โรคริดสีดวงทวาร โรคริดสีดวงทวานหนักเกิดจาก วิธีรักษาโรคริดสีดวงให้หายขาด
ความรู้เรื่องการกดจุดเป็นของเก่าแก่และมีมานานหลายพันปีซึ่งเป็นที่ยอมรับของชาวจีน ศาสตร์แห่งการกดจุดได้แพร่หลายไปทั่วโลก ทั้งในอเมริกาและยุโรป โดยเฉพาะในยุโรป Dr.Frank Bahr ท่านเป็นแพทย์ชาวเยอรมัน เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในเรื่องการกดจุดโดยเฉพาะ ท่านได้ศึกษาและเขียนตำราการกดจุดไว้ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์ เหมาะสำหรับนำมาเผยแพร่แก่ประชานชนในการดูแลสุขภาพ เพราะการกดจุดก็คือศาสตร์แขนงเดียวกับการฝังเข็มที่เราๆท่านๆรู้จักกันดี แต่กดจุดเป็นการฝังเข็มโดยไร้เข็ม ทั้งยังไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดเหมือนฝังเข็ม และไม่มีอันตรายใดๆต่อผู้ทำ ถ้าท่านกดได้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพก็จะได้ผลในการรักษา ทั้งยังช่วยเสริมการรักษาของแพทย์ให้หายเร็วขึ้น แต่ถ้าท่านทำแล้วไม่ได้ผล ก็ไม่มีข้อเสียหายอะไร |
ริดสีดวงทวารเป็นเส้นเลือดขอดที่เกิดขึ้นที่บริเวณทวารหนัก สาเหตุยังไม่ทราบ มักพบว่ามีญาติพี่น้องเป็นด้วย สาเหตุส่งเสริมที่ทำให้เป็น เช่น อาการท้องผูกเรื้อรัง ออกแรงเบ่งอุจจาระมาก การตั้งครรภ์มีก้อนเนื้องอกในท้อง ต่อมลูกหมากโต ตับแข็ง มะเร็งของลำไส้ใหญ่ ฯลฯ
⇒ อาการ
มีเลือดไหลออกเป็นหยดหลังถ่ายอุจจาระ มักเกิดขึ้นเวลาท้องผูกหรือถ่ายอุจจาระแข็ง โดยมากจะไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างไร บางคนอาจมีอาการคัน ปกติจะไม่ค่อยมีอาการรุนแรงหรืออันตราย แต่จะเป็นๆหายๆเรื้อรัง น่ารำคาญหรือทำให้วิตกกังวล ถ้ามีอาการอักเสบก็อาจมีอาการเจ็บปวดได้ และถ้ามีเลือดออกเรื้อรัง ก็อาจทำให้ซีดได้
ในคนสูงอายุอาจพบร่วมกับโรคมะเร็งในลำไส้ ดังนั้นถ้าหากพบในคนอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป หรือเป็นๆหายๆ บ่อย ก็ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อน
ข้อแนะนำทั่วไปก่อนกดจุด |
1. นั่งหรือนอนในท่าที่สบายมือที่จะกดจุดไม่ควรเย็น ถ้าเย็นควรทำมือให้อุ่นก่อนโดยแช่ในน้ำอุ่น หรือใช้ผ้าห่อมือไว้
2. ถ้าท่านมีผิวหนังที่แพ้ง่าย อาจจะใช้โลชั่นหรือแป้งฝุ่นทาบริเวณที่จะกดจุดก่อนลงมือกดจุด
3. ระหว่าทำการกดจุด บางรายอาจจะมีเหงื่อออกมาก ควรให้พักระหว่างการกดจุดได้
4. .ในวันที่อากาศหนาวเย็น เมื่อกดจุดเสร็จเรียบร้อย ก่อนออกไปนอกบ้านควรสวมเสื้อให้อบอุ่น
ข้อแนะนำก่อนกดจุด |
1. การกดจุด หมายถึงการนวดจุดๆนั้นโดยใช้ปลายนิ้วมือที่เล็บสั้น
2. อ่านและดูรูปที่แสดงตำแหน่งการกดจุดให้เข้าใจ แล้วลองกดจุดที่อยู่บนร่างกาย สำหรับจุดที่อยู่บนใบหูอาจจะใช้กระจกส่องช่วยหาจุด หรือวานให้ใครคนใดคนหนึ่งดูจุดนั้นในรูปแล้วชี้ตำแหน่งให้
