โรคสะเก็ดเงิน อาการ โรคสะเก็ดเงินสะเก็ดทอง โรคสะเก็ดเงินขั้นรุนแรง
โรคสะเก็ดเงิน posoriasis
Psoriasis
โรคสะเก็ดเงินหรือเรื้อนกวางเป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันมีความบกพร่อง
รูปแสดงผิวหนังที่หนาตัว Plaque |
ทำให้เซลล์ผิวหนังกำพร้าแบ่งตัวเร็ว ทำให้ผิวหนาตัวขึ้นและเป็นขุย และเชื่อว่าพันธุกรรมก็มีส่วนทำให้เกิดโรคโดยจะต้องมีปัจจัยกระตุ้นซึ่งได้แก่ ความเครียด ผิวหนังที่มีแผล รวมทั้งการติดเชื้อและจากยาบางชนิด มักเป็นมากในระยะวัยรุ่น และพบมากในวัยกลางคนไม่ติดต่อโดยการสัมผัส โรคมีหลายรูปแบบความรุนแรงก็มีหลายระดับ รูปแบบที่พบบ่อยคือ Plaque psoriasis ผู้ป่วยร้อยละ 80ที่เป็นเรื้อนกวางจะเป็นชนิดนี้ ตำแหน่งที่พบได้คือบริเวณผิวหนังทุกแห่ง เช่น เข่า ศอก หนังศีรษะ ลำตัว เล็บ
อาการ
อาการมักจะค่อยๆเกิด และเป็นๆหายๆ ปัจจัยที่ทำให้โรคกำเริบได้แก่ การได้รับบาดเจ็บของผิวหนัง เช่นการเกา ผิวไหม้จากแดด การติดเชื้อไวรัส แพ้ยา
- ผิวหนัง เริ่มเป็นผื่นเล็กๆสีแดง มีขอบชัดเจน รูปร่างอาจจะทรงกลมหรือรูปไข่ และมีขุยหรือสะเก็ดสีขาวเงิน ซึ่งค่อนข้างติดแน่น เมื่อแกะขุยจะมีเลือดออกเล็กๆ ผื่นอาจจะขยายวงกว้างออกไปรูปร่างของผื่นมีได้หลายรูปแบบ เช่น ผื่นลักษณะคล้ายก้นหอย Rupoid psoriasis หรือคล้ายหยดน้ำ guttate psoriasis
- เล็บ ลักษณะเล็บจะเป็นหลุมเรียก pitted nail หรือมีการหนาตัวอยู่ใต้เล็บ subungal keratosis ถ้าเป็นมากผุทั้งเล็บ
- ข้อ มีอาการปวดข้อภายหลังจากมีอาการทางผิวหนัง ข้อที่ปวดมักเป็นข้อเล็กๆเริ่มที่ปลายนิ้วมือ เท้า มักเป็นสองข้าง บางครั้งอาจเป็นข้อใหญ่
ชนิดและความรุนแรงของโรค
ชนิดของโรคสะเก็ดเงินเราสามารถแบ่งตามลักษณะผื่นได้ดังนี้ คลิกที่รูปจะมีรายละเอียด
ความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน
การประเมินความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน จะมีประโยชน์ในการเลือกการรักษา การประเมินความรุนแรงจะอาศัยปริมาณพื้นที่ที่เป็นโรคโดยเทียบกับหนึ่งผ่ามือเท่ากับหนึ่งเปอร์เซ็นต์ นอกจากปริมาณพื้นที่แล้วยังดูตำแหน่งที่เป็นคือถ้าเป็นที่มือและเท้าจะจัดว่าโรคนั้นอยู่ในขั้นรุนแรง
โดยทั่วไปจะแบ่งความรุนแรงออกเป็น3 ระดับคือ ชนิดเป็นน้อย(mild Psoriasis) ชนิดปานกลาง(moderate Psoriasis) ชนิดเป็นหนัก (severe Psoriasis) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80เป็นชนิดน้อย
การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงิน
ข้ออักเสบจากโรคสะเก็ดเงิน Psoriasis arthritis
ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินจะมีข้ออักเสบได้ 10-30 % ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดข้อแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่บางรายอาการอาจจะเป็นแบบเฉียบพลันก็ได้ อาการที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์ได้แก่
- ปวดข้อ ข้อติด บวมและปวดรอบข้อ
- การเคลื่อนไหวของข้อลดลง
- ข้อจะติดตอนเช้า
- มีการเปลี่ยนแปลงที่เล็บ
- เยื่อบุตาอักเสบ ตาแดง
ข้ออักเสบที่พบบ่อยได้แก่ ข้อมือ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อหลัง
ลักษณะของข้ออักเสบที่พบบ่อยมีด้วยกัน 5 ลักษณะดังนี้
- Symmetric Arthritis หมายถึงการอักเสบของข้อที่เป็นเหมือนกันทั้งสองข้าง เป็นหลายข้อ อาการเหมือนกับโรค rheumatoid ร้อยละ 50 ของผู้ป่วยข้ออักเสบจะเป็นมากขึ้นจนกระทั่งพิการ
- Asymmetric Arthritis ข้อที่อักเสบมักเป็น 1-3 ข้อเป็นด้านใดด้านหนึ่งมักเป็นข้อใหญ่เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อเท้า ข้อมือ บางรายอาจจะเป็นที่นิ้วมือ
- Distal Interphalangeal Predominant (DIP) เป็นข้อที่ติดกับเล็บมักจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เล็บร่วมด้วย
- Spondylitis มีการอักเสบของกระดูกสันหลังทำให้มีอาการข้อติดของคอ หลังและกระดูกสะโพก ทำให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวแล้วปวด
- Arthritis Mutilans มักเป็นข้อเล็กและมีการทำลายของข้อทำให้ข้อผิดรูป
การรักษาโรคสะเก็ดเงิน
เป้าหมายของการรักษาคือให้ได้ผลดีที่สุดและมีผลข้างเคียงน้อยที่สุดโดยการคุมอาการของโรคสะเก็ดเงินทั้งที่ผิวหนังและข้อ ท่านผู้อ่านต้องเลือกวิธีที่มีผลข้างเคียงน้อยเมื่อไม่ได้ผลจึงเปลี่ยนไปใช้การรักษาที่มีผลข้างเคียงมากขึ้น การรักษาจะแบ่งเป็นสามขั้นตอน โดยเริ่มจากขั้นที่1 เมื่อไม่ได้ผลจึงเปลี่ยนไปขั้น2 เมื่อไม่ได้ผลจึงเปลี่ยนไปเป็นขั้น3
ขั้นที่1การใช้ยาทาร่วมกับแสงอาทิตย์
ยาทา Steroid
ยาทา Steroid เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่เป็นน้อยจนถึงปานกลางยานี้มีหลายรูปแบบเช่นครีม ointments ,lotion ยาเม็ด ยานี้มีความแรงหลายขนาดเวลาเริ่มให้เริ่มยาที่มีความแรงน้อยค่อยเพิ่มความแรง ยากลุ่มนี้จะลดการอักเสบของผิวหนังไม่ควรใช้ยาแรงด้วยตัวเอง
Coal Tar
ยานี้นิยมใช้รักษาขุยของโรคสะเก็ดเงิน ยานี้ทำเป็นแชมพูรักษารังแคที่เกิดจากโรคสะเก็ดเงินการใช้ tar อาจจะใช้ทาหรือร่วมกับการได้รับรังสี UV แต่ต้องระวังเนื่องจาก tar จะทำให้ผิวหนังไวต่อรังสีเกิดผิวไหม้ นอกจาก tar ยังเปลื้อนเสื้อผ้าน้ำมันดินให้ผลการรักษาใกล้เคียงกับสเตียรอยด์แต่มีกลิ่นเหม็นและดูสกปรกเวลาใช้ จึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน และเนื่องจากน้ำมันดินอาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้จังไม่ควรใช้ทาบริเวณใบหน้า ข้อพับ และอวัยวะเพศ
Calcipotriene
