สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหาร สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สมุนไพร โรคกระเพาะ ปวดท้องโรคกระเพาะกินยาอะไร


912 ผู้ชม


สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะอาหาร สมุนไพรรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ สมุนไพร โรคกระเพาะ ปวดท้องโรคกระเพาะกินยาอะไร

 

ยาสมุนไพร..ทางเลือกที่ได้ผลสำหรับคนเป็นโรคกระเพาะอาหาร

 ยาสมุนไพรสำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน 
เขียนโดย เดชาวัต เตยหอม 
โรคกระเพาะอาหาร 
โรคกระเพาะอาหาร (peptic ulce) หมายถึงอาการปวดแสบ ปวดต้อ ปวดเสียด หรือจุกแน่น ตรงบริเวณใต้ลิ้นปี่ (เหนือสะดือ) เวลาก่อนรับประทานอาหารหรือหลังรับประทานอาหารใหม่ ๆ สาเหตุสำคัญของโรคกระเพาะคือ ความเครียด (วิตกกังวล คิดมาก เคร่งเครียดกับการงาน การเรียน) พฤติกรรมการรับประทานอาหารผิดเวลา และการรับประทานอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารและลำไส้เช่น เหล้า เบียร์ แอสไพริน (ยาแก้ปวด ยาซอง) ยาแก้ปวดข้อ ยาชุด หรือยาลูกกลอนที่ใส่สเตียรอยด์ เครื่องดื่มชูกำลัง ที่เข้าสารคาเฟอีน เป็นต้น 
การรักษาโรคกระเพาะ โดยการรับประทานยา และดูแลสุขภาพ ของตนเอง ดังนี้ 
ก. รับประทานอาหารให้ตรงเวลา 
ข. รับประทานอาหาร 3 มื้อตามปกติ (ถ้าปวดมากในระยะแรก ควรรับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่นข้าวต้ม) อย่ารับประทานอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด 
ไม่จำเป็นต้องแบ่งรับประทานอาหารทีละน้อยแต่บ่อยมื้อขึ้นดังที่เคยแนะนำกันในอดีต เพราะยิ่งรับประทานมากนอกจากจะทำให้น้ำหนักขึ้นแล้ว (ต้องคอยลดความอ้วนอีก) ยังอาจจทำให้อาการกำเริบได้ง่ายอีกด้วยคนที่เป็นโรคกระเพาะบางครั้งอาจรู้สึกหิวง่ายก็ควรรับประทาน ยาลด กรดแทนนมหรือข้าว 
ค. งดเหล้า เบียร์ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม และบุหรี่เพราะจะทำให้โรคกำเริบได้ 
ง. ห้ามรับประทานยาแอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ ยาที่เข้าเตรียรอยด์ (ในรายที่จำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้รักษาโรคอื่น ควรปรึกษาแพทย์) 
จ. คลายเครียดด้วยการออกกำลังกาย (เช่น วิ่งเหยาะ เดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ รำมวยจีน โยคะ เต้นแอโรบิก) หรือทำสมาธิ สวดมนต์ ไหว้พระ หรือเจริญภาวนาตามศาสนาที่ตัวเองนับถือ คนที่เป็นโรคกระเพาะเนื่องจากความเครียด การปฏิบัติในข้อนี้ จะมีส่วนช่วยให้โรคหายขาดได้ 
ยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร คือ 
1. ขมิ้นชัน 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa Linn., Curcuma domesticaVal. 
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหยวก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น หมิ้น(ใต้) ตายอ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร) สะยอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) 
ลักษณะของพืช 
ขมิ้นมีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนของทวีปเอเชีย ประเทศอินเดีย จีน และหมู่เกาะ อินเดียตะวันออกปัจจุบันมีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ อย่างแพร่หลายในประเทศเขตร้อน ขมิ้นเป็นพืชล้มลุก มีเหง้าอยู่ใต้ดิน อายุหลายปี ถึงฤดูแล้งใบจะโทรม เมื่อย่างเข้าฤดูฝนเริ่มแตกใบขึ้นมาใหม่เนื้อในของเหง้ามีสีเหลืองเข้มจนถึงสีแสดเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านยาว ใบเหนียว เรียวและปลายแหลม กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม. ดอกเป็นดอกช่อ มีก้านช่อแทงจากเหง้าโดยตรง ดอกย่อยสีเหลืองอ่อน กลีบประดับสีเขียวอมชมพู ดอกบานครั้งละ 3-4 ดอก ผลรูปกลม มี พู 
ส่วนที่ใช้เป็นยา เหง้าแห้ง 
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บเมื่อขมิ้นอายุราว 7-9 เดือน 
รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาด กลิ่นหอมแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน ขับลม ท้องร่วง 
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ 
เหง้าขมิ้นมีน้ำมันหอมระเหยประมาณร้อยละ 22-6 เป็นน้ำมันสีเหลือง มีสารหลายชนิด คือ Turmerone, Zingiberene, Borneol เป็นต้น และมีสารสีเหลืองส้ม คือ เคอร์ควิมิน (Curmumin) ประมาณร้อยละ 1.8-5.2 
การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า ขมิ้นมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะ มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ขับน้ำดี และฤทธิ์คลายกล้ามเนื้อเรียบได้ โดยที่ฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะเกิดจากสารเคอร์คิวมิน ขนาด 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ทำให้เกิดการกระตุ้น การหลั่ง mucin ออกมาเคลือบกระเพาะ แต่ถ้าใช้ขนาดสูงอาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะได้ ส่วนฤทธิ์ลดการอักเสบเกิดจากสารเคอร์คิวมินและน้ำมันหอมระเหย ทำให้ขมิ้นมีผลช่วยบรรเทาอาการปวดท้องเนื่องจากแผลในกระเพาะได้ 
ฉวีวรรณ พฤกษ์สุนันท์ และคณะ (2529) ศึกษาผลของยาแคปซูลขมิ้นในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องเนื่องจากแผลเปื่อยในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กดูโอนินั่ม โดยดูการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุผนังภายในกระเพาะอาหารและสำไส้เล็กดูโอนินั่ม ด้วยกล้องส่องตรวจ (Endoscope) ในผู้ป่วยชาย 8 ราย หญิง 2 ราย อายุระหว่าง 16-60 ปีผู้ป่วยที่มีแผลเปื่อย10 ราย นี้เป็น D.U. 2 ราย มีขนาดแผล 0.5-1.5 ซม. โดยให้รับประทานขมิ้นชันขนาดแคปซูลละ 250 มก.ครั้งละ 2 แคปซูล ก่อนอาหาร 3 มื้อ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง และก่อนนอน ปรากฏผลว่า แผลของผู้ป่วยหายเรียบร้อยดี 6 ราย คิดเป็น 60 % ในระยะเวลา 4-12 สัปดาห์ ในจำนวนนี้ถ้าแสดงผลการหายของแผลเรียบร้อยภายในเวลา 4 สัปดาห์ ได้เป็น 50% 
อัญชลี อินทนนท์ และคณะ (2529) ได้ทำการทดลองใช้ขมิ้นรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องซึ่งเชื่อว่าเป็นอาการของโรคแผลเปปติค (Peptic Ulcer) โดยเปรียบเทียบกับการใช้ไตรซิลิเกต (Trisiligate) ซึ่งเป็นยาลดกรดขององค์การเภสัชกรรม ได้ผลดังนี้ คืออาการดีขึ้นมากหลังรักษาด้วยขมิ้นชัน ครบ 12 สัปดาห์ จำนวน 15 ราย คิดเป็น 60% หายปกติ 1 ราย คิดเป็น 58 % อาการดีขึ้นมาก หลังรักษาด้วยไตรซิลิเกต 5 ราย คิดเป็น 50 % หายปกติ 4 ราย คิดเป็น 40 % 
ขมิ้นเป็นสมุนไพรที่มีความปลอดภัยสูง การศึกษาพบว่าขมิ้น ไม่มีพิษเฉียบพลันและไม่มีผลในด้านก่อกลายพันธุ์ และในการวิจัยทางคลินิกของ ฉวีวรรณ พฤกษ์สุนันท์และคณะ (2529) ได้ศึกษาเคมีเลือดผู้ป่วยที่รับการ ทดลองจำนวน 30 คน ก่อนและหลังรับประทานขมิ้นติดต่อกันนาน 4 สัปดาห์ ไม่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงในผลเคมีเลือดที่บ่งถึงการตรวจหน้าที่ตับและไต และฮีมาโตโลยี ส่วนผลแทรกแซง พบอาการท้องผูก ราย แพ้ยามีผื่นที่ผิวหนัง 2 ราย 
วิธีใช้ 
ขมิ้นใช้รักษาโรคกระเพาะอาหารโดยการนำเหง้าแก่สดล้างให้สะอาด (ไม่ต้องปอกเปลือก) หั่นเป็นชิ้นบาง ๆ ตากแดดจัดสัก 1-2 วัน บดให้ละเอียด ผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นลูกกลอน หรือบรรจุแคปซูล เก็บไว้ในขวดสะอาดและมิดชิด รับประทานครั้งละ 500 มิลลิกรัม วันละ4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน 
บางคนรับประทานขมิ้นแล้วอาจมีอาการแพ้ขมิ้น เช่นคลื่นไส้ ท้องเสีย ปวดหัวนอนไม่หลับ เป็นต้น หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดยาและเปลี่ยนไปใช้ยาชนิดอื่นแทน 
ยาสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร 
2 กล้วย 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn. 
ชื่อท้องถิ่น - 
ลักษณะพืช 
กล้วยเป็นพืชเมืองร้อนและเป็นพืชที่คุ้นเคยกับคนไทยมาช้านาน เพราะเกือบทุกส่วนของกล้วยมีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน กล้วยเป็นพืชล้มลุกที่มีลำต้นตรง รูปร่างกลม มีกาบใบหุ้มซ้อนกัน ใบสีเขียวขนาดใหญ่ ขอบใบขนานกัน ช่อดอกคือหัวปลี มีลักษณะห้อยหัวลงยาว 1-2 ศอก มีดอกย่อยออกเป็นแผง กลายเป็นผลติดกัน เรียกว่าหวี เรียงซ้อนและติดกันที่แกนกลางเรียกว่าเครือ 
ส่วนที่ใช้เป็นยา ผลกล้วยดิบหรือผลห่าม 
ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บผลกล้วยช่วงเปลือกเป็นสีเขียว ต้นกล้วยจะให้ผลเมื่ออายุ 8-12 เดือน 
รสและสรรพคุณยาไทย รสฝาด ฤทธิ์ฝาดสมาน 
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ 
กล้วยดิบประกอบด้วยสารประกอบหลายชนิด คือ Tannin , Serotonin, Norepinephnine, Dopamin และ Catecholamine สารเหล่านี้อยู่ในเนื้อและเปลือกของกล้วยสำหรับกล้วยสุกมี pectin , Essential oil, Norepinephrine และกรดอินทรีย์หลายชนิด 
ปี คศ. 1964 Best และคณะ ได้พบว่าผงกล้วยดิบมีฤทธิ์รักษาแผลในกระเพาะหนูขาว ซึ่งเกิดจากการให้ aspirin โดยสามารถใช้ทั้งป้องกันและรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ ในการป้องกันจะใช้ขนาด 5 กรัม ส่วนการรักษาใช้ขนาด 7กรัม และถ้าเป็นสารสกัดด้วยน้ำจะมีฤทธิ์แรงเป็น 800 เท่าของผงกล้วย ผู้วิจัยเข้าใจว่ากล้วยดิบไปกระตุ้นให้เซลล์ในเยื่อบุกระเพาะหลั่งสารพวก mucin ออกมาเคลือบกระเพาะ กล้วยจะดีกว่ายาพวก Aluminium hydroxide, Cimetidine หรือ Postaglandin ซึ่งมีฤทธิ์เฉพาะป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะเท่านั้น แต่ไม่สามารถรักษาแผลที่เกิดแล้วได้ 
วิธีใช้ 
นำกล้วยน้ำว้าดิบฝานเป็นแว่นตากแดดประมาณ 2 วัน หรืออบให้แห้งในอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส และบดเป็นผง วิธีรับประทานโดยการนำผงกล้วยดิบครั้งละครึ่งถึงหนึ่งผล ชงน้ำหรือผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนโต๊ะ ดื่มหรือนำผงกล้วยดิบมาปั้นลูกกลอน รับประทานครั้งละ 4 เม็ด วันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร และก่อนนอน รับประทานแล้วอาจมีอาการท้องอืดเฟ้อ ป้องกันได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลม เช่น น้ำขิง พริกไทย เป็นต้น 
สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน, "ยาสมุนไพร สำหรับงานสาธารณสุขมูลฐาน" 


แหล่งที่มา : webboard.pooyingnaka.com

อัพเดทล่าสุด