ใบบัวบก สรรพคุณ สรรพคุณของใบบัวบก ประโยชน์ของน้ำใบบัวบก


842 ผู้ชม


ใบบัวบก สรรพคุณ สรรพคุณของใบบัวบก ประโยชน์ของน้ำใบบัวบก


สรรพคุณบัวบก (Centella’s Properties)

- มีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) และมีสารต้านมะเร็ง
- มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น สมอง และปลายมือปลายเท้าซึ่งจะช่วยบรรเทาและรักษาอาการหลงลืมรวมทั้งแผลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน  
- มีฤทธิ์ช่วยสมานแผล รักษาโรคเรื้อน  ความผิดปกติของผิวหนัง

ใบบัวบก สรรพคุณ สรรพคุณของใบบัวบก ประโยชน์ของน้ำใบบัวบก
การศึกษาฤทธิ์

เริ่มจากฝ่ายเคมีที่มีมีหน้าที่สกัด จะสกัดสารจากใบบัวบกเอามาให้ทดสอบในสัตว์ทดลองเพื่อดูว่ามีฤทธิ์ไหม  หากมีฤทธิ์ก็ส่งไปให้ก็สกัดออกมาอีก สมมติว่าครั้งแรก เราก็จะตั้งชื่อเอาไว้ว่า F1 F2 F32 F4 จากนั้นก็เอามาศึกษาในสัตว์ทดลอง  ถ้า F1 ไม่มี F2 มี F3 มี F4 ไม่มี  ก็เอาอันที่มีส่งไปให้ทีมเคมีสกัดต่อ  เพื่อเอามาทดสอบอีก เป็นการสกัดแยกออกไปเรื่อยๆ  สมมุติว่าเป็น F2.2 ก็ต้องแยกไปอีกเป็น F2.2.1 ไปเรื่อยๆ นั้นคือ ก็ใช้วิธีนี้เพื่อค้นหาสาร แยกกลับไปกลับมาจนสุดท้ายสามารถบอกได้ว่ามีสารตัวใดที่ออกฤทธิ์ เพื่อให้ได้เป็นมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานอันนี้เป็นของใครของมัน  อย่างเกาหลีก็มีมาตรฐานของเกาหลี มีวิธีการของเขาที่ไม่ได้เปิดเผย ของอังกฤษก็มีแตกต่างกันไป  เพราะฉะนั้นเราถึงต้องทำของเรา เมื่อทำได้แล้วเราก็ตั้งชื่อของเราว่า ECa233 เพื่อให้รู้ว่าเป็นสารที่เกิดจาการที่เราได้คิดขึ้นมาและสามารถใช้อ้างอิงข้อมูลได้

ใบบัวบก สรรพคุณ สรรพคุณของใบบัวบก ประโยชน์ของน้ำใบบัวบก
ใบบัวบก สรรพคุณ สรรพคุณของใบบัวบก ประโยชน์ของน้ำใบบัวบก 
 
การหาพิษ

ต้องไม่ลืมว่าสารที่ได้มานั้นนอกจากมีฤทธิ์แล้วก็มีพิษด้วยเช่นกัน เพื่อเป็นความรู้ในการกำหนดขนาดการใช้ เช่น ในการกินยาก็จะต้องกินให้มีปริมาณระดับหนึ่งในเลือดมันถึงจะได้ผล และตรงนี้เองที่จะต้องดูว่าช่วงห่าง คือช่วงที่มีฤทธิ์กับช่วงที่เกิดพิษนี้กว้างแค่ไหน ถ้ากว้างมากตัวยาก็ปลอดภัยมาก เพราะสมุนไพรนี้ไม่ได้แปลว่าความปลอดภัย  อันนี้คือสิ่งที่อยากจะให้คนทั่วไปเข้าใจ มันไม่ได้หนีคำที่ว่าสิ่งใดที่มีฤทธิ์นี้มันมักจะมีพิษเสมอ  อยู่ที่ว่ามากหรือน้อยเท่านั้นเอง  แต่ถ้าฤทธิ์กับพิษห่างกันมากๆเราก็สามารถเอามาใช้ได้  ในยาแผนปัจจุบัน ก็ดูช่วงปลอดภัยอย่างนี้เช่นกัน 
ใบบัวบก สรรพคุณ สรรพคุณของใบบัวบก ประโยชน์ของน้ำใบบัวบก 

