คําอธิบายรายวิชาอาเซียนศึกษา ข้อสอบวิชาอาเซียนศึกษา ม.ปลาย หนังสือเรียนอาเซียนศึกษา


1,296 ผู้ชม


คําอธิบายรายวิชาอาเซียนศึกษา ข้อสอบวิชาอาเซียนศึกษา ม.ปลาย หนังสือเรียนอาเซียนศึกษา

 

เราจะเรียนจะสอนเรื่อง อาเซียนศึกษา กันอย่างไร?

เมื่อรู้ว่าครูต้องสอนวิชาเพิ่มเติม เรื่องอาเซียน ก็เริ่มต้นศึกษาแหล่งสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ พยายามหาข้อมูลจากสื่อเทคโนโลยี เอกสาร บทความ หนังสือ ผลการประชุม เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีมากมายแต่ไม่พบโครงสร้างหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องนี้เลย เนื้อหาสาระก็กว้างมาก กังวลว่านักเรียนสำเร็จรายวิชาอาเซียนในชั้นเรียนแล้วจะไม่ศึกษาเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง เพราะจำเป็นเหลือเกินว่านักเรียนต้องสืบค้นเรียนรู้เรื่องราวประชาคมอาเซียน ให้ตลอดชีวิตได้อย่างไร และสามารถเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตของตนเองออกสู่การเป็นพลโลก

แม้นว่าเราจะเป็นคนไทย อยู่ในเมืองไทยไม่ต้องการออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านหรือประเทศอื่น ๆ แต่ประชาคมอาเซียนมีประชากรเกือบ 600 ล้านคน ซึ่งต้องเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยเพราะประเทศเราเป็นศูนย์กลางที่เหมาะสมทั้งทำเลที่ตั้ง การบิน การท่องเที่ยว การขนส่ง ฯลฯ ถึงแม้นเราจะมีจุดเด่นแต่ก็มีจุดด้อยแต่นั้นเป็นสิ่งที่ท้าทาย เราพร้อมที่จะพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน เราคงต้องพยายามพัฒนาตนเองหมายถึงการพัฒนาประชาสังคมที่มีคุณภาพของอาเซียน

ปัจจัยสำคัญที่สุด คือการสร้างองค์ความรู้ ความคิดรอบยอด มีความรู้เข้าใจกำเนิดอาเซียน พัฒนาการอาเซียน กฎบัตรอาเซียน (เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญอาเซียนของเรา) ที่มาของคำศัพท์ต่าง ๆ อาเซียน กลไกอาเซียน ภาพรวมความเหมือนและความแตกต่างของประชาคมอาเซียน แนวคิด วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เกิดเป็น สามเสาหลักของอาเซียน การกำเนิดเขตการค้าเสรี ที่เรียกว่า AFTA ทั้งเหตุผลความจำเป็นของประเทศหรือกลุ่มต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเป็นประเทศเจรจา

ทุกคนต้องอยู่ใน “ยุคโลกาภิวัตน์” หมายถึง ณ ช่วงเวลาของการอยู่ในสังคมที่มีการดิ้นรนต่อสู้เร่งรัดให้อยู่ให้ได้ในสภาวการณ์แห่งความกดดันจากปัจจัยรอบด้าน ถ้าเรารู้เท่าทันเหตุการณ์ ทิศทางสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นอย่างยิ่งต้องเรียนรู้การใช้สื่อเทคโนโลยีและการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ก็จะสามารถปรับตนให้อยู่กับประชาคมอาเซียนที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้อย่างมีความสุข

วันนี้ครูแนะนำหนังสือน่าอ่าน 2 เล่ม ได้แก่ การศึกษา : รากฐานประชาคมอาเซียน และ การศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนากลยุทธ์ความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และหนังสือน่าอ่านอื่น ๆ ที่สามารถ ลิงค์ข้อมูลได้ที่ เว็บไซด์ https://www.bic.moe.go.th


แหล่งที่มา : kroobannok.com

อัพเดทล่าสุด