โรคงูสวัดเกิดจากอะไร โรคงูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่ โรคงูสวัด ติดต่อหรือไม่
โรคงูสวัด เกิดจากไวรัส Hepes Varicella Zoster ทำให้มีการอักเสบที่เส้นประสาท อาการจะมีตุ่มน้ำขึ้นตามแนวเส้นประสาท จะมีอาการปวดแสบปวดร้อน |
ลักษณะผื่นของงูสวัด |
งูสวัดที่เป็นบริเวณลำตัว |
งูสวัดที่เส้นประสาทคู่ที่5 |
ตุ่มน้ำของงูสวัดเส้นประสาทคู่ที่7 |
ภาพแสดงผื่นที่เริ่มหายตกสะเก็ด |
Herpes zoster โรคงูสวัด
โรคงูสวัดเป็นโรคผิวหนังเกิดจากกลับติดเชื้อซ้ำของเชื้อ varicella-zoster virus (VZV) ซึ่งเป็นเชื้อที่อยู่ในร่างกายทำให้เกิดตุ่มพองที่ผิวหนัง ปวดแสบร้อนมาก
สาเหตุ
เป็นโรคผิหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่า Hepes Varicella Zoster เป็นชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคไข้สุกใส ผู้ที่เป็นโรคไข้สุกใสมาก่อนจะยังคงมีเชื้อไวรัสนี้ที่ปมประสาทสันหลัง ซึ่งเมื่อร่างกายอ่อนแปเชื้อสามารถสร้างเพิ่มจำนวน ทำให้เกิดโรคงูสวัดได้ แต่จะเกิดเฉพาะแนวประสาท ไม่ลุกลามกระจายออกไปเพราะร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้ออยู่แล้ว แนวเส้นประสาทที่พบบ่อยได้แก่ บริเวณเอว ก้นกบ ตา ใบหน้า ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่นผู้สูงอายุ หรือจากโรคเช่น เอดส์ การรับประทานยา steroid จะมีโอกาสที่จะเกิดโรคงูสวัดสูง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
จากการสำรวจพบว่าผู้ใหญ่ร้อยละ 90 จะมีภูมิต่อเชื้องูสวัด ดังนั้นกลุมคนเหล่านี้ จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัดประมาณ 1.5-3 ต่อประชากร 1000 คน ผู้ที่อายุมาก มะเร็ง หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิ ผู้ที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัด
ตำแหน่งที่เกิดโรค
พบว่าตำแหน่งที่เกิดโรคพบได้บ่อย 3 ตำแหน่งได้แก่
- ตาทแนวเส้นประสาทไขสันหลัง ระหว่างรากประสาททรวงอกเส้นที่3ถึงระดับเอวข้อที่3( spinal root between T3 and L3)
- ตามแนวเส้นประสาทสมองคู่ที่5 อาจจะทำให้เกิดตาบอดเรียกZoster ophthalmicus
- ตามเส้นประสาทสมองคู่ที่7 ทำให้มีอาการปากเบี้ยวครึ่งซีกเรียก Ramsay Hunt syndrome
อาการ
- จะมีอาการปวดตามตัวก่อนมีผื่น 2-3 วัน
- มักจะไม่มีไข้อาจจะมีไข้ต่ำๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดศีรษะ
- ต่อมาจะมีอาการทางผิวหนัง อาจจะแค่คันผิวหนัง บางคนปวดแสบปวดร้อน บางคนเสียวที่ผิวหนัง สำหรับคนที่เป็นที่ใบหน้าจะมีอาการปวดศีรษะ เห็นแสงจ้าไม่ได้
- ต่อมาอีก 1-5 วันจะมีผื่นแดงอยู่เป็นกลุ่ม ต่อมาเป็นตุมน้ำใส มักจะขึ้นอยู่ซีกใดซีกหนึ่งของร่างกาย ตามเส้นประสาทที่เป็นโรค ตุ่มน้ำใสจะคงอยู่ประมาณ5 วันต่อมาผื่นจะตกสะเก็ดและหายไปใน2-3สัปดาห์ และอาจจะทิ้งรอยแผลเป็น ผู้ป่วยที่มีภูมิอ่อนแรงเช่น โรคมะเร็ง โรคเอดส์ ผู้ที่ได้รับยากดภูมิ จะเป็นโรคนี้ได้บ่อย และเป็นรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค
- เคยเป็นโรคไข้สุกใสมาก่อน
- อายุมาก
- เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- มีความเครียดทางอารมณ์
- ได้รับอุบัติเหตุ
การวินิจฉัย
- ทำได้จากประวัติการเจ็บป่วย ลักษณะของผื่น แต่ผู้ป่วยบางคนลักษณะผื่น และตำแหน่งไม่เหมือนงูสวัดจึงจำเป็นต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่ม ได้แก่การเพาะเชื้อไวรัส การย้อมด้วยวิธี Direct immunofluorescence assay
- Tzanck smear นำเอาน้ำที่ก้นแผลมาย้อมจะพบเซลล์ตัวใหญ่ผิดปรกติ
โรคนี้จะติดต่อหรือไม่
เชื้อไวรัสที่อยู่ในผื่นสามารถติดต่อโดยการสัมผัส สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นไขสุกใสมาก่อนก็อาจจะกลายเป็นไข้สุกใส สำหรับคนที่เป็นไข้สุกใสแล้วก็จะมีโอกาสเป็นงูสวัสเพิ่มมากขึ้น
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
- มีอาการปวดเส้นประสาท Postherpetic neuralgia ซึ่งเป็นโรคแทรกซ้อนที่พบบ่อยที่สุด
- เยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ อาการที่สำคัญได้แก่ meningoencephalitis
- ปวดศีรษะ
- ไข้
- มองแสงจ้าไม่ได้
- คอแข็ง
- อาเจียน
- ประสาทไขสันหลังอักเสบ
- หลอดเลือดอักเสบ.
- อาจจะทำให้ปอดอักเสบ ตับอักเสบในรายที่เป็นมะเร็ง
- งูสวัดเข้าตาซึ่งอาจจะทำให้ตาบอด
- ปากเบี้ยว
แหล่งที่มา : siamhealth.net