3. เมื่อท่านกดถูกจุดๆนั้นจะให้ความรู้สึกได้ดีกว่าบริเวณรอบๆ และควรกดจุดให้แรงพอ
4. นิ้วมือที่นิยมใช้กดจุด มักใช้นิ้วชี้ โดยให้ปลายนิ้วมือตั้งฉากกับผิวหนัง และนวดไปตามทิศทางที่ลูกศรชี้ในภาพ นวด (ถู) ออกไปเป็นระยะทาง 1 นิ้ว การนวดควรนวดประมาณ 30 ครั้ง ต่อ 10 วินาที หรือ 70-100 ครั้งต่อนาที
5. จุดบนใบหูอาจจะใช้ปลายนิ้วก้อยหรือปลายดินสอ ปากกามนๆ นวดได้ เพราะบริเวณใบหูเล็กและแคบกว่าร่างกาย
6. การกดจุดตามหลักของจีนได้กำหนดเวลาในการกดแต่ละครั้งไว้ดังนี้
เด็กอายุ 0-3 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด ½-3 นาที
เด็กอายุ 3-6 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-4 นาที
เด็กอายุ 6-12 เดือน ใช้เวลากดทั้งหมด 1-5 นาที
เด็กอายุ 1-3 ปี ใช้เวลากดทั้งหมด 3-7 นาที
เด็กโต ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10 นาที
ผู้ใหญ่ ใช้เวลากดทั้งหมด 5-10-15 นาที
7. จุดที่กดอยู่บนร่างกาย ควรกดหรือนวดทั้ง 2 ข้างของลำตัว (ร่างกายจะแบ่งเป็น 2 ข้าง คือ ข้างขวาและซ้าย)
8. ระยะต่างๆ ที่ใช้ในการวัด จะวัดจากความกว้างของนิ้วมือของผู้กดจุดเอง
⇒ ตำแหน่งที่กดจุด
จุดที่กดบนร่างกาย
1. จุด “จางเหมิน” (Zhangmen)
วิธีหาจุด : อยู่ตรงใต้ชายโครงซี่ที่ 11 ประมาณ 0.3 ซ.ม. (วิธีหาจุดให้งอข้อศอกแนบที่ข้างลำตัว จุดนี้จะอยู่ตรงใต้ข้อศอกพอดี)
วิธีนวด : นวดทแยงขึ้นบน (ดังรูป)
2. จุด “ชีเฉวียน” (Ququan)
วิธีหาจุด : จุดอยู่บริเวณด้านข้างของข้อพับขาด้านใน
วิธีนวด : นวดขึ้นบน (ดังรูป)
3. จุด “เหว่ยจง” (Weizhong)
วิธีหาจุด : จุดอยู่กึ่งกลางของข้อพับขา
วิธีนวด : นวดลงล่าง(ดังรูป)
4. จุด “ไป่หุ้ย” (Baihui)
วิธีหาจุด : จุดอยู่บนศีรษะ อยู่กึ่งกลางระหว่างใบหูทั้ง 2 ข้าง
วิธีนวด : นวดเข้าหาหน้าผาก(ดังรูป)
กดจุดที่ใบหู
หูขวา : การรักษาที่มีประสิทธิภาพ จะอยู่ที่บริเวณขอบของใบหูส่วนที่พบม้วนเข้า
วิธีหาจุด : จุดจะอยู่บริเวณส่วนต้นของใบหูด้านใน
วิธีนวด : นวดขึ้นไปตามส่วนโค้งของใบหูด้านใน นวดให้แรงพอ(ดังรูป)
หูซ้าย : จุดอยู่ตำแหน่งเดียวกันกับหูขวา แต่ให้นวดลงล่าง
การรักษา
การกดจุดที่ใบหูจะได้ผลดีกว่าที่ร่างกาย ให้นวดติดต่อกันเป็นเวลา 2-3 วันๆ 1-2 ครั้ง ๆ ละ 5 นาที แล้วตามด้วยการกดจุดที่ร่างกาย 1 วันสลับกัน
ในรายที่เป็นมาก อาจจะมีการเสียเลือดมาก ท่านควรพบศัลยแพทย์เพื่อผ่าตัดรักษาริดสีดวงทวาร แต่หัวใจของการรักษาอยู่ที่ท่านต้องพยายามอย่าให้มีท้องผูก ซึ่งท่านต้องพยายามกินผัก และผลไม้ให้มากๆ ทุกวัน รวมทั้งดื่มน้ำให้เพียงพอด้วย
และถ้าท่านเป็นเรื้อรังหรือสงสัยจะมีโรคอื่นร่วมด้วย ท่านควรจะไปโรงพยาบาลเพื่อใช้กล้องส่องตรวจทางทวารหนัก หรือเอกซเรย์ดูลำไส้ใหญ่
แหล่งที่มา : doctor.or.th