บทความอาเซียนศึกษา ใบงานอาเซียนศึกษา กศน ตัวอย่างแผนการสอนอาเซียนศึกษา


1,509 ผู้ชม


บทความอาเซียนศึกษา ใบงานอาเซียนศึกษา กศน ตัวอย่างแผนการสอนอาเซียนศึกษา

 

 

ที่มาของอาเซียน 10 ชาติ 1 อาเซียน

จุดเริ่มต้น นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย

จนเมื่อทั้งสองฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ " ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และ ไทย

การลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” (Bangkok Declaration) เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคง ในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ ของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชียด้วย

 

ต่อมาในปี พ.ศ.2527 ประเทศบรูไนดารุซาลามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นเทศที่ 6 เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 8 มกราคม 2527) สาธารณรัฐสังคมคมนิยมเวียดนาม (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 28 กรกฎาคม 2538) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) สหภาพพม่า (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 23 กรกฎาคม 2540) ราชอาณาจักรกัมพูชา (เข้าเป็นสมาชิกตั้งแต่ 30 เมษายน 2542) ตามลำดับทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ 10ประเทศ   

 

ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียนขึ้นมาเกิดจากความต้องการสภาพแวดล้อม ภายนอกเพื่อที่ผู้ปกครองของประเทศสมาชิกจะสามารถมุ่งความสนใจไปที่การสร้าง ประเทศ ความกังวลต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ร่วมกัน ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธ ทศวรรษ 2500 รวมไปถึงความต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนมีวัตถุประสงค์แตกต่างจากสหภาพยุโรป เพราะกลุ่มอาเซียนถูกสร้างขึ้นเพื่อสนับสนุนความเป็นชาตินิยม

 

บทความอาเซียนศึกษา ใบงานอาเซียนศึกษา กศน ตัวอย่างแผนการสอนอาเซียนศึกษา

 

 

สรุปการที่เราต้องมารวมกันเป็นสมาคมอาเซียน มีเหตุผลหลัก คือ

1.เพื่อความอยู่รอดทางเศรษฐกิจ หรือเพื่อความเติบโตทางเศรษฐกิจของบรรดาเหล่าสมาชิก 

2.เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในภูมิภาคนี้ในด้านของสังคมวัฒนธรรม 

3.เพื่อความมั่นคงของเหล่าสมาชิกอาเซียน

 

บทความอาเซียนศึกษา ใบงานอาเซียนศึกษา กศน ตัวอย่างแผนการสอนอาเซียนศึกษา

 

ต่อมาภายหลังเราถือกันว่า ข้อตกลงปฏิญญากรุงเทพฯ ถือเป็น ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือข้อตกลงในการก่อกำเนิดอาเซียนอย่างเป็นทางการ

 

ปฏิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) หรือ ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) เป็นเอกสารในการก่อตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รับการลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยในขณะนั้นมีสมาชิกผู้ก่อตั้งจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซียและฟิลิปปินส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะสกัดการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม โดยกำหนดหลักการเบื้องต้นของอาเซียน อย่างเช่น การร่วมมือกัน มิตรภาพและการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวต่อสถานการณ์ภายในประเทศสมาชิกทั้งหมด

 

บทความอาเซียนศึกษา ใบงานอาเซียนศึกษา กศน ตัวอย่างแผนการสอนอาเซียนศึกษา

ปฏิญญากรุงเทพฯ ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
      1.  ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี
           วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
      2.  ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
      3.  เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
      4.  ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
      5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
      7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การ ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ   และองค์การระหว่างประเทศ

การทำความตกลงครั้งสำคัญนั้น  เป็นที่มาของประชาคมอาเซียน 10 ชาติ 1 อาเซียน คือ ข้อตกลง วิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ. 2020 ซึ่งทำกันเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2540

เริ่มมีการทำกฎบัตรอาเซียน ตั้งกฎกติกาต่างๆ เพื่อเป้าหมายในการร่วมมือกันทั้งด้านเศรฐกิจ ความมั่นคงและวัฒนธรรม โดยตั้งใจจะให้บรรลุเป้าหมายในปี ค.ศ.2020  และจากความคืบหน้าในการร่วมมือของสมาชิก ทำให้มีการลดเวลาลงมาคือจะให้สำเร็จภายในปี ค.ศ.2015  นั่นคืออีก 3 ปีจากนี้ไป

บทความอาเซียนศึกษา ใบงานอาเซียนศึกษา กศน ตัวอย่างแผนการสอนอาเซียนศึกษา

ตลอดระยะเวลา กว่า 40 ปี ที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าได้ประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับจากหลายฝ่ายทั้งด้านการเมืองเเละความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ประเทศไทยในฐานะผู้นำได้รับประโยชน์อย่างมากจากความร่วมมือต่างๆของอาเซียน   เช่น ประโยชน์จากการที่ภูมิภาคเป็นเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ช่วยให้การพัฒนาประเทศไทยมีความเจริญเติบโตได้เข้มแข็งมากขึ้น ช่วยให้การพัฒนาประเทศไปสู่ประชาคมอาเซียนและสากลได้ดี

หลักการพื้นฐานของความร่วมมืออาเซียน

        ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย


- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน
- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก


แหล่งที่มา : gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด