พยาธิสภาพของโรคหลอดลมอักเสบ การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคหลอดลมอักเสบ ลูกสุนัขพุดเดิ้ล


684 ผู้ชม


พยาธิสภาพของโรคหลอดลมอักเสบ การป้องกันโรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน โรคหลอดลมอักเสบ ลูกสุนัขพุดเดิ้ล

การให้วัคซีนใน สัตว์เลี้ยง


การให้วัคซีนในสัตว์เลี้ยง (ข่าวโลกสัตว์เลี้ยง)
         การให้วัคซีนในสัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะลดโอกาสที่จะเกิดโรคติดต่อ โดยที่วัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้นกันโรคแก่สัตว์ สารที่อยู่ในวัคซีนที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน เรียกว่า สารก่อภูมิต้านทาน (antigen) ดังนั้น เมื่อนำลูกสุนัขและลูกแมวมาเลี้ยง จึงต้องรีบปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อจัดทำโปรแกรมการให้วัคซีนใหครบตามที่แนะนำ 
         ทั้งนี้ การให้วัคซีนจะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ดีหรือไม่อยู่ที่การตอบสนองของสัตว์เลี้ยงต่อวัคซีนที่ให้ ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ สุขภาพสัตว์ อายุ ชนิดของวัคซีน วิธีการให้วัคซีน และการได้รับเชื้อโรคก่อนการทำวัคซีนหรือไม่ วัคซีนที่ดีจำเป็นต้องปลอดภัย มีประสิทธิภาพสูง และไม่มีฤทธิ์ไม่พึงประสงค์
ชนิดของวัคซีน
         วัคซีนที่ใช้กับสัตว์เลี้ยงแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
         1.วัคซีนเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่เกิดจาการทำลายเชื้อจุลชีพ ทั้งจากการใช้ความร้อนและสารเคมี แต่ไม่ทำให้ส่วนที่เป็นสารก่อภูมิต้านทานเสียหาย ยังสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ ได้แก่ วัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า และวัคซีนโรคเลปโตสไปโรซีส
         2.วัคซีนเชื้อเป็น เป็นวคซีนที่เกิดขึ้นจากการทำให้เชื้อจุลชีพลดความรุนแรงลง เมื่อให้เข้าสู่ร่างกายจึงกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันแทนที่จะทำให้เกิดโรค ได้แก่ วัคซีนโรคไข้หัดสุนัข วัคซีนโรคลำไลส้อักเสบติดต่อจากพาร์โวไวรัส และวัคซีนโรคระบบทางเดินหายใจในเมว
โรคติดต่อที่ต้องทำวัคซีน
         โรคติดต่อที่เกิดขึ้นกับสนุัขจำเป็นต้องทำวัคซีนป้องกันไว้ ได้แก่ โดรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หัดสุนัข โรคตับอักเสบติดต่อ โรคเลปโตสไปโรซีส(โรคฉี่หนู) โรคลำไส้อักเสบติดต่อจากพาร์โวไวรัส โรคลำไส้อักเสบติดต่อจากโคโรน่าไวรัส และโรคหลอดลมอักเสบติดต่อ ส่วนโรคติดต่อที่เกิดขึ้นกับแมวที่จำเป็นต้องทำวัคซีนป้องกันไว้ ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้า โรคไข้หัดแมว โรคระบบทางเดินหายใจ โรคช่องปากและลิ้นอักเสบ โรคลิวคีเมีย และโรคเยื่อบุช่องท้องอักเสบติดต่อ
ข้อน่ารู้ในการทำวัคซีน
         การเตรียมตัวสุนัขก่อนทำวัคซีน
          สุนัขที่จะไปทำวัคซีนควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและไม่ป่วยเป็นโรคใด ๆ ในช่วงดังกล่าว เพื่อให้ร่างกายจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างเต็มที่
          สัตว์ที่มีความเสี่ยงในการติดโรค ควรได้รับวัคซีนทุกตัว เช่น ลูกสัตว์ที่เกิดจากแม่สุนัขอ่อนแอ ลูกสัตว์ที่ไม่ได้รับนมน้ำเหลืองทันทีหลังคลอด สัตว์ที่เลี้ยงอยู่อย่างหนาแน่น และสัตว์ที่อยู่ในบริเวณเกิดการระบาดของโรค
อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้จากการทำวัคซีนในสุนัขและแมว
          มีอาการบวม แดง ผื่นแพ้บริเวณที่ฉีดวัคซีน (24 ชั่วโมง)
          มีอาการซึม อ่อนเพลีย บางรายอาจพบว่ามีไข้ (24-72 ชั่วโมง)
          พันธุ์สุนัขที่โน้มนำให้เกิดการแพ้วัคซีนได้ง่ายคือ พุดเดิ้ล, ดัชชุนขนยาว, สก็ตติช เทอร์เรีย, โอลด์อิงลิช ชีพด็อก, เชดแลนด์ ชีพด็อก,ชิห์สุ, ไวน์มาราเนอร์, อเมริกัน ค็อกเกอร์ สแปเนียล
          อาการอื่อน ๆ เช่น อาเจียน ท้องเสีย ตาแดง หรือตาอักเสบ
การดูแลสุนัขหลังได้รับวัคซีน
          หลังฉีดวัคซีน ควรพักดูอาการที่คลิกนิก หรือโรงพยาบาลสัตว์อย่างน้อย 30 นาที
          1 ชั่วโมง ให้แน่ใจว่าสัตว์มีอาการปกติ จึงกลับบ้านได้
          งดอาบน้ำสัตว์หลังทำวัคซีนเป็นเวลา 7 วัน
          สุนัขแต่ละตัวจะตอบสนองต่อวัคซีนโดยการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ อายุของสัตว์ ประเภทและชนิดของวัคซีน และสุขภาพโดยทั่วไปของสุนัข 
          หลังฉีดวัคซีน อาการต่อไปนี้อาจขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ ได้แก่ อ่อนเพลีย มีไข้ต่ำ ๆ หรือเบื่ออาหาร หากหลังจาก 48 ชั่วโมง อาการดังกล่าวยังคงอยู่ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ 
          ภายหลังจากการทำวัคซีนต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ร่างกายจึงจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันโรค หากมีการติดเชื้อก่อนที่ระดับภูมืคุ้นกันจะสูงเพียงพอที่จะป้องกันโรคได้สุนัขที่ทำวัคซีนก็จะเกิดโรคได้เช่นกัน


แหล่งที่มา :  pet.kapook.com

อัพเดทล่าสุด