Calcipotriene เป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามิน ดีใช้ในการรักษาโรคสะเก็ดเงินชนิดน้อยจนถึงปานกลาง ยานี้มีจำหน่ายในรูปครีม lotion กลไกยังไม่ทราบยานี้เหมาะใช้ร่วมกับยาอื่นเช่น steroid และรังสี อุลตราไวโอเลตultraviolet light B (UVB) ไม่แนะนำให้ใช้ที่หน้าเนื่องจากจะเกิดระคายเคือง และไม่ควรใช้ยานี้เป็นปริมาณมากยานี้เป็นยาใหม่ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันในประเทศตะวันตก เนื่องจากให้ผลการรักษาดี รวดเร็วพอๆ กับสเตียรอยด์ระดับกลางแต่ไม่มีผลเสียเหมือนสเตียรอยด์ และไม่มีสีหรือกลิ่นเหมือนน้ำมันดิน และแอนทราลิน อีกทั้งยังก่อให้เกิดอาการระคายเคืองน้อยกว่าแอนทราลิน แต่อย่างไรก็ตาม วิตามินดี 3 อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองได้บ้าง โดยเฉพาะเมื่อใช้ทาบริเวณใบหน้า ข้อพับ และอวัยวะเพศ จึงไม่ควรใช้ในบริเวณดังกล่าว นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดคือยายังมีราคาแพงมาก
Vitamin A
เป็นอนุพันธ์ของวิตามินเอทำเป็นยาทาในรูปเยลทาวันละครั้งใช้ได้ดีในโรคสะเก็ดเงินที่หนังศีรษะและเล็บ ยานี้จะใช้ร่วมกับยาทา steroid ยาอาจจะทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นแดงก่อนที่ผื่นจะหายไปโดยมากยามีความเข็มข้น 0.1%และ0.05%
Anthralin
เป็นยาที่ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินมานานใช้กับโรคที่เป็นน้อยหรือปานกลางโดยอาจจะใช้ร่วมกับรังสี UV ในรายที่เป็นรุนแรงผลข้างเคียงของยาน้อยมากข้อเสียของยาคือระคายเคืองต่อผิวหนังและเปื้อนเสื้อผ้าเป็นยาที่นิยมใช้มากที่สุดชนิดหนึ่งในหลายประเทศทางยุโรปและอเมริกา เนื่องจากยาใช้ได้ผลดีและโรคกลับเป็นซ้ำได้น้อยเมื่อหยุดการรักษา ยาดังกล่าวมีข้อจำกัดอยู่ที่วิธีการใช้ยุ่งยากและมีผลข้างเคียง คืออาการระคายเคือง และทำให้ผิวหนังบริเวณที่ทายามีสีคล้ำขึ้น จึงไม่ควรใช้ทาบริเวณใบหน้า ข้อพับ และอวัยวะเพศ
Salicylic Acid
เป็นยาที่ใช้ละลายขุยทำให้ผิวหนังนุ่ม ลอกขุยออกได้ง่ายหลังจากละลายขุย จึงใช้ยาอื่นซึ่งจะทำให้ยาเข้าเนื้อเยื่อได้ดีขึ้น ยานี้มีความเข้มข้น 1.8-3%
Sunlight
แสงแดดโดยเฉพารังสี UVB จะทำให้โรคสะเก็ดเงินดีขึ้นโดยการอาบแดดประจำร่วมกับน้ำเกลือเรียกclimatotherapy แต่ต้องระวังผิวหนังไหม้จากแดดส่วนที่ไม่เป็นโรคต้องทาครีมกันแสง
การรักษาอื่น
ต้องให้ผิวหนังบริเวณผื่นมีความชุ่มชื้นเพื่อลดอาการคันและลดการอักเสบของผิวหนัง ผิวหนังบริเวณที่เป็นโรคอาจจะแช่น้ำที่ผสม tar เพื่อให้ผิวหนังบริเวณดังกล่าวนุ่มขุยลอกออกง่าย
ขั้นที่ 2 การใช้แสงรักษา Phototherpy
Ultraviolet Light B