การศึกษาพิษนั้น ทางคณะวิจัยได้รับความร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์ ในการทดลองทางพิษวิทยากับสัตว์ทดลองซึ่งมีความพร้อมสูง โดยได้ทำการทดลองให้ยาในปริมาณต่างๆกับหนูทดลองนานถึง 3 เดือน  ในระหว่างที่เลี้ยงก็จะมีการตรวจเป็นระยะ ดูทั้งผลของการตรวจเลือดและน้ำหนัก เมื่อครบกำหนดก็ต้องฆ่าสัตว์ทดลอง แล้วเก็บตัวอย่างเลือด ตรวจค่าต่างๆ เช่น การทำงานของตับของไต ตรวจเม็ดเลือดทุกชนิด ดูอวัยวะทั้งหลาย ชั่งน้ำหนัก ซึ่งอันนี้จำเป็นต้องอาศัยคนชำนาญมาก ต้องมีทุนต้องมีคนที่ชำนาญการในแต่ละส่วน ผลมันถึงจะออกมาน่าเชื่อถือ และผลที่ออกมาก็พบว่า


การวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ (Potential Applications)

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary Supplement) :
            *  เม็ดหรือแคปซูลเสริมอาหารสำหรับผู้สูงอายุซึ่งมีความจำบกพร่อง
เวชสำอาง (Cosmeceuticals) :
             *  สารออกฤทธิ์ (Active Ingredient) หรือวัตถุดิบที่ใช้ผสมในเครื่องสำอางรูปแบบต่างๆ เช่น ครีมบำรุงผิว  ครีมสมานแผล  ครีมรักษาท้องลายจากการตั้งครรภ์  เป็นต้น
ยา (Pharmaceutical Products) : 
             * วัตถุดิบสำหรับการผลิตยารักษาโรคของหลอดเลือดดำ แผ่นแปะสำหรับแผลในช่องปาก ยาสำหรับริดสีดวงทวาร

มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจตั้งคำถามขึ้นว่า อย่างนั้นแล้วการใช้สมุนไพรตามที่ปู่ย่าตายายสั่งสอนมานั้น ปลอดภัยควรที่จะใช้สืบต่อไปดีหรือไม่ ในประเด็นอาจารย์มยุรีได้แนะนำว่า สมุนไพรนั้นมีถ่ายทอดมารุ่นต่อรุ่น ถ้าหากคุณใช้ตามลักษณะที่โบราณบอกเล่ามาก็สามารถใช้ได้เลย เพราะได้ผ่านการพิสูจน์มาแล้วหลายชั่วคน แต่หากเมื่อใดที่คุณเอามาดัดแปลง นี่คือสิ่งสำคัญที่คุณจะต้องเอามาพิสูจน์เสียก่อนว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร

การที่อยากให้มีการใช้สมุนไพรเพราะมันเป็นพืชในท้องถิ่นหาง่ายราคาถูก  แต่การที่เร่งรัดเกินไปคิดแต่ด้านดี ก็เคยเกิดเรื่องมาแล้ว เช่น เมื่อครั้งมะเกลือ ที่โบราณใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ ที่นี้ต้องการส่งเสริม ก็มีการดัดแปลงกระบวนการเล็กน้อยเพื่อนำมาใช้งาน และเป็นเรื่องเล็กๆน้อยที่คิดไม่ถึง สุดท้ายมีคนตาบอดจากการใช้มะเกลือ พอกลับมาศึกษาถึงได้พบว่า เดิมทีคนโบราณเมื่อจะใช้งานก็รับประทานไปเลย แต่พอเอามาส่งเสริม ในกระบวนการผลิตก็มีการทำเก็บไว้เพื่อจ่ายแจก ช่วงเวลาจากเช้าถึงเย็นสารก็เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นเอง  ตอนนั้นคนก็กลัว แต่พอคนลืมก็กลับมาอีก เมื่อไม่นานนี้ก็มีในขี้เหล็ก อย่างที่รู้กันว่าในขี้เหล็กกินแล้วจะช่วยให้ถ่ายสะดวกนอนหลับสบาย จึงมีการนำมาบดแล้วอัดเป็นแคปซูล ใช้กันไปโดยที่ไม่ได้สนใจเรื่องพิษ แต่พอดีว่า มีอาจารย์หมอท่านหนึ่งที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ สงสัยว่าทำไมผู้ป่วยโรคตับมีเยอะขึ้น พอซักประวัติไปก็พบว่าเคยใช้ใบขี้เหล็กนี่เอง
สัมภาษณ์ : รศ.ภญ.ดร. มยุรี  ตันติสิระภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
เรียบเรียง:บัวอื่น

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด