วันสุขภาพจิตโลก คือวันที่เท่าไหร่ สำคัญอย่างไร (คลิก)


928 ผู้ชม


วันสุขภาพจิตโลก คือวันที่เท่าไหร่ สำคัญอย่างไร (คลิก)

 
10 ตุลาคม วันสุขภาพจิตโลก



ไม่ใช่ว่าเพราะโดนแก๊สน้ำตา
ไม่ใช่ว่ากำลังเป็นมะเร็งระยะแรก
ไม่ได้ให้รอจนปวดเมื่อยทำงานไม่ไหว

ไม่ใช่แค่เจ็บป่วยทางกายเท่านั้นที่เราควรไปหาหมอ อาการเจ็บป่วยทางจิต ก็ทำให้คนคนนั้นมีความต้องการทางแพทย์สูงได้เช่นเดียวกัน

ผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิต ก็คล้ายกับคนป่วยด้วยโรคทั่วๆไป มีระดับของอาการ ความยากง่ายของการรักษา สาเหตุที่แตกต่างกันไปของกลุ่มอาการ แต่บ่อยทีเดียวที่เรามักมองว่าการปรึกษาจิตแพทย์เป็นเรื่องเอิกเริกเกินไปสำหรับคนปกติ คงไม่เป็นผลดีแน่ที่เราจะเก็บซ่อนระเบิดเวลาของความเจ็บป่วยทางจิตไว้รอวันปะทุ

สุขภาพจิตคืออะไร

ความหมายของคำว่า “สุขภาพจิต” ( Mental Health)   มี นักจิตวิทยาหลายท่านได้ให้ความหมายไว้หลากหลาย ดังนี้

สุขภาพจิต หมายถึง สภาวะของชีวิตที่มีสุขภาพและผู้มีสุขภาพจิตดีคือ ผู้ที่สามารถปรับตนเองอยู่ได้ด้วยความสุข ในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ได้ ฝน แสงสิงแก้ว ( 2522 : 57 )

สุขภาพจิต หมายถึง สุขภาพของจิตใจที่ดีของมนุษย์หรือการมีสภาพจิตที่ดี เช่น มีจิตใจเบิกบานแจ่มใส อยู่เสมอ ไม่มีความวิตกกังวลใด ๆ มีแนวความคิดถูกต้อง ส่วนบุคคลที่สุขภาพจิตเสื่อม ย่อมหมายถึง บุคคลที่มีสุขภาพจิตผิดปกติ มีความกังวลทุกข์ร้อนอยู่เสมอ ตลอดจนมีแนวความคิด พฤติกรรมผิดไปจากปกติธรรมดา สุรางค์ จันทน์เอม ( 2527 : 2 )

สำหรับองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้ความหมายของสุขภาพจิตว่า เป็นสิ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านชีวะและสังคม เป็นสภาพที่ไม่คงที่ขึ้นอยู่กับระดับและความผันแปรต่าง ๆ สุขภาพจิตเป็นความสามารถของบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และความสามารถที่อยู่ได้หรือทำสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ในสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลง

เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในใจบุคคลที่มีสุขภาพจิตดี ก็จะสามารถปรับจิตใจให้เกิดความพอใจในผลที่ได้รับ และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาแทนที่จะหลีกหนีจากปัญหาหรืออุปสรรคนั้น ๆ นอกจากนี้บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีและสามารถใช้ความรู้สึกขัดแย้งในใจต่าง ๆ เป็นแรงผลักดันให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

พอจะเข้าใจคำว่า สุขภาพจิต ไปในทางเดียวกันแล้วใช่ไหม ?  เรื่องของสุขภาพจิต เป็นการเจ็บป่วยที่ไม่ใช่เรื่องเล็ก สำคัญถึงขนาดทั่วโลกได้ตั้งวันสุขภาพจิตโลกขึ้นมาเลยทีเดียว 

