อาการโรคหลอดลมอักเสบ ข่าว โรคหลอดลมอักเสบ อาการป่วยโรคหลอดลมอักเสบ


745 ผู้ชม


อาการโรคหลอดลมอักเสบ ข่าว โรคหลอดลมอักเสบ อาการป่วยโรคหลอดลมอักเสบ

 

 

 

หลอดลมอักเสบ Acute bronchitis

เริ่มแรกคุณจะมีอาการเหมือน เป็นหวัด โดยเริ่มจากมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหล แสบคอ

เมื่อโรคดำเนินต่อไปคุณจะรู้สึกแน่นหน้าอกมีเสมหะในคอ

และคุณเริ่มจะเกิดอาการ ไอแสดงว่าคุณเริ่มเป็นโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบคือโรคที่เกิดจากการอักเสบเยื่อบุของหลอดลม

ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะอุดหลอดลม

ผู้ป่วยบางรายหลอดลมบวมมากและมีเสมหะมากทำให้เกิดลักษณะเหมือนโรคหอบหืด

แค่เหมือนนะ แต่ม่ะใช่...Kiss

อาการเด่นๆของหลอดลมอักเสบ

ไอเป็นอาการที่สำคัญที่สุด เสมหะจะมีสีเหลืองหรือเขียว

แต่เราๆ ท่านๆ อาจจะไม่ได้เห็นเสมหะในเด็กหรือผู้ใหญ่บางคนที่กลืนเสมหะลงไปกระเพาะ

นอกจากไอแล้วยังมีอาการอื่นคือ

  • แสบคอ เจ็บคอบางคนมีอาการแสบหน้าอก
  • หายใจลำบาก
  • หายใจเสียงดังหวีด(เพราะทางที่ลมผ่านมันแคบเหมือนเราเป่านกหวีด เวลาหายใจออกเลยได้ยินเสียงหวีดๆๆอี้ดๆแล้วแต่จะจินตนาการเอาละกัน)
  • ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • ไข้ไม่สูง
  •  

ตัวหนังสือสีส้มๆคือที่พบบ่อยในสถานีอนามัยนะคะ

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค

  • ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเหมือนไข้หวัด เชื้ออื่นที่เป็นสาเหตุคือเชื้อ Mycoplasma pneumoniae.,Chlamydia pneumoniae
  • หลอดอักเสบจากสิ่งแวดล้อมเช่น ควันบุหรี่ กลิ่นสี สารเคมี ฝุ่น
  • จากกรดในกระเพาะที่ไหลย้อน gastroesophageal reflux disease (GERD)

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ

  • ท่านสูบบุหรี่หรืออยู่กับคนที่สูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีโรคประจำที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเช่น โรคเบาหวาน โรคตับ เป็นต้น
  • ผู้ที่มีโรคกรดไหลย้อน gastroesophageal reflux disease (GERD)
  • ผู้ที่ทำงานกับสารระคายเคืองเช่น ฝุ่น สารเคมี

ใครเสี่ยงบ้างยกมือขึ้น.......

การดูแลตนเอง

1. เมื่อมีอาการไอมีเสมหะ ให้ปฏิบัติตัวดังนี้
- พักผ่อนนอนหลับให้มากๆ
- ดื่มน้ำอุ่นให้มากๆ เพื่อช่วยระบายเสมหะ
- งด สูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคือง เช่น ความเย็น น้ำเย็น น้ำแข็ง ของทอด
ของมันๆ ฝุ่น ควัน อากาศเสีย ลมจากพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศ

2. ให้ยาบรรเทาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ (ถ้ามีไข้) ถ้ารู้สึกระคายคอมากให้อมยาอมมะแว้ง

จิบน้ำผึ้งผสมมะนาว หรือน้ำมะนาวคั้นใส่เกลือและน้ำตาล หลีกเลี่ยงการใช้ยาระงับการไอ

