วิธีป้องกันโรคหัวใจ โรคหัวใจเกิดอะไรบ้าง โรคหัวใจรูห์มาติค
โรคหัวใจสามารถป้องกันได้ และวิธีรักษาโรคหัวใจ
การตีบหรืออุดตันในหลอดเลือดแดง ส่งผลให้เกิดภาวะที่เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะวิกฤติ ซึ่งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตหรือมีภาวะแทรกซ้อนตามมา แต่ในปัจจุบันสามารถตรวจสุขภาพเพื่อวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้
เริ่มจากการตรวจสุขภาพ ซึ่งแพทย์นำข้อมูลต่างๆ วิเคราะห์ดูว่ามีความผิดปกติ และรับการรักษาอย่างเร่งด่วน ทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้เพราะโรคหัวใจ รู้เร็ว ป้องกันและรักษาได้
ลิ้นหัวใจผิดปกติ ตีบรั่ว และวิธีการรักษา
ลิ้นหัวใจเป็นส่วนหนึ่งของหัวใจ ทำหน้าที่คล้ายประตู ปิด-เปิด ระหว่างห้องหัวใจตลอดเวลาตั้งแต่เกิด ภาวะลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ ร่างกายอาจจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่อาการจะปรากฏเมื่อหัวใจไม่สามารถรับปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นต่อไป จึงเป็นอาการของภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น หอบเหนื่อย ขาบวม ใจเต้นเร็ว เป็นต้น ในปัจจุบันการตรวจพิเศษที่ช่วยในการวินิจฉัย โรคลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ รวมทั้งสามารถบอกความรุนแรงและลักษณะของลิ้นหัวใจได้ดีที่สุด คือ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Echocardiography เรียกสั้นๆ ว่า Echo ซึ่งก็คือ Ultrasound ของหัวใจนั่นเอง เป็นการตรวจสภาพการทำงานของกล้ามเนื้อรวมถึงลิ้นหัวใจ
การรักษาโรคหัวใจ
ในปัจจุบันนี้มีด้วยกันหลายวิธี โดยส่วนใหญ่แบ่งเป็น 3 วิธี คือ
1. การรับประทานยา ยารักษาโรคหัวใจเป็นยาที่จำเป็นในผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีข้อบ่งชี้ในการให้ยา เมื่ออาการดีขึ้น แพทย์จะปรับขนาดยาให้เหลือน้อยเพื่อควบคุมอาการ ดังนั้นเมื่อรับประทานยาแล้วมีอาการดีขึ้นก็ไม่ควรหยุดยาเองยกเว้นถ้ามีปัญหาจากยาให้หยุดและไปพบแพทย์
2. การทำบอลลูนและใส่ขดลวดขยายหลอดเลือดหัวใจ Percutaneous Transluminal Coronary Angiography (PTCA) and Coronary Stent เป็นการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและ/หรือใส่ขดลวดในผู้ป่วยที่มีการตีบของหลอดเลือดหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าอก เป็นวิธีการล่าสุดและเห็นผลการรักษาที่ชัดเจน ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์ของแพทย์ รวมทั้งแพทย์ที่ความเชี่ยวชาญ
3. การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ Coronary Artery Bypass Surgery เป็นการรักษาเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบอย่างมากหลายเส้น นอกจากนั้นยังมีการผ่าตัดหัวใจประเภทอื่นๆ อีก เช่น การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ตีบ การผ่าตัดซ่อมแซมเส้นเลือดโป่งพอง การเปลี่ยนลิ้นหัวใจและการผ่าตัดหัวใจในเด็กที่มีความผิดปกติแต่กำเนิด
การป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
วิธีง่ายๆ คือ ควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้ให้ดี ควบคุมโรคเดิมที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน ความดัน ไขมัน งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย ลดน้ำหนักที่เกิน ลดความเครียด ทำง่ายๆ เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจได้ เพราะโรคหัวใจรักษาได้ แต่อาจกลับมาเป็นใหม่ได้ เพราะฉะนั้นจึงต้องดูแลตัวเอง และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงาน ก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ทั้งสิ้น เนื่องจากการดำเนินชีวิตในปัจจุบันที่มักไม่เอาใจใส่และห่วงใยดูแลสุขภาพกันเท่าที่ควร โรคหัวใจจึงไม่ได้หมายถึงโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุเท่านั้น ดังนั้น จึงควรใส่ใจสุขภาพ จำง่ายๆปฏิบัติการ 4 อ.
1.อาหาร ให้ครบ 5 หมู่ อย่างเหมาะสม
2.อากาศ ให้บริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะ งดสูบบุหรี่
3.อารมณ์ ให้แจ่มใส ลดความเครียด
4.ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ
แหล่งที่มา : hibalanz.com , หนังสือพิมพ์คมชัดลึก