ทำไมจึงได้มีวันสุขภาพจิตโลก

เพราะเชื่อกันว่า มนุษย์เราประสบกับสภาวะปัญหาทางสุขภาพจิต  "สหพันธ์สุขภาพจิตแห่งโลก" (World Federation for Mental Health หรือ WFMH) ร่วมกันทำงานกับสมาคมนานาชาติเพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย (International Association for Suicide Prevention หรือ IASP) และองค์กรอื่นๆ ร่วมสนับสนุนโดยองค์อนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศไปยังนานาประเทศทั่วโลก เพื่อให้สาธารณชนตระหนักถึงประเด็นปัญหาด้านสุขภาพจิตที่มีความสำคัญ เมื่อ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1992 โดยรองเลขาธิการในขณะนั้น คือ ริชาร์ด ฮันเตอร์ (Richard Hunter) ได้กำหนดให้ วันที่ 10 ตุลาคม ของทุกปีเป็น "วันสุขภาพจิตแห่งโลก" (World Mental Health Day) เพื่อให้ประเทสสมาชิกได้ร่วมกันจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต 
 
                                  
                                         วันสุขภาพจิตโลก คือวันที่เท่าไหร่ สำคัญอย่างไร (คลิก)
                การดำเนินการในช่วงแรกนั้นเน้นที่จะส่งเสริมเครือข่ายสุขภาพจิตและให้ความรู้ ด้านสุขภาพจิตในประเด็นต่างๆ ต่อสาธารณะ ไม่มีการกำหนดหัวข้อเฉพาะที่ชัดเจนในการดำเนินงานแต่ละปี จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1994 Eugene Brody ) เลขาธิการของสมาพันธ์ ได้แนะนำให้มีการกำหนดประเด็นหัวข้อเพื่อเป็นเป้าในการดำเนินงานในแต่ละปี โดยครั้งแรก คือ "พัฒนาคุณภาพการบริการด้านสุขภาพจิตพร้อมกันทั่วโลก" (Improving the Quality of Mental Health Services throughout the World)


ใครคือผู้มีปัญหาสุขภาพจิต

                อย่างแรกควรเข้าใจกันก่อนว่า ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีนั้น หมายถึง คนที่สามารถปรับตัวได้ ( Adjusted Person ) หมายความว่า เมื่อเผชิญกับความคับข้องใจ จะไม่แสดงความท้อแท้ หรือเสียใจเกินกว่าเหตุ และเมื่อเผชิญปัญหาก็จะแก้ปัญหาโดยอาศัยข้อเท็จจริงส่วนคนที่มีสุขภาพจิตไม่ดีคือคนที่ปรับตัวไม่ได้ ( Maladjusted Person ) คือเมื่อพบกับความคับข้องใจจะแสดงความท้อแท้และวิตกกังวลออกมาเสมอและแก้ปัญหาโดยการหนีความจริง   เดือน สินธุพันธ์ประทุม ( 2511 : 1 )

                อย่างนั้นแล้ว ผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต ก็คือ ผู้ที่ปรับตัวได้ไม่ดี  ( Mal - adjusted  person )  จะเป็นบุคคลที่มีลักษณะตรงกันข้ามกับผู้ที่ปรับตัวได้ดี  ( Well  adjusted  person )  นั่นเอง  ไม่รู้จักและไม่เข้าใจตนเอง  ไม่รู้จักและไม่เข้าใจผู้อื่น   ตลอดจนไม่สามารถเผชิญปัญหาและความจริงแห่งชีวิตได้  ทำให้ไม่ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข  (เทเวศร์ พิริยะพฤนท์ และคณะ)

                เมื่อพบเจอปัญหา แต่ละคนก็ย่อมมีการขบคิดและหาทางออกที่แตกต่างกันไป ตามพื้นฐานความคิดและปัจจัยรายล้อม หากปรับตัวได้ก็ไม่เป็นปัญหา แต่กับคนที่ยิ่งแก้แต่ก็ยิ่งวกวน วุ่นวาย หรือสุดท้ายกลับเดินไปสู่ทางออกที่ทำร้ายตัวเองหรืออาจทำร้ายถึงสังคม การที่จะประคับประคองสุขภาพจิตให้ลุเทา รึหายดีได้นั้น ย่อมต้องมีความเข้าใจถึงเหตุแห่งสุขภาพจิตเสื่อมเสียก่อน และอีกหนึ่งทางออกที่ดีนอกเหนือจากการพยายามหาทางออกด้วยตัวเอง การหันหน้าเข้าหาจิตแพทย์หรือมืออาชีพทางด้านนี้ย่อมเป็นทางเลือกที่สมควร

สาเหตุของปัญหา

ในทางจิตวิทยาเชื่อว่าปัญหาสุขภาพจิตมีสาเหตุแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มปัจจัยคือ สาเหตุทางกาย สาเหตุทางใจ และสาเหตุจากสิ่งแวดล้อม

