยด (Air-X drop)

          -ไกร๊ปวอเตอร์ (Gripewater)

          -เบบี้ดอล (Babydol)

          ¨ เด็กอายุ 1-5 ปี

          ยาลดกรดชนิดน้ำ ให้จิบวันละ 3-4 ครั้ง งดน้ำอัดลมและกินอาหารให้ตรงเวลา

 

แหล่งที่มา : srinagarind-hph.kku.ac.th

อัพเดทล่าสุด