การรักษานี้ใช้กับโรคสะเก็ดเงินที่เป็นปานกลางจนเป็นมากโดยการใช้รังสี Ultraviolet Light B (UVB)การรักษาด้วยการฉายแสงอัลตร้าไวโอเล็ตบี ใช้ได้ผลดีกับโรคสะเก็ดเงินที่เป็นมากหรือปานกลาง คือได้ผลประมาณ 80% ขึ้นไป ผลข้างเคียงที่พบค่อนข้างน้อยได้แก่ อาการคันและอาการแดงหรือไม้ของผิวหนัง อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของการรักษาที่สำคัญคือการที่ผู้ป่วยต้องมารับการรักษาที่โรงพยาบาลประมาณ 3-5 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2-3 เดือนติดต่อกัน หลังจากนั้นให้ทำ1-2 ครั้งต่อสัปดาห์เพื่อให้โรคสงบ
PUVA
การรักษาวิธีนี้ใช้แสงรังสี ultraviolet light A หรือที่เรียกว่า PUVAร่วมกับการใช้ยา psoralen ซึ่งอาจจะกินหรือทาเพื่อช่วยให้ผิวหนังไวต่อแสง การรักษานี้จะทำให้ผิวหนังหายได้ร้อยละ 75 เนื่องมีผลข้างเคียงมากควรใช้ในรายที่เป็นรุนแรงปานกลางจนถึงรุนแรงมากและการรักษาอื่นไม่ได้ผล เนื่องจากการรักษานี้ทำให้ผิวหนังแก่เร็วและมีความเสี่ยงต่อมะเร็ง โดยทั่วไปผู้ป่วยจะได้รับการฉายแสงรักษาสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ประมาณ 20-30 ครั้ง ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 1สัปดาห์ และอาจให้การรักษาต่ออีกประมาณ 2-3 เดือน จะทำให้โอกาสการเกิดซ้ำลดลง อาการข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ คลื่นไส้, คัน และอาการแดง หรือไหม้ของผิวหนัง ซึ่งมักจะไม่รุนแรงจนทำให้ต้องหยุดการรักษา ผลข้างเคียงระยะยาวที่สำคัญได้แก่ มะเร็งผิวหนัง ซึ่งพบได้น้อยในคนไทยเนื่องจากคนไทยมีผิวสีคล้ำ
ขั้นที่3 การให้ยารับประทาน
Methotrexate
ยานี้เป็นยาที่นิยมใช้ในโรคสะเก็ดเงินที่เป็นรุนแรงโดยเฉพาะชนิด erythrodermic และ pustularโดยรับประทานหรือการฉีดอาทิตย์ละครั้ง เนื่องจากยานี้มีผลข้างเคียงคือคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารการได้ยาควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ ยานี้ไม่ควรให้ในคนเจริญพันธ์ เป็นยาที่ได้ผลดีและราคาไม่แพง แต่มีผลข้างเคียงสูง จึงมักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถใช้หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาที่ปลอดภัยกว่า เช่น การฉายแสง เนื่องจาก เม็ทโทเทร็กเสดมีผลข้างเคียงหลายประการจึงจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังผลเสียที่อาจเกิดได้เป็นครั้งคราว โดยการตรวจเลือดก่อนการรักษา และหลังการรักษาทุกๆ 3-4 เดือน อาการข้างเคียงที่สำคัญได้แก่ ตับอับเสบและตับแข็ง
Oral Retinoids
ยานี้อยู่ในกลุ่มของวิตามิน เอ สามารถใช้รักษาโรคสะเก็ดเงินที่เป็นรุนแรงโดยเฉพาะ pustular และ erythrodermic โดยต้องใช้ร่วมกับ UVB and PUVA. และยังช่วยลดปริมาณยาและแสงที่ใช้จึงทำให้ผลข้างเคียงจากการรักษาทั้งสองลดลง ผลข้างเคียงที่สำคัญได้แก่ ผิวแห้ง, ลอกเป็นขุย ซึ่งเป็นอาการที่พบได้เกือบทุกรายที่รับประทานยา นอกจากนั้นยายังอาจทำให้ไขมันในเลือดสูง และตับอักเสบ ซึ่งถ้าหยุดการรักษาในระยะต้นๆ ก็จะกลับเป็นปกริได้ จึงควรตรวจเลือดทุกๆ 1-2 เดือน ยาดังกล่าวห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์เพราะจะทำให้ทารกที่เกิดมาพิการได้ เนื่องจากยาอยู่ในเลือดได้นานถึง 2 ปี หลังหยุดยาจึงจำเป็นต้องห้ามตั้งครรภ์ในผู้ป่วยที่รับประทานยาดังกล่าวอย่างน้อย 2 ปี หลังหยุดยา ถ้าใช้ยาเป็นเวลานานมากกว่า 1 ปีขึ้นไป อาจทำให้เกดกระดูกงอกได้ จึงต้องระวังโดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็กยานี้หากใช้ในคนท้องอาจจะทำให้เกิดพิการแต่กำเนิด และไม่ควรได้รับวิตามินเสริมโดยเฉพาะวิตามิน เอ
Cyclosporine
ยานี้กดภูมิคุ้มกัน ใช้ในโรคสะเก็ดเงินที่เป็นรุนแรงที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาอื่น ยานี้อาจจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงและเป็นพิษต่อไต ยาดังกล่าวใช้ได้ผลดีมากโดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง แต่เนื่องจากมีการเกิดซ้ำหลังหยุดยาได้สูง อีกทั้งมีผลข้างเคียงที่รุนแรงจึงจะใช้เมื่อการรักษาอื่นๆ ไม่ได้ผลแล้ว เช่น ยาทา, การฉายแสง และเอ็ดเทร็ดทีเนด ผลข้างเคียงที่สำคัญได้แก่ การเกิดความดันเลือดสูง ไตและตับอักเสบ ซึ่งถ้าหยุดยาในระยะต้นๆ อาจจะกลับเป็นปกติได้จึงจำเป็นต้องตรวจเลือดเป็นประจำทุกเดือน
วิธีเลือกใช้ยาตามตำแหน่งของโรค
ผื่นที่ศีรษะ
โดยทั่วไปแล้วการใช้ยาทาพวกสเรียรอยด์ ในรูปของยาน้ำมักจะได้ผลดี และผลข้างเคียงน้อย วิธีใช้ควรทาวันละ 2 ครั้งจะได้ผลดีกว่าทาครั้งเดียว ในกรณีที่ผื่นตอบรับได้ดีต่อการรักษา การใช้หมวกอาบน้ำคลุมหลังทายาสเตียรอยด์ จะทำให้ผลของการรักษาดีขึ้น แต่ไม่ควรใช้เป็นเวลานานเกิน 1 สัปดาห์ เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงได้ การใช้แชมพกำจัดรังแคและน้ำมันดินอาจช่วยให้การเกิดเป็นซ้ำช้าลงได้
ผื่นที่หน้า
เนื่องจากผิวที่ใบหน้าค่อนข้างบาง และเกิดอาการระคายเคืองได้ง่าย จึงควรงดการใช้ยาที่อาจทำให้เกิดอาการดังกล่าว เช่น แอนทราลิน และวิตามินดี 3 ยาที่นิยมใช้และได้ผลดีคือ สเตียรอยด์ชนิดอ่อนๆการใช้สเตียรอยด์ชนิดแรง อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ง่าย จึงไม่ควรใช้เป็นเวลานาน
ผื่นที่เล็บ
โรคสะเก็ดเงินที่เลบเป็นตำแหน่งที่รักษายาก โดยทั่วไปตัวโรคมักไม่ทำให้เกิดอาการอย่างไร ปัญหาที่สำคัญน่าจะเป็นเรื่องความสวยงามมากกว่า จึงไม่จำเป็นต้องให้การรักษา แต่ถ้าต้องการจะรักษาอย่างจริงจัง การรักษาที่ดีที่สุดคือ การฉีดสเตียรอยด์ที่จมูกเล็บทุก 3-4 สัปดาห์ ประมาณ 4-6 ครั้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้
แหล่งที่มา : kkict.org