1.สาเหตุของร่างกาย

จากร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นความบกพร่องของร่างกาย การเจ็บไข้ได้ป่วย มีความพิการ ร่างกายไม่สมประกอบ สุขภาพอ่อนแอ กังวล กลุ้มใจ  รวมทั้งเหตุที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ โดยโครโมโซม (Chromosome) พี่น้องที่เคยเป็นโรคจิตมีโอกาสที่จะเป็นได้สูงกว่าคนทั่วไป ย่อมส่งผลกระทบถึงจิตใจให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ กังวลใจ วิตก มีอารมณ์แปรปรวนได้

2.สาเหตุทางจิตใจ

ตราบที่ความต้องการด้านจิตใจของคนเรามีอยู่เสมอเมื่อยังหายใจในบางครั้งที่ไม่สมปรารถนา ต้องพบกับอุปสรรค  เมื่อไม่อาจทำใจได้รับได้ก็เกิดความกลัว ความวิตกกังวล และความโกรธ ความเหนื่อยล้าของจิต(Fatigue) ความทุกข์ความไม่สบายใจก็จะเกาะกินหัวใจ จนเกิดเป็นความเจ็บป่วยทางจิต

3. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม 

ทั้งสาเหตุจากครอบครัว สภาพชีวิตสมรส และสัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ ลูก ที่ไม่ได้รับความอบอุ่น หรือการเลี้ยงดูที่ไม่ดีเท่าที่ควร หรือแม้แต่ชีวิตโสดก็ยังมีปัญหายุ่งยาก ผลจากสภาวะทางเศรษฐกิจ เหตุการณ์หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม วัฒนธรรมและค่านิยมของสังคม เมื่อเกิดการปรับตัวได้ไม่ดี ปัญหาสุขภาพจิตก็ย่อมตามมา


โรคประสาท และโรคจิต อาการทางจิตที่แตกต่าง

ผู้ที่มีสุขภาพจิตผิดปกตินั้น อย่างน้อยๆที่เราควรเข้าใจเพื่อให้แยกแยะถึงระดับความแตกต่างของระดับอาการได้คือ 
 
                โรคประสาท (neurosis) เป็นความผิดปกติทางจิตใจยังอยู่ในระดับขั้นอ่อน เป็นความผิดปกติทางจิตที่ไม่รุนแรง ผู้ป่วยยังรับรู้โลกของความจริง อยู่ในสังคมได้ เพียงแต่สมรรถภาพจะไม่ดีเท่าที่ควรอาการที่แสดงออกอาจมีทั้ง จิตใจแปรปรวน อมทุกข์ ประสาทหลอน ก้าวร้าว เหม่อลอย  ความวิตกกังวล อาการเด่น ๆ ของโรคประสาทก็คือ จะมีความรู้สึกกลัวหรือวิตกกังวลเป็นอาการหลัก ที่จะแสดงออก เมื่อมีสิ่งเร้า

 
                                      วันสุขภาพจิตโลก คือวันที่เท่าไหร่ สำคัญอย่างไร (คลิก)
                สำหรับ โรคจิต (Psychoses) หรือคนวิกลจริต ที่หลายคนคุ้นที่จะเรียกว่า "คนบ้า"  นั้น บุคลิกภาพที่แสดงออกหรือพฤติกรรมจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก และเห็นได้ชัดเจนว่าแตกต่างไปจากคนปกติ ไม่สามารถ ควบคุมอารมณ์  และพฤติกรรมของตนเองได้   เช่นมีอาการ  หูแว่ว ประสาทหลอน   แก้ผ้าในที่สาธารณะ แสดงอารมณ์ ไม่สอดคล้องกับความนึกคิด หรือสภาพแวดล้อม   บางคนอาจมีมีพฤติกรรมที่เป็นอันตรายต่อตนเอง หรือผู้อื่นได้

ความต่างที่เห็นได้ชัดคือ  ผู้ป่วยโลกประสาท ยังสามารุแยกแยะโลกของความจริงและความฝันออกจากันได้ ความคิดยังเป็นปกติดีรู้ว่าตนเองไม่สบายใจจากสาเหตุอะไร ส่วนผู้ที่เป็น โรคจิต จะมี การคิดหรือเห็นสิ่งที่ไม่เป็นความจริง อาการแตกต่างจากคนทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด