อาณาจักรละโว้ อาณาจักรละโว้ ลพบุรี ประวัติแคว้นละโว้ ประวัติอาณาจักรละโว้
ตำนานเมืองลพบุรี (ละโว้)
โดย รศ.ดร.ผาสุข อินทราวุธ เมืองลพบุรีที่รู้จักกันว่าเป็นเมืองลูกหลานของหนุมาน (ที่ศาลพระกาฬ) เนื่องจากเป็นเมืองที่มีฝูงลิงอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และไม่ยอมอพยพโยกย้ายไปอยู่เมืองอื่นเสียด้วย ยังคงยึดศาลพระกาฬเป็นที่อยู่อาศัยสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุลิง และขยายอาณาเขตออกไปยังบริเวณใกล้เคียงคือแถวพระปรางค์สามยอด และบริเวณสถานีรถไฟ (เนื่องจากอยู่ใกล้ศาลพระกาฬ) นอกจากจะมีลิงเป็นสัญลักษณ์แล้ว เมืองลพบุรียังมีความโดดเด่นด้านอื่น ๆ อีกหลายด้าน เป็นเมืองที่มีน้อยหน่าหวาน ขนุนอร่อย ส้มฟักรสดี ดินสอพองขาว (ขณะนี้ชาวเมืองได้ผลิตไข่เค็มดินสอพองเป็นสินค้าออกที่สำคัญ) สาว ๆ สวย โดยเฉพาะสาวงามอำเภอบ้านหมี่ (ชาวพวน) ส่วนนักเลงพระก็จะชื่นชอบพระเครื่องเมืองลพบุรี ที่ดัง ๆ ก็มี พระร่วงหลังลายผ้า พระหูยานหน้ายักษ์ พระนารายณ์ทรงปืน พระหลวงพ่อจุก พระนาคปรกวัดปืน เป็นต้น เมืองลพบุรีมีทิวทัศน์งดงาม มีขุนเขาแมกไม้ที่เขียวขจี มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้นหลายแห่ง เช่น เขาพระราม (อำเภอเมือง) เขาสมอคอน (อำเภอท่าวุ้ง) เขาวงพระจันทร์ (อำเภอโคกสำโรง) อ่างเก็บน้ำห้วยซับเหล็ก (ที่เขาตะกร้า) น้ำตกวังก้านเหลือง (อำเภอชัยบาดาล) และปัจจุบันนี้ มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งคือ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (อำเภอพัฒนานิคม) ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงแหล่งทรัพยากรและแหล่งโบราณคดีสำคัญของเมืองลพบุรี โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกน้ำท่วมหลังจากที่มีการสร้างเขื่อน นอกจากนี้ เมืองลพบุรียังมีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองที่มีโบราณวัตถุสถานที่เก่าแก่จำนวนมาก และหลากหลายสมัย ตั้งแต่สมัยทวาราวดีเป็นต้นมา จนถึงสมัยลพบุรี สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และรัตนโกสินทร์ เป็นต้นว่า วัดนครโกษา (สร้างซ้อนทับเจดีย์สมัยทวาราวดี) ปรางค์แขก พระปรางค์สามยอด วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดสันเปาโล วัดไลย์ วัดมณีชลขันธ์ เป็นต้น และยังเป็นที่ตั้งพระราชวังนารายณ์ราชนิเวศน์อีกด้วย โบราณสถานดังกล่าวเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของเมืองลพบุรีในอดีตอย่างเด่นชัด |
ตำนาน
เมื่อหันมาดูตำนานพื้นเมือง ยิ่งได้พบว่าชาวเมืองลพบุรีมีความคุ้นเคยกับชาวอินเดียมาก นิยายหรือตำนานพื้นเมืองหลาย ๆ เรื่องดูเหมือนจะเกี่ยวกับเนื้อเรื่องในมหากาพย์รามายณะหรือที่ชาวไทยเรียกว่ารามเกียรติ์เกือบทั้งหมดเลยทีเดียว แม้แต่ชื่อภูเขาเช่นเขาทับควาย และเขาวงพระจันทร์ก็เกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องรามเกียรติ์ ในที่นี้จะเล่าเรื่องเขาทับควายก่อน (เรื่องอื่น ๆ จะเล่าในตอนต่อไป) เขาทับควายนี้ บางท่านก็เรียกว่าเขาตับควาย เป็นภูเขาที่มีแหล่งแร่เหล็กเป็นจำนวนมาก เนื่องจากแร่เหล็กมีสีเลือดหมูปนดำ จึงมีตำนานเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์ว่าเป็นเลือดของทรพีตอนสู้กับพาลี ตามตำนานเขาทับควายหรือเขาตับควายเล่าไว้ว่า "ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เมื่อครั้งเมืองลพบุรียังเป็นป่าดงพงทึบ มีฝูงลิงอาศัยอยู่มากมายมีทั้งลิงใหญ่และลิงเล็ก จึงได้ชื่อว่า "เมืองลิง" และในครั้งนั้นยังมีควายถึกตัวหนึ่ง ชื่อว่า "ทรพา" อาศัยอยู่ในป่าบริเวณหน้าเขาวงพระจันทร์ (บางคนเรียกเขานางพระจันทร์) และเป็นที่น่าประหลาดใจที่ป่าแถบนั้น แม้จะมีควายป่าเที่ยวเล็มหญ้าอยู่เป็นฝูง ๆ ก็ตาม จะพบแต่ตัวเมียทั้งนั้น เพราะว่าถ้าควายป่าตัวไหนออกลูกมาเป็นตัวผู้ ก็จะถูกเจ้าทรพาขวิดตายหมดเพราะมันเกรงว่าลูกชายมันจะทรยศ |
ทั้งพาลีและทรพีได้ต่อสู้กันอยู่ถึง 7 วัน 7 คืน ทรพีเห็นท่าไม่ดี จึงหลบหนีเขาไปในถ้ำ ก่อนที่พาลีจะเข้าไปสู้กับเจ้าทรพีในถ้ำได้สั่งสุครีพว่าถ้าเห็นเลือดที่ไหลออกมาเป็นสีแดงใสให้เอาหินปิดปากถ้ำทันที แต่ถ้าเป็นเลือดข้นไม่ต้องปิดเพราะจะเป็นเลือดควาย ขณะที่ต่อสู้กันเกิดฝนตก พาลีได้ฆ่าเจ้าทรพีตาย เลือดที่ไหลออกมาโดนฝนชะก็เลยเป็นสีแดงใส สุครีพเข้าใจผิดคิดว่าพาลีถูกฆ่าตาย จึงเอาหินปิดปากถ้ำ พาลีเห็นเช่นนั้นจึงเข้าใจผิดคิดว่าสุครีพเล่นไม่ซื่อ จะคิดฆ่าตน จึงตัดหัวเจ้าทรพีขว้างเต็มแรง จนหินปิดปากถ้ำกระเด็นไปตกที่แม่น้ำลพบุรี จึงมีชื่อเรียกว่า "ตำบลท่าหิน" มาจนทุกวันนี้ ส่วนหัวของเจ้าทรพีกระเด็นไปตกกลางทุ่งใต้เมืองลพบุรีที่นั่นจึงเป็นหนองน้ำที่กว้างใหญ่เรียกว่า "หนองหัวกระบือ" ส่วนถ้ำซึ่งเจ้าทรพีถูกฆ่าตายนั้น เพื่อไม่ให้ควายเกเรตัวใดเข้าไปอาศัยอยู่ต่อไป พาลีจึงได้พังปากถ้ำเสีย ภูเขาลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า "เขาทับควาย" และหาถ้ำไม่พบอีกเลย" ที่เขาทับควายนี้ดินจะแดงเหมือนสีเลือด และเป็นแหล่งแร่เหล็กซึ่งมีสีเลือดหมูปนดำ จึงสอดคล้องกับนิยายเรื่องทรพากับทรพีเป็นอย่างยิ่ง โดย รศ.ดร.ผาสุข อินทราวุธ |
เรื่องเล่าในอดีต
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) นั้น ในบริเวณทะเลชุบศรยังมีน้ำขังอยู่ พระองค์ได้รับสั่งให้ทำทำนบขนาดใหญ่เพื่อกั้นน้ำให้ขังอยู่ตลอดปี แล้วให้ต่อท่อน้ำลงมายังสระแก้วแล้วจึงต่อเข้าเมืองลพบุรี นอกจากนี้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชยังเสด็จไปประทับพักร้อนในบริเวณทะเลชุบศรนี้ด้วย โดยรับสั่งให้สร้างพระที่นั่งขึ้นบนเกาะเล็ก ๆ ของทะเลชุบศรนี้และพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งไกรสรสีหราช" ซึ่งเรียกกันจนติดปากว่า "พระที่นั่งเย็น" ตำนานที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับรามเกียรติ์นั้นมีอีกหลายตำนาน ที่น่าสนใจมีอีกเรื่องหนึ่งคือตำนานเรื่อง "เขาสมอคอน" เขาสมอคอนนี้ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอท่าวุ้ง (อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองลพบุรี) เป็นภูเขาเตี้ย ๆ มีหลายลูกไม่ติดกันเป็นเทือกเดียว และตั้งอยู่กลางทุ่งซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม ดังนั้นในฤดูน้ำหลากจะกลายเป็นเกาะกลางน้ำ การเดินทางไปมาสะดวกกว่าฤดูแล้งเพราะมีเรือไปถึงเชิงเขา ซึ่งชาวลพบุรีชอบไปพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด เพราะที่นั่นจะมีถ้ำหลายถ้ำเช่น ถ้ำช้างเผือก ถ้ำตะโก ถ้ำเขาสมอคอน และมีวัด 2-3 วัด และเป็นพื้นที่ที่มีลิงป่าอาศัยอยู่มากมาย เนื่องจากเขาสมอคอนมีความแปลกประหลาด คือมีหลายลูกแต่ไปอยู่กลางที่ราบลุ่ม จึงมีตำนานที่เล่าต่อ ๆ กันมา ซึ่งก็มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับรามเกียรติ์อีกเช่นกัน แต่เล่าแตกต่างกันไป พวกหนึ่งเล่าว่า ครั้งหนึ่งพระรามทรงกริ้วทศกัณฐ์มาก ทรงขว้างจักรจากทะเลชุบศร หวังจะให้ทศกัณฐ์แหลกลาญ แต่เผอิญจักรนั้นได้เฉี่ยวยอดเขาสูงลูกหนึ่ง เศษหินที่ถูกอำนาจจักรกระเด็นไปนั้นก็คือ หมู่เขาสมอคอนนั่นเอง ส่วนยอดเขาที่ถูกเฉี่ยวแหว่งไปนั้น ชาวเมืองต่างพากันเรียกว่าเขาช่องลพ (ปัจจุบันอยู่ในตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง) ส่วนอีกพวกหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งพระลักษณ์ต้องหอกโมกศักดิ์ของกุมภกัณฐ์ สิ้นสติสมปดีรอเวลาทิวงคต ถ้าไม่มีใครแก้ให้ฟื้นทันพระอาทิตย์ขึ้น หนุมานทหารเอกของพระรามจึงได้ขันอาสาจะไปหายาวิเศษอันมีชื่อว่า "ต้นสังกรณีตรีชะวา" ที่เขาสรรพยา (ปัจจุบันอยู่ที่จังหวัดชัยนาท) มาฝนทาที่หอกที่ปักอยู่จึงจะหลุด หนุมานไปหาต้นสังกรณีตรีชะวาไม่พบเพราะเป็นเวลามืด เกรงว่าจะรุ่งสางเสียก่อนจึงได้คอนเอาภูเขามาทั้งลูก เผอิญเหาะผ่านมาทางเมืองลพบุรีซึ่งไฟกำลังลุกไหม้ตั้งแต่ครั้งที่หนุมานเอาหางกวาดเมือง แสงสว่างจากไฟทำให้มองเห็นต้นสังกรณีตรีชะวา หนุมานจึงถอนเอาแต่ต้นสังกรณีตรีชะวาไป และทิ้งภูเขาที่คอนมาลงกลางทุ่งทะเลเพลิง ภูเขาที่ทิ้งลงมาได้ถูกไฟเผากลายเป็นหินสีขาวและมีชื่อเรียกว่า "เขาสมอคอน" ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199-2231) นั้น ในบริเวณทะเลชุบศรยังมีน้ำขังอยู่ พระองค์ได้รับสั่งให้ทำทำนบขนาดใหญ่เพื่อกั้นน้ำให้ขังอยู่ตลอดปี แล้วให้ต่อท่อน้ำลงมายังสระแก้วแล้วจึงต่อเข้าเมืองลพบุรี นอกจากนี้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชยังเสด็จไปประทับพักร้อนในบริเวณทะเลชุบศรนี้ด้วย โดยรับสั่งให้สร้างพระที่นั่งขึ้นบนเกาะเล็ก ๆ ของทะเลชุบศรนี้และพระราชทานนามว่า "พระที่นั่งไกรสรสีหราช" ซึ่งเรียกกันจนติดปากว่า "พระที่นั่งเย็น" ตำนานที่มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับรามเกียรติ์นั้นมีอีกหลายตำนาน ที่น่าสนใจมีอีกเรื่องหนึ่งคือตำนานเรื่อง "เขาสมอคอน" เขาสมอคอนนี้ตั้งอยู่ในเขตท้องที่อำเภอท่าวุ้ง (อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองลพบุรี) เป็นภูเขาเตี้ย ๆ มีหลายลูกไม่ติดกันเป็นเทือกเดียว และตั้งอยู่กลางทุ่งซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม ดังนั้นในฤดูน้ำหลากจะกลายเป็นเกาะกลางน้ำ การเดินทางไปมาสะดวกกว่าฤดูแล้งเพราะมีเรือไปถึงเชิงเขา ซึ่งชาวลพบุรีชอบไปพักผ่อนหย่อนใจในวันหยุด เพราะที่นั่นจะมีถ้ำหลายถ้ำเช่น ถ้ำช้างเผือก ถ้ำตะโก ถ้ำเขาสมอคอน และมีวัด 2-3 วัด และเป็นพื้นที่ที่มีลิงป่าอาศัยอยู่มากมาย เนื่องจากเขาสมอคอนมีความแปลกประหลาด คือมีหลายลูกแต่ไปอยู่กลางที่ราบลุ่ม จึงมีตำนานที่เล่าต่อ ๆ กันมา ซึ่งก็มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับรามเกียรติ์อีกเช่นกัน แต่เล่าแตกต่างกันไป พวกหนึ่งเล่าว่า ครั้งหนึ่งพระรามทรงกริ้วทศกัณฐ์มาก ทรงขว้างจักรจากทะเลชุบศร หวังจะให้ทศกัณฐ์แหลกลาญ แต่เผอิญจักรนั้นได้เฉี่ยวยอดเขาสูงลูกหนึ่ง เศษหินที่ถูกอำนาจจักรกระเด็นไปนั้นก็คือ หมู่เขาสมอคอนนั่นเอง ส่วนยอดเขาที่ถูกเฉี่ยวแหว่งไปนั้น ชาวเมืองต่างพากันเรียกว่าเขาช่องลพ (ปัจจุบันอยู่ในตำบลโคกกระเทียม อำเภอเมือง) ส่วนอีกพวกหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งพระลักษณ์ต้องหอกโมกศักดิ์ของกุมภกัณฐ์ สิ้นสติสมปดีรอเวลาทิวงคต ถ้าไม่มีใครแก้ให้ฟื้นทันพระอาทิตย์ขึ้น หนุมานทหารเอกของพระรามจึงได้ขันอาสาจะไปหายาวิเศษอันมีชื่อว่า "ต้นสังกรณีตรีชะวา" ที่เขาสรรพยา (ปัจจุบันอยู่ที่จังหวัดชัยนาท) มาฝนทาที่หอกที่ปักอยู่จึงจะหลุด หนุมานไปหาต้นสังกรณีตรีชะวาไม่พบเพราะเป็นเวลามืด เกรงว่าจะรุ่งสางเสียก่อนจึงได้คอนเอาภูเขามาทั้งลูก เผอิญเหาะผ่านมาทางเมืองลพบุรีซึ่งไฟกำลังลุกไหม้ตั้งแต่ครั้งที่หนุมานเอาหางกวาดเมือง แสงสว่างจากไฟทำให้มองเห็นต้นสังกรณีตรีชะวา หนุมานจึงถอนเอาแต่ต้นสังกรณีตรีชะวาไป และทิ้งภูเขาที่คอนมาลงกลางทุ่งทะเลเพลิง ภูเขาที่ทิ้งลงมาได้ถูกไฟเผากลายเป็นหินสีขาวและมีชื่อเรียกว่า "เขาสมอคอน" ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดลพบุรี |
ยังวงเวียนอยู่ในจังหวัดลพบุรี เพราะยังมีตำนานสนุก ๆ มาเล่าสู่กันฟังอีกหลายเรื่อง ในสองตอนที่ผ่านมาได้เล่าเรื่องตำนานต่าง ๆ ที่ผูกเรื่องขึ้นตามเนื้อเรื่องในรามเกียรติ์หลายตอนด้วยกัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วรรณกรรมอินเดียมีอิทธิพลต่อชาวพื้นเมืองไม่น้อยทีเดียว นอกจากชาวลพบุรีในอดีตจะคุ้นเคยกับชาวอินเดียแล้ว ยังได้พบหลักฐานว่าชาวลพบุรีก็รู้จักพ่อค้าชาวจีนที่เดินทางเข้ามาติดต่อค้าขายด้วยเป็นอย่างดี จนเกิดมีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับเรื่องราวของบรรดาพ่อค้าชาวจีนเหล่านี้อีกหลายเรื่องด้วย เรื่องสำคัญที่ทุกคนประทับใจและมีหลักฐานปรากฏอยู่เป็นชื่อตำบล หมู่บ้านและชื่อของภูเขาในเขตจังหวัดลพบุรีคือเรื่อง “นิยายเขาตะเภาล่ม” หรือ “นิยายเขาเจ้ากงจีน” ซึ่งเล่าไว้ว่า นานแสนนานมาแล้ว เมืองลพบุรีขณะนั้นอยู่ใกล้ทะเลมีลักษณะเป็นเมืองท่าค้าขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งค้าขายกับเมืองจีน มีเรือสำเภา (ชาวพื้นเมืองเรียกเรือตะเภา) นำสินค้ามาค้าขายแลกเปลี่ยนกับสินค้าของชาวพื้นเมืองอยู่เป็นประจำ และในครั้งนั้นมีพ่อค้ามหาเศรษฐีจีนคนหนึ่งซึ่งชาวเมืองลพบุรีเรียกกันว่า “เจ้า” ชื่อ “กงจีน” รวมเรียกชื่อว่า “เจ้ากงจีน” (บางตำนานว่าเป็นพระเจ้ากรุงจีน) เป็นคนมีเมียมาแล้วหลายคนจนนับไม่ถ้วน แต่เมื่อไปค้าขายเมืองใดได้พบสาวงามถูกใจก็มักจะสู่ขอมาเป็นเมียของตนอีก โดยทำพิธีแต่งงาน มีขบวนขันหมากอย่างใหญ่โตทีเดียว และเมื่อเสร็จพิธีก็จะนำภรรยากลับไปไว้เมืองจีนทุกรายไป เมื่อเศรษฐีผู้นี้ได้นำสินค้ามาขายยังเมืองลพบุรีก็ได้พบสาวงามเข้าจนได้ (คือนางนงประจันทร์) จึงเกิดความรักใคร่ได้ทำการสู่ขอและกำหนดวันแต่งงานไว้ด้วย โดยจะนำขันหมากและสินสอดทองหมั้นมาจากเมืองจีน พ่อของนางตอบตกลงเพราะเห็นแก่เงิน แต่นางนงประจันทร์นั้นไม่ตกลงปลงใจด้วย เพราะนางมีคนรักอยู่แล้ว และคนรักของนางก็เป็นหนุ่มผู้เรืองวิทยาคมที่สามารถแปลงกายเป็นอะไรก็ได้ เมื่อขบวนเรือขันหมากจากเมืองจีนแล่นเข้ามาใกล้เมืองลพบุรี ได้มารวมกลุ่มและแปรขบวนเพื่อแล่นเข้าสู่เมืองลพบุรี ต่อมาสถานที่นั้นได้กลายเป็นคลอง ปัจจุบันมีชื่อว่า “คลองบางขันหมาก” ขณะที่เรือใกล้จะถึงฝั่ง ชายหนุ่มคนรักของนางนงประจันทร์ซึ่งได้แปลงกายเป็นจรเข้ตัวใหญ่มหึมา และคอยหาโอกาสที่จะทำลายเรือขันหมากให้ล่มจมทะเลเสียให้หมดนั้นได้โผล่ขึ้นพ้นน้ำ พวกลูกเรือเห็นเข้าก็ตกใจจึงเตรียมตัวหนี เผอิญมีลมพัดมาอย่างแรง ขบวนเรือจึงได้ลมแล่นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองลพบุรี จรเข้เกิดความโกรธเป็นอย่างมาก จึงไล่กวดขบวนเรือไปอย่างรวดเร็ว เมื่อกวดทันก็ใช้หางฟาดน้ำทำให้เรือบางลำเอียงทำท่าจะล่ม ลูกเรือเห็นมีพื้นดินตื้น ๆ จึงกระโดดลงไปเพื่อหนีเอาตัวรอด พื้นที่ที่ลูกเรือกระโดดลงไปนั้นในปัจจุบันนี้เป็นภูเขาลูกเตี้ย ๆ มีชื่อว่า “เขาจีนโจน” เมื่อพวกลูกเรือกระโดดลงไปแล้ว ก็พยายามตะเกียกตะกายขึ้นไปสู่พื้นดินที่สูงกว่า แล้วชะเง้อมองเข้าของขันหมากที่หลุดลอยออกมาจากเรือสำเภาที่ล่มลงแล้ว สถานที่นี้จึงเรียกว่า “เขาจีนแล” มีลักษณะคล้ายคนกำลังยืนจังก้า (ปัจจุบันนี้ทั้งเขาจีนโจนและเขาจีนแลอยู่ในเขตห้วยซับเหล็ก อำเภอเมือง ส่วนเรือสำเภาที่ล่มนี้ต่อมากลายเป็นภูเขาซึ่งมีลักษณะคล้ายเรือสำเภาล่มตะแคงอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า “เขาตะเภา” (ปัจจุบันนี้อยู่ในท้องที่ตำบลพะเนียด อำเภอโคกสำโรง) เมื่อเรือสำเภาล่มลงแล้ว บรรดาสิ่งของเครื่องขันหมากต่าง ๆ ก็จมลงบ้าง ลอยตาน้ำไปบ้าง สำหรับผ้าแพรอย่างดีเป็นพับ ๆ ที่นำมาเป็นของกำนัลได้ลอยไปตามแรงคลื่นลม และไปติดรวมกันอยู่ที่แห่งหนึ่ง ต่อมากลายเป็นภูเขามีลักษณะเป็นชั้น ๆ คล้ายผ้าแพรพับไว้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า “เขาพับผ้า” หรือ “เขาหนีบ” (อยู่ทางตะวันออกของเมืองลพบุรีราว 8 กิโลเมตร) ส่วนแก้วแหวนเงินทองที่บรรทุกมาได้ ไปจบลงที่บริเวณ “เขาแก้ว” ซึ่งภูเขาลูกนี้มีลักษณะเป็นหย่อม ๆ ตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยวคล้ายกับมีคนนำเอาหินมากองซ้อนกันไว้ เขาแก้วนี้อยู่ริมทางเข้านิคมลพบุรีและมีวัดตั้งอยู่บนเขาลูกนี้ (คือวัดแก้วหรือวัดคีรีรัตนาราม) สำหรับตะกร้าที่ใส่ของต่าง ๆ มาในเรือก็ลอยไปจมลง ต่อมากลายเป็นภูเขาอีกลูกหนึ่งชื่อ “เขาตะกร้า” มีลักษณะเหมือนตะกร้าคว่ำอยู่ติดกับบริเวณอ่างเก็บน้ำซับเหล็กและขนมต่าง ๆ ที่ลอยไปติดอยู่ใกล้ ๆ กัน ซึ่งต่อมากลายเป็นภูเขาที่มีลักษณะเหมือนขนมเข่งถูกน้ำแล้วขึ้นรา ชาวบ้านจึงเรียกว่า “เขาขนมบูด” และน่าแปลกเสียด้วยที่ว่าหินที่ภูเขาลูกนี้ เมื่อหยิบขึ้นมาดมดูยังมีกลิ่นคล้าย ๆ ขนมที่บูดแล้ว ท่านผู้อ่านน่าจะลองไปพิสูจน์ดูให้รู้แจ้งเห็นจริง) ส่วนนางนงประจันทร์ยืนดูขบวนขันหมากล่มอยู่บนฝั่ง ก็เกิดความดีใจที่ไม่ต้องตกเป็นเมียของเศรษฐีจีนจึงกระโดดโลดเต้นอย่างลืมตัว จนพลาดตกลงไปในทะเล บังเอิญนางว่ายน้ำไม่เป็นจึงจมน้ำตาย ณ ที่นางนงประจันทร์จมน้ำตายนี้ ต่อมากลายเป็นภูเขา ชาวบ้านเรียกว่า “เขานงประจันทร์” หรือเขา “นางพระจันทร์” ตอนหลังเพี้ยนไปเป็นเขาวงพระจันทร์ สำหรับจรเข้หนุ่มเมื่อเห็นขบวนขันหมากล่มหมดแล้วก็ว่ายน้ำมายังฝั่ง แต่ได้เห็นคนรักตกน้ำตายจึงเสียใจมาก ประกอบกับเหน็ดเหนื่อยต่อการอาละวาดไล่ล่าขบวนขันหมาก จึงถึงกับเป็นลมและสิ้นใจตายกลายเป็นหินเฝ้าสำเภาอยู่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า “เขาตะเข้” หรือ “เขาจรเข้” ซึ่งอยู่ห่างจากเขาตะเภาไปทางทิศเหนือไม่มากนัก ตำนานเรื่อง “เขาตะเภา” นี้ นับว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงว่าชาวเมืองลพบุรีในอดีตมีการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวจีนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าเมืองลพบุรีในสมัยโบราณอยู่ใกล้ทะเล และมีฐานะเป็นเมืองท่านั้นสอดคล้องกับหลักฐานทางภูมิศาสตร์และธรณีวิทยาที่ระบุไว้ว่าชายฝั่งทะเลในยุคโบราณ โดยเฉพาะในช่วงสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) นั้นอยู่ลึกกว่าปัจจุบัน และน่าจะอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับที่ตั้งของเมืองลพบุรีในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาหาข้อมูลด้านอื่น ๆ มาประกอบเพื่อให้กระจ่างชัดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลทางโบราณคดี ซึ่งถ้ามีการติดต่อค้าขายกับจีนอย่างเป็นส่ำเป็นสันแล้ว จะต้องได้พบโบราณวัตถุที่เคยเป็นสำคัญของจีนในบริเวณเมืองโบราณในเขตจังหวัดลพบุรีและบริเวณใกล้เคียง (ขณะนี้คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กำลังทำการขุดค้นในบริเวณเมืองโบราณในเขตจังหวัดลพบุรีอยู่ คงต้องรอฟังกันต่อไป) |
แหล่งที่มา : vcharkarn.com