โรคหอบหืด อาการ โรคหอบหืด การรักษา คำแนะนำโรคหอบหืด
เป็น ‘หอบ’ กินยาลดอ้วน อันตรายถึงชีวิต!!
ก่ออาการแพ้ยารุนแรงเสี่ยงช็อกตาย!!
นายสุชาติ ถนอมวรากรณ์ เภสัชกรสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ยาลดความอ้วนมีด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ ประเภทแรก ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทหรือมีผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ยาพวกนี้ได้แก่ ยาบ้า ยาเสพติด แอมเฟตามีน เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วจะไม่รู้สึกอยากที่จะรับประทานอาหาร ทำให้ร่างกายซูบผอม ยาเหล่านี้จึงถือเป็นยาอันตรายที่ไม่มีจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป ถือเป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภท 2 จะมีเฉพาะคลีนิกหรือโรงพยาบาลและสั่งจ่ายตามความเห็นของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากจะมีผลทำให้บางคนมีอาการคลุ้มคลั่งได้ หรืออาจจะช๊อค นอกจากนี้ยังมีผลทำให้เกิดเสพติด ง่วงซึม นอนไม่หลับ
ส่วนอีกกลุ่มเป็นยาที่ไม่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทโดยตรง แต่จะไปมีผลต่อระบบทางเดินอาหารปกติยากลุ่มนี้จะใช้ในการรักษาโรค แต่ก็มีการนำมาดัดแปลงเอาไปปนกับยาชุดบางกลุ่ม มักจะพบในกลุ่มยาที่มีฮอร์โมนไทลอยด์ ซึ่งจะมีในยาถ่าย ยาระบาย ยานอนหลับ ส่วนใหญ่ตามร้านขายยามีจำหน่ายเป็นชุด ก็จะมียาประเภทนี้ปนมาด้วย
ตรงนี้ก็ไปใช้ในการลดความอ้วน เนื่องจากเมื่อรับประทานยาที่มีฮอร์โมนไทลอยด์เข้าไป ก็จะมีผลต่อการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ทำให้การเผาผลาญพลังงานเร็วขึ้น เมื่อรับประทานยาวนานจะมีผลในการไปกดการสร้างฮอร์โมน ทำให้ร่างกายขาดการสร้างฮอร์โมนจนกลายเป็นโรคไฮโปรไทลอยด์
สำหรับกรณี น.ส.สมจิตร นั้นยังไม่สามารถที่จะระบุชัดว่าตายเพราะยาลดความอ้วนหรือไม่ เพราะยังไม่ทราบว่าเป็นยากลุ่มไหน แต่กรณีถ้าหยุดยาลดความอ้วนสองสัปดาห์จะเสียชีวิตนั้นเป็นไปได้ยาก แต่หากว่าเจตนารับประทานเข้าไปมากเกินขนาด ก็มีโอกาสช๊อค หรือกรณีแพ้ยาอย่างรุนแรงก็มีโอกาสเช่นกัน
ในส่วนของคนที่เป็นโรคไต ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคตับก็มีโอกาสที่จะเสียชีวิตจากการรับประทานยาประเภทนี้ได้ และการที่ลดน้ำหนักจาก 60 ก.ก. มาเป็น 49 ก.ก. อย่างรวดเร็วถือว่าอันตรายมาก จริงๆ แล้วไม่ควรเกินอาทิตย์ละ 1 ก.ก. เท่านั้น
นายสุชาติ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของคนที่เป็นโรคหอบนั้น ก็มีโอกาสเสียชีวิตจากการรับประทานยาลดความอ้วนได้ เนื่องจากโรคนี้เกี่ยวกับภูมิแพ้และเราก็ไม่ทราบว่าผู้ตายเป็นภูมิแพ้ขั้นใดและภูมิแพ้อะไร เพราะคนที่เป็นภูมิแพ้ก็จะแพ้ยาเร็วกว่าคนปกติอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามคงต้องรอดูผลพิสูจน์จากนิติวิทยาศาสตร์ว่าพบสารอะไรบ้าง เภสัชกรกล่าวในที่สุด
แหล่งที่มา : thaihealth.or.th