และยาแก้หวัดแก้แพ้ (เช่น คลอร์เฟนิรามีน) อาจทำให้เสมหะเหนียว

ขับออกยากส่วนมากถ้ามาอนามัยจะไม่ให้ยาลดน้ำมูก

แต่จะให้หอมหัวแดงไปทุบแล้วดมแทน ช่วยลดน้ำมูกได้และไม่ทำให้เสมหะเหนียวข้น

แต่ต้องทนดมกลิ่นเอาสักหน่อย Cool

3. ควรไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้


- น้ำหนักลด
- หายใจหอบเหนื่อย
- มีเสมหะเหลืองหรือเขียว
- มีไข้นานเกิน 7 วัน
- ไอเป็นเลือด
- เจ็บแปล๊บที่หน้าอกเวลาหายใจเข้าลึกๆ
- อาการไอไม่ทุเลาใน 2 สัปดาห์ หรือมีความวิตกกังวล หรือไม่มั่นใจที่จะดูแลตนเอง

ถ้ามีอาการดังกล่าวข้างต้นก็ไปให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้านตรวจดูก่อนนะจ้ะ

ถ้าทาง สอ. ดูแลไม่ไหวจะส่งท่านไป โรงพยาบาลต่อเองไม่ต้องห่วง

และไม่ต้องเสี่ยงไปรับโรคจากโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็นด้วยนะ

โรงพยาบาลนะ เวลาจำเป็นๆก็ค่อยไป

การรักษา


เจ้าหน้าที่ จะให้การดูแลรักษาตามลักษณะอาการ และสาเหตุที่ตรวจพบ ดังนี้


1. แนะนำให้ผู้ป่วยปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองดังกล่าข้างต้น 

(ครั้งแรกที่ตรวจพบและครั้งสุดท้ายก่อนกลับบ้านท่านจะโดนเจ้าหน้าที่แนะนำจนหูชาๆๆๆๆ)


2. ให้ยาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ ยาขยายหลอดลม (ถ้ามีอาการหายใจดังวี้ดหรือหลอดลมตีบ)

3. ให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน (amoxycillin) อีริโทรไมซิน (erythromycin)

หรือโคไตรม็อกซาโซล (cotrimoxazole) เฉพาะในรายที่มีภาวะปอดอุดกั้นเรื้อรัง

(เช่น หืด หลอดลมพอง) หรือไอมีเสมหะเหลืองหรือเขียวเกิน 7 วัน


4. ในรายที่ตรวจพบว่ามีสาเหตุจากโรคกรดไกลย้อน แพทย์จะให้ยาลดการสร้างกรด

เช่น โอเมพราโซล (omeprazole)(ยาตัวนี้อนามัยไม่มีนะจ๊ะ ต้องรับที่โรงพยาบาล) ร่วมด้วย

ภาวะแทรกซ้อน

ที่อาจมีอันตรายร้ายแรง ได้แต่ ปอดอักเสบ ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยกว่าร้อยละ 5 ของผู้ป่วย
ส่วนใหญ่จะพบในทารก ผู้สูงอายุ ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือมีโรคปอดเรื้อรัง (เช่น หืด ถุงลมโป่งพอง)

ในรายที่เป็นซ้ำซาก อาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และถุงลมโป่งพอง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่สูบบุหรี่

การดำเนินโรค

ส่วนใหญ่มักจะหายได้โดยการรักษาตามอาการ ส่วนน้อยที่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ


อาการ ไอ มักจะเป็นอยู่นาน 1-3 สัปดาห์ บางรายอาจไอโครกๆ อยู่นาน 7-8 สัปดาห์

หรือ 3 เดือน โดยมีอาการไอแห้งๆ หรือมีเสมหะสีขาว

ทั้งนี้เนื่องจากเยื่อบุหลอดลมถูกทำลายจากการอักเสบ

ทำให้หลอดสมไวต่อสิ่งกระตุ้น (เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ฝุ่น ลม ความเย็น)

ผู้ป่วยมักจะไม่มีไข้ น้ำหนักตัวไม่ลด กินอาหารและทำกิจกรรมต่างๆ ได้เป็นปกติ

เจ้าหน้าที่จะให้การดูแลโดยแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่างๆ

ให้ยาบรรเทาไอแล้วรอเวลาให้หลอดลมค่อยๆ ฟื้นตัวเป็นปกติ

การป้องกัน


หมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

และหาทางป้องกันไม่ให้เป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่

(เช่น อย่าให้ผู้ป่วยไอจามรดหน้า หมั่นล้างมือบ่อยๆ)

แหล่งที่มา : deathmoon.exteen.com

อัพเดทล่าสุด